日本語ページ

ขอเชิญส่งผลงาน  ปรับปรุงเครื่องจักรช่วยการผลิตด้วยไคเซ็น เพื่อรับรางวัล TPA Automation Kaizen Award 2006 :: ปิดรับสมัคร จ. 30 ม.ค. 49 :: จัดงาน พฤ.16 - ศ.17 มี.ค. 49
(กิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว)

ขอเชิญส่งผลงาน  ปรับปรุงเครื่องจักรช่วยการผลิตด้วยไคเซ็น
เข้าร่วมนำเสนอผลงานเพื่อรับรางวัล  TPA  Automation   Kaizen  Award
ในงาน    TPA Automation  Kaizen Award 2006


 ความเป็นมาของการจัดงานนำเสนอผลงาน

 การดำเนินธุรกิจที่ส่งเสริมให้พนักงานทุกคนมีส่วนร่วม เป็นแนวทางการบริหารที่สร้างความมั่งคั่งให้กับอุตสาหกรรมในประเทศญี่ปุ่นอย่างมากมาย กิจกรรมหนึ่งที่เป็นเครื่องมือช่วยในการบริหาร ที่ถือได้ว่าเป็นตัวจักรสำคัญในการขับเคลื่อนกระบวนการบริหารแบบญี่ปุ่นให้ประสบความสำเร็จและยั่งยืนคือ กิจกรรม Kaizen หน่วยงาน Nichidoshin ของประเทศญี่ปุ่นได้เป็นผู้สนับสนุนหลักให้สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น) หรือ ส.ส.ท.ทำหน้าที่นำวิทยาการด้าน Automation มาเผยแพร่ให้กับอุตสาหกรรมไทย ตามแนวทางความสำเร็จที่เกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่น ทำให้เกิดความสนใจเครื่องมือช่วยการบริหารนี้อย่างมาก จนมีการนำมาใช้อย่างแพร่หลายในทุกอุตสาหกรรมของประเทศไทย

อุตสาหกรรมไทยหลายๆบริษัทได้ประสบผลสำเร็จจากการดำเนินกิจกรรม Kaizen แต่ยังเปรียบเทียบไม่ได้ว่าบริษัทตนนั้นอยู่ในระดับใดจะปรับปรุงพัฒนาไปในทิศทางไหนต่อ บางบริษัทมีความไม่แน่ใจวิถีทางที่ทำอยู่ และไม่แน่ใจว่ากิจกรรมนี้จะประสบความสำเร็จหรือไม่ ด้วยข้อสงสัยนี้ อาจทำให้การดำเนินกิจกรรมหยุดชะงักลงหรือใช้ระยะเวลามากในการลองผิดลองถูก

เพื่อเป็นการตอบข้อสงสัยข้างต้น และยกระดับการพัฒนากระบวนการผลิตด้วยกิจกรรม Kaizen ส.ส.ท. จึงได้จัดเวทีแลกเปลี่ยนเทคโนโลยีภายใต้ชื่องาน “TPA Automation Kaizen Award 2006” ในงานนี้ยังช่วยเผยแพร่ชื่อเสียงประกาศเกียรติคุณให้กับบริษัทที่นำกิจกรรม Kaizen มาเป็นเครื่องมือช่วยการบริหารกระบวนการผลิตของบริษัทสามารถขยายผลไปสู่เครื่องจักรกลช่วยผลิตในรูปแบบอัตโนมัติและกึ่งอัตโนมัติให้ประสบความสำเร็จ อีกทั้งในงานยังเป็นการเปรียบเทียบระดับการดำเนินกิจกรรมและการสร้างสรรค์ผลงานให้เกิดการปรับปรุงสามารถเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันให้กับอุตสาหกรรมไทยตลอดไป

วัตถุประสงค์การจัดงาน
1. เพื่อส่งเสริมและเผยแพร่วิชาการด้าน Automation
2. เพื่อยกระดับขีดความสามารถของบุคลากรในการปรับปรุงงานด้วยตัวเองอย่างต่อเนื่อง
3. เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี, นวัตกรรม, วิทยาการของอุตสาหกรรมไทย
4. เพื่อสร้างความชัดเจนในการดำเนินกิจกรรม ภายใต้การแนะนำของคณะกรรมการ และผู้เชี่ยวชาญ
5. เพื่อยกย่องประกาศเกียรติคุณ เผยแพร่ชื่อเสียง ให้กับบริษัทที่มีผลงานด้าน Kaizen Automation

คุณสมบัติของผลงาน
1. สถานประกอบการที่ดำเนินกิจกรรม Kaizen ภายในองค์กรไม่น้อยกว่า   1 ปีขึ้นไป
2. มีการนำเสนอ Kaizen ของพนักงานต่อบริษัทอย่างต่อเนื่อง
3. ผลงานต้องผ่านการคัดเลือกจากการนำเสนอภายในสถานประกอบการนั้นมาแล้ว
4. ผลงานที่ส่งประกวดเพื่อเสนอผลงานต้องเป็นส่วนหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับเครื่องจักรกลในสายการผลิตแล้วมีส่วนช่วยให้กระบวนการผลิตนั้นเป็นไปแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ
5. เป็นอุปกรณ์ที่สร้างด้วยงบประมาณไม่เกิน  30,000 บาท

วิธีการสมัคร
  1. ส่งแบบฟอร์มใบสมัครพร้อมการรับรองจากผู้บริหารองค์กร
  2. เอกสารสรุปผลงาน Automation Kaizen เป็นสำเนาจำนวน 12 ชุด มีรายละเอียดดังนี้
      2.1 แนะนำบริษัท หน่วยงานและเจ้าของผลงาน
      2.2 แนะนำผลงานและมูลเหตุจูงใจ
     2.3 ข้อมูลสภาพของปัญหาสาเหตุและภาพประกอบ
     2.4 การดำเนินการและเก็บข้อมูล
     2.5 รูปภาพหลังการปรับปรุง
     2.6 การสรุปผลและมาตรฐานการใช้งาน
     2.7 แผนงานการปรับปรุงในอนาคต
  3. ประวัติการทำกิจกรรม Kaizen ของกลุ่มหรือเจ้าของผลงาน
  4. ใน 1 บริษัทสามารถส่งผลงานเข้าร่วมได้ไม่จำกัด
  5. ผลงานต้องมีการเปรียบเทียบผลลัพธ์หลังจากนำมาใช้ ให้เห็นเป็นรูปธรรม ในลักษณะการตรวจสอบผล
      ของ P,Q,C,D,S,M,E ในรูปแบบตัวเลขเชิงสถิติที่ชัดเจน
  6. ค่าลงทะเบียน 800 บาท / ผลงาน (รวมภาษีมูลค่าเพิ่มแล้ว) สั่งจ่ายเช็คในนาม” สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี(ไทย-ญี่ปุ่น)
      หรือ Technology Promotion Association (Thailand-Japan)
  7. ยื่นใบสมัครและส่งเอกสารได้ตั้งแต่บัดนี้ถึง  30 มกราคม  2549 พร้อมส่งเอกสารประกอบการพิจารณา
  8. ผลงานที่ส่งเข้าประกวด ต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลให้พร้อม เป็นไปตามเหตุและผลของขั้นตอนการแก้ปัญหา
  9. กรณี  บริษัท/โรงงานเข้ารอบตรวจผลงาน ณ สถานปฏิบัติงานจริง  บริษัทต้องเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในการเดินทาง
      และค่าที่พัก(ถ้ามี) ของกรรมการตรวจผลงาน
  10. เอกสารนำเสนอรายละเอียดรูปแบบการเผยแพร่ผลงานนั้นกลับไปสู่พนักงานเพื่อต่อยอดการเรียนรู้ในระบบ ไคเซ็น
       โฮ-คก-ขุ เป็นทรัพย์สินทางปัญญาของบริษัท
  11. ติดต่อสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่โทรศัพท์หมายเลข 02-717-3000 ต่อ 754 คุณปราโมช, 755 คุณกรณ์เดช
          โทรสาร 02-719-9481-3 หรือ E-mail : pramotew@tpa.or.th หรือ korndej@tpa.or.th

เกณฑ์การตัดสินผลงาน
1. พิจารณาใบสมัครเพื่อเปรียบเทียบกับเกณฑ์คุณสมบัติ
2. พิจารณาเอกสารนำเสนอผลงาน 100 %
    2.1 ความเป็นไปได้ของผลงาน
    2.2 เป็นไปตามขั้นตอนการนำเสนอในเชิงวิชาการเป็นเหตุ – ผลต่อกัน  อ่านแล้วเห็นภาพได้ชัดเจน
3. ตรวจผลงาน ณ สถานที่ปฏิบัติงานจริงโดยคณะกรรมการระหว่างวันที่ 7 กุมภาพันธ์ ถึง 13 มีนาคม 2549
    3.1 คุณภาพของการผลิต              10 %
          - เปอร์เซ็นต์ของเสียมีอัตราลดลงจากเดิม
    3.2 อัตราส่วนของส่วนประกอบที่ทำหรือพัฒนาขึ้นเอง (Rate of Local Content and Innovation)         50 %
             - Hard Ware (Percentage of Local Content)
             - Software (Percentage of Local Content)
             - Integration (Percentage of System Integration)
    3.3 การทำงานได้อย่างถูกต้องต่อเนื่องของระบบ (System consistency)              10 %
    3.4 ความปลอดภัยในการทำงานของระบบ 10 %
    3.5 การลดต้นทุน(Cost Saving)   10 %
    3.6 การลดเวลาในการผลิต  10 %
4. นำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการในวันงาน  " TPA Automation  Kaizen Award 2006 " 
    วันที่ 16 -17 มีนาคม 2549
    4.1 นำเสนอได้ตามขั้นตอน ชัดเจน
    4.2 ตอบข้อซักถามได้ชัดเจน
    4.3 ความก้าวหน้าหลังจากได้รับคำแนะนำ
    4.4 มีความเข้าใจในงานที่นำเสนอ และที่ได้ทำ

**กรณีผลงานไม่สามารถเคลื่อนย้าย หรือเคลื่อนย้ายได้ลำบาก สามารถถ่ายทำเป็น VDO VCD หรือ ภาพถ่ายได้ตามความเหมาะสมและสามารถนำเสนอได้ครบถ้วนสมบูรณ์




ดาวน์โหลดใบสมัคร


ดูกิจกรรม/โปรโมชั่นทั้งหมด


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter