日本語ページ

ขอเชิญนักเรียน/นักศึกษา บุคคลทั่วไป เข้าร่วมส่งบทความ รูปภาพ
(กิจกรรมนี้ผ่านไปแล้ว)

ขอเชิญนักเรียน/นักศึกษา บุคคลทั่วไป เข้าร่วมส่งบทความ รูปภาพ โดยมีกฎเกณฑ์ดังนี้

เกณฑ์การรับเนื้อหา

ขอเชิญนักเรียน/นักศึกษา บุคคลทั่วไป เข้าร่วมส่งบทความ รูปภาพ ภายในวันที่ 9 ธันวาคม ที่ web-service@tpa.or.th โดยมีกฎเกณฑ์ดังนี้

ลักษณะเนื้อหา

  1. เป็นเนื้อหาความรู้ใหม่ที่ยังไม่เคยตีพิมพ์ที่ไหนมาก่อน
  2. เป็นเนื้อความรู้เดิมแต่ยังมีความน่าสนใจ โดยนำมาเรียบเรียงใหม่เป็นภาษาของผู้เขียนเอง
  3. เป็นเนื้อความรู้เดิม แต่เอามาวิเคราะห์และหาประเด็นในการนำเสนอใหม่
  4. เป็นเนื้อหาที่ต้องไม่ละเมิดลิขสิทธิ์ใดๆ

การนับจำนวนสาระ

  1. 1 บทความ นับเป็น 1 สาระ (หากมีภาพประกอบในบทความ ไม่นับภาพประกอบนั้นเป็นสาระ) (จ่าย บทความละ 1,000 บาท กรณีที่ ตรวจรับผ่านและแก้ไข ตามที่กรรมการแจ้ง)
  2. 1 ภาพพร้อมคำอธิบาย (photo caption) นับเป็น 1 สาระ (จ่าย ภาพละ 500 บาท กรณีที่ ตรวจรับผ่านและแก้ไข ตามที่กรรมการแจ้ง)
  3. 1 วลีเด็ดๆ พร้อมชื่อผู้คิดวลีนั้น นับเป็น 1 สาระ (จ่าย วลีละ 300 บาท กรณีที่ ตรวจรับผ่านและแก้ไข ตามที่กรรมการแจ้ง)
  4. 1 Info Graphic นับเป็น 1 สาระ (จ่าย ภาพละ 1,500 บาท กรณีที่ ตรวจรับผ่านและแก้ไข ตามที่กรรมการแจ้ง)

หมวดเนื้อหา ที่ ต้องการ

  1. เข้าถึงโอกาส
    • อาเซียนเป็นหนึ่ง
    • ทุนวัฒนธรรม
    • วิทยาการ
    • ลูกค้าใหม่
    • ร่วมคิดร่วมสร้าง
  2. คิดสร้างสรรค์
    • กระตุกต่อมคิด
    • คนต้นคิด
    • บทความเศรษฐกิจสร้างสรรค์
  3. Global Trend
    • Color Trends Direction
    • Life style Report
    • Using� Trends
    • Trend into Product
    • Who's In-Trend
    • Global trends Partners
  4. ความรู้กินได้
    • ภูมิปัญญาสร้างรายได้
    • ต่อยอดการเกษตร
    • คนดิจิตัล
  5. จัดการความรู้

ตัวอย่าง 1 ภาพพร้อมคำอธิบาย (Photo caption) นับเป็น 1 สาระ (จ่าย� 500 บาทต่อเรื่อง)

วศินบุรี สุพานิชวรภาชน์ ศิลปินศิลปาธร ประจำปี 2553 หนึ่งในแกนนำในการจัดงาน “เหตุเกิดที่อัมพวา”
กล่าวไว้ว่า “นับจากวันนี้ชื่อ ‘อัมพวา’ ไม่ได้หมายถึงแค่อำเภอๆ หนึ่งในจังหวัดสมุทรสงครามอีกต่อไป
แต่คำว่า ‘อัมพวา’ จะหมายถึง การปกป้อง รักษาชุมชน วัฒนธรรม วิถีพื้นบ้าน และการดำเนินชีวิตแบบไทยๆ
ที่กำลังเลือนหายไปด้วยเหตุผลบางอย่าง เวลาหรือเงินทุน”

ตัวอย่างการเขียนบทความ

เรื่อง ต่อเนื้อเยื่อมนุษย์จากของเหลือทิ้ง

ฟังดูแล้ว ไม่น่าเชื่อว่าของเหลือทิ้งจะสามารถต่อเนื้อเยื่อมนุษย์ได้ แต่มันก็เกิดขึ้นแล้ว ด้วยผลงานวิจัยของ รศ.เภสัชกรหญิง ดร.พรอนงค์ อร่ามวิทย์ อาจารย์คณะเภสัชศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่นำเซซิรีนหรือโปรตีนจากกาวไหมมากระตุ้นให้เกิดการสร้างเนื้อเยื่อได้� ซึ่งนับเป็นนวัตกรรมใหม่ทางการแพทย์ของโลก� ในการคิดค้นผลิตแผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลจากของเหลือทิ้ง และยังมีคุณสมบัติช่วยให้แผลหายเร็วขึ้น สร้างหลอดเลือดเพิ่ม (neovascularization)� เพิ่มคอลลาเจนในบาดแผล ไม่ทำให้เกิดการแพ้หรือระคายเคือง ทั้งยังทำหน้าที่กระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อ แผลจึงหายเร็ว เพราะเซลล์ที่เกี่ยวข้องกับการอับเสบน้อยกว่าการใช้พลาสเตอร์ทั่วไป โอกาสเกิดแผลเป็นก็ต่ำกว่า และการใช้งานก็เหมือนพลาสเตอร์ที่ใช้ปิดกั้นกันเชื้อโรคเข้าไปในแผลที่มีวางขายตามท้องตลาดทั่วไป

กาวไหม คือ น้ำเหลือทิ้งจากการต้มรังไหม ซึ่ง ดร.พรอนงค์ ได้ทำการศึกษาวิจัยโปรตีนในกาวไหมหรือน้ำเหลือทิ้งจากการต้มรังไหม และค้นพบว่า กาวไหมมีเซริซีน (sericin) ตามธรรมชาติ ซึ่งเป็นกรดอะมิโนสำคัญต่อร่างกาย ที่มีปริมาณสูงถึง 30% ทำให้แข็งตัวเป็นเจล แข็งแรงและยืดหยุ่นได้ตามอุณหภูมิการผลิต และสารประกอบร่วมมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย ดูดซึมน้ำได้ดี จึงทำให้ผิวหนังชุ่มชื้น ใช้ปิดแผลก็เจ็บปวดน้อยลง ที่สำคัญเซริซีนยังกระตุ้นการสร้างเซลล์ไปพร้อมกับเพิ่มการยึดเกาะตัวกัน อันเป็นตัวการช่วยสร้างเนื้อเยื่อของมนุษย์ได้
ในกรณีแผลขนาดใหญ่ไฟไหม้ เนื้อเยื่อผิวหนังเสียหายเป็นบริเวณกว้าง ร่างกายสร้างเนื้อเยื่อได้ยาก การรักษาต้องกรีดหรือตัดเนื่อเยื่อจากร่างกายส่วนอื่น ทำให้มีแผลเพิ่ม และเสี่ยงต่อปัญหาการติดเชื้อ� แผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลจากกาวไหมลดปัญหาการติดเชื้อได้ เนื่องจากไม่ต้องเปิดแผลใหม่ แผ่นปิดแผลติดแล้วไม่ต้องลอกออก ปิดครั้งเดียว จากนั้นกระบวนการสร้างเนื้อเยื่อจะขึ้นมาทดแทนและโปรตีนกาวไหมจะละบายไปเองใน 21 วัน

มีการวิจัยกับผู้ได้รับบาดเจ็บไฟลวกเป็นบริเวณกว้างถึง 60% จากเหตุเพลิงใหม่สถานบันเทิงชื่อดังแห่งหนึ่ง พบว่าได้ผลดีและจากการทดลองกับหนูพบว่า เพิ่มคอลลาเจนไปกระตุ้นการสร้างเนื้อเยื่อให้แผลหายเร็วขึ้น ขณะเดียวกันก็ได้ทดลองโดยติดกับผิวหนังอาสาสมัคร ซึ่งเป็นบุคคลทั่วไปที่ไม่มีแผล 112 คน เป็นเวลา 23 สัปดาห์ ไม่พบการแพ้ และทดลองกับคนไข้ที่มีบาดแผลจริง 70 ราย ก็ได้ผลดีตามคุณสมบัติและความคาดหมาย
ต้นทุนการผลิตแผ่นเนื้อเยื่อปิดแผลกาวไหม แผ่นละ 250 บาท หรือคิดเป็น 3.6 เปอร์เซ็นต์ของผลิตภัณฑ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ ซึ่งถ้านำมาใช้อย่างจริงจังจะลดรายจ่ายโดยรวมของประเทศลงมิใช่น้อย
ผลพลอยได้อีกทางหนึ่ง คือ จะช่วยเพิ่มมูลค่าให้กาวไหม ซึ่งเป็นของเหลือใช้ทางการเกษตร ให้กับแวดวงอุตสาหกรรมไหมไทยได้อีกด้วย

เขียนโดย ชัชมนต์ สมาร์ท สำนักงานบริหารและพัฒนาองค์ความรู้

ที่มา: http://twitter.com/vp2650 �
เดลินิวส์ http://www.classifiedthailcom/concept.php?article=25796


ดูกิจกรรม/โปรโมชั่นทั้งหมด


  1. facebook
  2. line
  3. youtube
  4. twitter