มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 15 ส.ค. 2009 10.07 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1880416 ครั้ง

การเดินทางของมนุษย์จะต้องมีแผนที่ การสร้างตึก สร้างบ้าน จะต้องมีพิมพ์เขียว การทำธุรกิจเช่นกันจะต้องมีแผน แผนที่ว่านี้คือแผนธุรกิจ เพื่อความสำเร็จและขออนุมัติสินเชื่อจากสถาบันการเงิน หรือเวลาที่ท่านต้องการหุ้นส่วน เพื่อให้เขาเหล่านั้นเชื่อว่าการทำธุรกิจของท่านมีความน่าเชื่อถือเพียงใด มิใช่พูดแค่ลมปาก แต่เป็นจริงได้ ที่สำคัญชาวบ้าน ที่จะทำธุรกิจ ไม่มีรู้ความสามารถที่จะเขียนแผนธุรกิจได้ เพราะจะต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ความเชียวชาญในระดับหนึ่ง จึงจะสามารถเขียนขึ้นมาได้ บทความนี้ จะเขียนขึ้นอย่างง่าย ๆ สำหรับคนที่จะทำธุรกิจแต่ไม่มีพื้นฐานความรู้ ขาดความเชี่ยวชาญ ในการทำจัดทำแผนธุรกิจ และไม่เชียวชาญในการประกอบการธุรกิจ


รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ

รูปแบบของการดำเนินธุรกิจ
                    ในการดำเนินธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมผู้ประกอบการสามารถเลือกประกอบการได้หลายรูปแบบตามความเหมาะสมของเงินทุนในการประกอบการ  ความพร้อมของทรัพยากร  ขนาดและประเภทธุรกิจของธุรกิจที่มีความประสงค์จะดำเนินการ ดังนั้นก่อนการเริ่มต้นดำเนินธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อม  ผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาขีดความสามารถของตนเองว่าควรจะดำเนินการจัดตั้งรูปแบบใด
โดยทั่วไปแล้วการดำเนินธุรกิจสามารถจัดตั้งได้ 3 รูปแบบ คือ
                  1. รูปแบบเจ้าของคนเดียว
                  2. รูปแบบห้างหุ้นส่วน
                  3. รูปแบบบริษัทจำกัด
                 ซึ่งรูปแบบทั้ง  3  นี้  มีข้อดีและข้อเสียแตกต่างกันออกไป  ในการตัดสินใจนั้น  ไม่มีคำตอบที่ดีที่สุดทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความต้องการ  ความพร้อมและความเหมาะสมของผู้ประกอบการค้าปลีกขนาดย่อมเป็นหลักและผู้ประกอบการจะต้องพิจารณาปัจจัยในการเลือกรูปแบบของธุรกิจนอกเหนือจากที่กล่าวมาแล้วข้างต้นดังนี้ 

1.            ความรับผิดชอบและผลประโยชน์ที่จะได้รับ  รูปแบบของการประกอบธุรกิจแต่ละรูปแบบมีการจำกัดความรับผิดชอบเกี่ยวกับหนี้สิน  และผลกำไรต่างกัน 

2.             ข้อจำกัดและกฎหมาย  การประกอบการธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมแต่ละรูปแบบมีกฎหมายควบคุมการดำเนินการ  ถ้าหากผู้ประกอบการมีการพิจาณาแล้วว่าตนเองมีข้อจำกัด  เพื่อความเหมาะสมจะต้องศึกษากฎหมายอย่างละเอียดถี่ถ้วนก่อนตัดสินใจเลือกรูปแบบธุรกิจในการดำเนินการ

3.            ปัญหาที่จะตามมาภายหลังการจัดตั้ง  สิ่งแวดล้อมทางธุรกิจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา  ถ้าการเปลี่ยนแปลงมีผลดีกับธุรกิจที่กำลังดำเนินอยู่ เช่น  การเปลี่ยนแปลงด้านการเมืองอาจส่งผลให้เกิดกฎหมาย  พระราชบัญญัติ  ข้อบังคับที่ส่งผลในการดำเนินการเช่นการยกเว้นการเก็บภาษีบางชนิดสำหรับรูปแบบการดำเนินธุรกิจ  การให้สินเชื่อเพื่อการดำเนินกิจการ  หรือในทางตรงกันข้ามอาจมีการเปลี่ยนแปลงมีผลเสียกับธุรกิจเช่น  ในกรณีที่ผู้ประกอบการเลือกรูปแบบการดำเนินกิจการแบบมีหุ้นส่วนอาจเกิดปัญหาการฉ้อฉลจากอุปนิสัยและพฤติกรรมของหุ้นส่วน  ข้อปฏิบัติในการดำเนินธุรกิจและการยกเลิกกิจการยุ่งยาก เป็นต้น   

                    นอกจากกิจการรูปแบบเจ้าของคนเดียวจะจัดตั้งได้ง่าย ใช้เงินลงทุนน้อยแล้วกิจการรูปแบบห้างหุ้นส่วนเป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่นิยมจัดตั้งแม้ว่าจะมีขั้นตอนที่ยุ่งยากมากกว่า แต่มีความน่าเชื่อถือกว่ากิจการรูปแบบเจ้าของคนเดียว ทั้งนี้เพราะสามารถระดมเงินลงทุนจากผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งมีตั้งแต่สองคนขึ้นไปมาขยายกิจการได้สะดวกเหมาะสำหรับกิจการขนาดเล็กถึงขนาดกลาง จึงทำให้เป็นที่สนใจของนักลงทุนเป็นจำนวนมาก

                   ดังนั้น  ก่อนพิจารณาเลือกรูปแบบการดำเนินธุรกิจค้าปลีกขนาดย่อมผู้ประกอบการจะต้องพิจารณา


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที