日本語ページ

ขอเชิญฟังการบรรยายพิเศษ TPA TRIZ TALK ครั้งที่ 3 เรื่อง การประยุกต์ใช้ TRIZ ในกระบวนการแก้ปัญหาแบบ Six Sigma และ การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยการใช้เทคนิค QFD เชื่อมโยงกับ TRIZ
(กิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว)


ความเป็นมา

Six Sigma เป็นเครื่องมือในการบริหารที่ขึ้นชื่อในเรื่องของการนำวิชาทางสถิติมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลที่ได้มาจากกระบวนการ เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริงและนำไปสู่การแก้ปัญหา ที่เกิดผลกระทบต่อ ผลิตภัณฑ์ และ ลูกค้า ระเบียบวิธีที่ Six Sigma ใช้นั้นได้แก่ DMAIC (Define: การนิยามปัญหา Measure: การวัดและเก็บข้อมูล Analyze: การวิเคราะห์ข้อมูล Improve: การปรับปรุง Control: การควบคุม) โดยที่ระเบียบวิธีนี้ใช้ในการแก้ปัญหาของกระบวนการที่มีอยู่ สำหรับในช่วงของการปรับปรุงซึ่งมีจุดสำคัญอยู่ที่เนื้อหาวิชาการออกแบบการทดลอง (Design of Experiment) ที่พยายามปรับหาค่าที่เหมาะสมของพารามิเตอร์ต่างๆ ในกระบวนการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย อย่างไรก็ตามพารามิเตอร์ที่มีอยู่อาจไม่เพียงพอหรือไม่สามารถให้ผลลัพธ์ตามเป้าหมายที่ต้องการ ณ จุดนี้หากได้มีการเพิ่มเติมการเรียนรู้แนวคิดการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้น (Theory of Inventive problem Solving ; TRIZ) กระบวนการปรับปรุงจะสมบูรณ์ยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์นั้น จำเป็นที่จะต้องมีการศึกษาความต้องการของลูกค้ามาออกแบบฟังก์ชันการใช้งาน ซึ่งมักจะใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Quality Function Deployment (QFD) และในขั้นตอนการออกแบบนั้น มักพบปัญหาความขัดแย้งของความต้องการหลายๆ อย่างที่ไม่อาจแก้ไขได้ด้วยวิธีได้อย่างเสียอย่าง (Trade-off) ณ จุดนี้ ก็เช่นเดียวกัน หากเรานำแนวคิดการแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้นของ TRIZ เข้ามาใช้ ก็จะสามารถพัฒนาความคิดสร้างสรรค์และเกิดไอเดียที่จะนำไปใช้แก้ปัญหาได้โดยง่าย
การแก้ปัญหาเชิงประดิษฐ์คิดค้นของ TRIZ จึงเป็นเครื่องมือที่สามารถนำมาใช้ร่วมกับเครื่องมือและแนวคิดของ Six Sigma และ Quality Function Deployment ได้อย่างมีประสิทธิภาพ


กำหนดการ
ศุกร์ 20 ต.ค. 49
ณ ห้องสัมมนา 3C
   
13.00-13.30
: ลงทะเบียน
13.30--15.00
: การประยุกต์ใช้ TRIZ ในกระบวนการแก้ปัญหาแบบ Six Sigma
โดย คุณ ธนะศักดิ์ พึ่งฮั้ว กรรมการผู้จัดการ บริษัท SME Business&Consultant
15.00-15.15
: พักทานกาแฟและของว่าง
15.15-16.30 : การพัฒนาผลิตภัณฑ์ใหม่โดยการใช้เทคนิค QFD เชื่อมโยงกับ TRIZ
โดย ผศ.ไตรสิทธิ์ เบญจบุณยสิทธิ์ สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)

ค่าลงทะเบียน 500 บาท (เป็นค่ากาแฟ-ของว่างและเอกสาร รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว)

เอกสารประกอบการบรรยาย สไลด์ประกอบการบรรยาย
และหนังสือ รู้จักกับ TRIZ ทฤษฎีการแก้ปัญหาในการประดิษฐ์ ฟรี 1 เล่ม

การสมัคร
ติดต่อสอบถามรายละเอียดและส่งใบสมัครมาได้ที่ คุณมลธิรา หนูเศษ
โทรศัพท์ 0-2717-3000 ต่อ 636 โทรสาร 0-2719-9489-90

หรือดูรายละเอียดและสมัครได้ที่ https://www.tpa.or.th หรือ http://www.trizthailand.com/elearning



Download รายละเอียดเพิ่มเติมและใบสมัคร คลิกที่นี่

>> ลงทะเบียนออนไลน์ เชิญที่นี่ <<

 
ดูกิจกรรม/โปรโมชั่นทั้งหมด


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter