日本語ページ

ขอเชิญเป็นเกียรติร่วมงาน "อรุณ สรเทศน์ รำลึก" ครั้งที่ 12 และร่วมฟังบรรยายพิเศษเรื่อง วิวัฒนาการของเทคนิคการจัดวิเคราะห์ข้อมูลในศาสตร์เกี่ยวกับโลก ฟรี! :: จัดงาน พ. 11 ม.ค. 49
(กิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว)

การบรรยายพิเศษเรื่อง วิวัฒนาการของเทคนิคการจัดวิเคราะห์ข้อมูลในศาสตร์เกี่ยวกับโลก
(Data Assimilation in the Earth Sciences-Building on and Going beyond Classic Estimation Theory)
วันพุธที่ 11 มกราคม 2549 เวลา 9.00 - 12.00 น.
ณ ห้องประชุม ชั้น 2 ตึก 4 คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

1.  หลักการและเหตุผล

           เนื่องจากเทคโนโลยีสารสนเทศกำลังมีบทบาทในวงการต่างๆ รวมทั้งการศึกษา วิจัย และจัดการทางด้านศาสตร์ที่เกี่ยวกับโลก  ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลจากการรับข้อมูลทางไกล (Remote Sensing)  การรับข้อมูลผ่านเครือข่ายเครื่องตรวจวัดต่างๆ (sensors) กอรปกับการพัฒนาทางด้านความสามารถของแบบจำลองในศาสตร์ดังกล่าวมีการพัฒนาไปอย่างมาก  ทำให้ศาสตร์ทางด้านการจัดวิเคราะห์ข้อมูล (Data Assimilation) มีความสำคัญและได้รับความสนใจมากขึ้น     เทคนิคของการจัดวิเคราะห์ข้อมูลจัดรูปแบบของข้อมูลจากระบบสิ่งแวดล้อม โดยใช้แบบจำลองต่างๆเพื่อรวบรวมวิเคราะห์ข้อมูลชนิดต่างๆที่ได้   ข้อมูลที่ใช้ส่วนใหญ่จะมาจากหลายแหล่ง  หลายสเกล  ความถี่ของการวัดไม่เท่ากัน  ความถูกต้องต่างกัน  และครอบคลุมพื้นที่ที่ต่างกัน  ปัญหาของการจัดวิเคราะห์ข้อมูลจึงเปรียบเสมือนปัญหาทำนายโดยวิธีสโตคลาสติค (Stochastic)    แบบเรียนและบทความวิชาการในด้านนี้มักจะวางสมมติฐานและมุมมองจากทฤษฏีดั่งเดิม  อาทิเช่น  การใช้ least squares บนพื้นฐานการกระจายแบบ Gaussian  หรือ ทฤษฏีแบบเชิงเส้น หรือ กึ่งเชิงเส้น  หรือ ความผิดพลาดของแบบจำลองและการวัดเป็นส่วนเสริมกัน และอิสระจากสภาพงาน  หรือ  มีแนวโน้มจะไม่คิดผลกระทบจากการคำนวณ เพราะใช้คำนวณในพื้นที่ขนาดใหญ่   ข้อสมมติฐานเหล่านี้มักจะสร้างปัญหาเมื่อนำวิธีการดังกล่าวไปใช้ในงานจริง  ดังนั้น ในศาสตร์ปัจจุบัน จึงจำเป็นต้องก้าวกระโดดออกจากวิธีการจัดการข้อมูลดั่งเดิม  และพัฒนาชุดของวิธีการที่เหมาะสมกับปัญหามีจำนวนข้อมูลและความสลับซับซ้อนตามปัญหาจริง 
          มูลนิธิอรุณ สรเทศน์และคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญของวิวัฒนาการของเทคนิคที่ทันสมัยดังกล่าวซึ่งสามารถประยุกต์ใช้ในศาสตร์ต่างๆในวงกว้าง และเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาวิชาการที่เกี่ยวข้องกับสิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ อุตุนิยม สมุทรศาสตร์ ปิโตรเลียมฯลฯ จึงได้เรียนเชิญศาสตรจารย์  ดร. เดนนิส แมคคลอรินส์ จากสถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซส (H.M. King Bhumibol Professor of Water Resources Management,


Dr. Dennis McLaughlin, MIT) ประเทศสหรัฐอเมริกามาบรรยายพิเศษถ่ายทอดความรู้เทคนิคด้านนี้ กับนักวิชาการ นักวิจัย    ผู้เกี่ยวข้องในศาสตร์ที่เกี่ยวกับโลก (Earth Sciences)       และผู้สนใจทั่วไป
การบรรยายพิเศษครั้งนี้จะได้นำเสนอประเด็นสำคัญของแนวคิด และวิธีการที่ใช้ในการจัดวิเคราะห์ข้อมูลในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโลก (สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ ฯลฯ)ในสภาพปัจจุบัน ตัวอย่างการประยุกต์ใช้เทคนิคดังกล่าวและอภิปรายแนวโน้มสำคัญของการวิจัยเทคนิคดังกล่าวในอนาคต


2.  วัตถุประสงค์
     1. นำเสนอปัญหาการจัดการวิเคราะห์ข้อมูลในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับโลก สิ่งแวดล้อม แหล่งน้ำ
     2. นำเสนอแนวคิด เทคนิค การจัดวิเคราะห์ข้อมูลในศาสตร์ดังกล่าวที่พัฒนาขึ้น
     3. อภิปรายแนวโน้มของการวิจัยเกี่ยวกับการจัดวิเคราะห์ข้อมูลในอนาคต


3.  วิทยากร

       โดย   ศาสตาจารย์  ดร.  เดนนิส แมคคลอลินส์
                 ห้องปฏิบัติการราฟพาร์สัน
                 ภาควิชาวิศวกรรมโยธาและสิ่งแวดล้อม
                 สถาบันเทคโนโลยีแห่งแมสซาชูเซส
                 แคมบริดจ์  สหรัฐอเมริกา


4.   ผู้ดำเนินการและผู้รับผิดชอบโครงการ
       1. มูลนิธิ อรุณ  สรเทศน์
       2. คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
       3. ภาควิชาวิศวกรรมแหล่งน้ำ และภาควิชาวิศวกรรมสิ่งแวดล้อม


พลอากาศตรีกำธน  สินธวานนท์  องค์มนตรี
ประธานกรรมการมูลนิธิ อรุณ สรเทศน์
มีความยินดีขอเชิญเป็นเกียรติร่วมงาน "อรุณ สรเทศน์ รำลึก" ครั้งที่ 12
และร่วมฟังบรรยายพิเศษ  เรื่อง
การบรรยายพิเศษเรื่อง วิวัฒนาการของเทคนิคการจัดวิเคราะห์ข้อมูลในศาสตร์เกี่ยวกับโลก
(Data Assimilation in the Earth Sciences - Building on and Going beyond Classic  Estimation Theory)

วิทยากรโดย
Prof. Dr. Dennis  McLanghling
( H.M. King  Blumibol Professor of  Water Resources Management )
จากสถาบัน MIT ประเทศสหรัฐอเมริกา
วันพุธที่ 11 มกราคม 2549  เวลา 09.00 - 12.00 น.
ณ ห้องประชุม  ชั้น 2  ตึก 4

คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  ถนนพญาไท  เขตปทุมวัน  กรุงเทพมหานคร
โปรดสำรองที่นั่ง โทร.02-2186309-10, 02-2186372 โทรสาร. 02-2536161  (แต่งกายสุภาพ)
* เข้าฟังการบรรยายพิเศษโดยไม่มีค่าใช้จ่าย*

กำหนดการ

การบรรยายพิเศษเรื่อง วิวัฒนาการของเทคนิคการจัดวิเคราะห์ข้อมูลในศาสตร์เกี่ยวกับโลก
(Data Assimilation in the Earth Sciences - Building on and Going beyond Classic  Estimation Theory)
วันพุธที่ 11  มกราคม 2549   เวลา 9.00 -  12.00  น.
ณ   ห้องประชุม  ชั้น  2   ตึก  4   คณะวิศวกรรมศาสตร์  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย


เวลา 08.30 - 09.00  น. ลงทะเบียน
เวลา 09.00 - 09.15  น. ศ.ดร.ดิเรก ลาวัณย์ศิริ 
                              คณบดีคณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาฯ กล่าวรายงาน
เวลา 09.15 - 09.30  น. พลอากาศตรี กำธน  สินธวานนท์
                              องค์มนตรีประธานกรรมการมูลนิธิ อรุณ สรเทศน์
                              ประธานเปิดการนำเสนอผลงานและการบรรยายพิเศษ 
เวลา 09.30 - 10.00 น.  การนำเสนอผลงานวิจัยด้านแหล่งน้ำ
เวลา 10.00 - 10.30 น.  พักรับประทานน้ำชา-กาแฟ
เวลา 10.30 - 11.30 น.  การบรรยายพิเศษเรื่อง  "วิวัฒนาการของเทคนิคการจัดวิเคราะห์ข้อมูลในศาสตร์เกี่ยวกับโลก"
เวลา 11.30 - 11.50 น.  ถาม  ตอบ และอภิปราย
เวลา 11.50 - 12.00 น.  ปิดการอภิปราย


ดูกิจกรรม/โปรโมชั่นทั้งหมด


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter