วิกูล

ผู้เขียน : วิกูล

อัพเดท: 23 ก.พ. 2008 20.35 น. บทความนี้มีผู้ชม: 12130 ครั้ง

หากขัดขืนอย่าง"อารยะ"ก็เป็นสิ่งที่ควรพิจารณา เมื่อมโนธรรมบอกเราว่าสิ่งใดๆนั้นไม่เป็นธรรม


โดนข่มขืน ๒๕ คน...!!! ทนได้หรือว่าใจมีหวัง (นี่แหละประเทศไทย)

18845_puying.jpg

 

โดนข่มขืน  ๒๕  คน...!!! ทนได้หรือว่าใจมีหวัง (นี่แหละประเทศไทย)

 วิกูล    โพธิ์นาง     (๒๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๑)

 

 

คงเคยได้ยินข่าวมาก่อนหน้านี้ เกี่ยวกับคดีสะเทือนขวัญ ที่ฝ่ายหญิงเป็นผู้ถูกกระทำ และจะยิ่งสะเทือนใจเป็นที่สุดถ้าผู้กระทำคือพ่อผู้บังเกิดเกล้าของหญิงสาวในใส้ของตน ดังเช่นกรณีที่เคยเกิดขึ้นที่จังหวัดปราจีนบุรี พ่อข่มขืนลูกสาวที่มีอายุ ๑๔ ปีจนตั้งครรภ์ หรืออีกรายก็พ่อ ทุกครั้งที่เมา  เกิดอารมณ์เปลี่ยว จะใช้มีดจี้คอลูกสาวแล้วข่มขืนซ้ำแล้วซ้ำเล่ามาเป็นเวลาเป็นปีๆ

 

แค่เป็นข่าวก็มีให้ได้เห็นได้รับรู้ถึงความเลวทรามในจิตใจคนนั้นๆอยู่เนืองๆ อีกที่ไม่เป็นข่าวซุกซ่อนอยู่อีกมากมายนัก  นี่พ่อแท้ๆยังทำได้ขนาดนี้ ประสาอะไรกับคนอื่น ซี่งมีท่านผู้รู้กล่าวเตือนใว้ว่า “ผู้ชายทุกคนไว้ใจไม่ได้  แม้แต่พ่ออย่าให้ผู้หญิงอยู่กันตามลำพังสองต่อสองในที่ลับหูลับตา เพราะสันดานส่วนลึกแล้วผู้ชายหวังอย่างเดียวคือเจาะไข่แดง”  จริงเท็จอย่างไรฟังหูไว้หู

ความคิดชั่วๆ มาเป็นวูบๆ รวมกันก็เลยกลายเป็นอารมณ์ชั่ววูบ ทำให้เกิดเหตุดังที่กล่าวมา ทำไมพ่อถึงข่มขืนลูกสาวอยู่นานเป็นแรมปีเรื่องถึงแดงออกมา  เพราะพ่อเป็นผู้นำมีอิทธิพลในครอบครัวเหนือผู้ใต้ปกครอง ทำให้ลูกในไส้โต้แย้งได้ยาก  หรือจะเป็นความสมยอมของใครผู้อยู่ในกลุ่มผู้ใต้ปกครองก็ตามที  นั่นเป็นส่วนหนึ่งจากสังคมไทยเรา  ผู้น้อยต้องเชื่อฟังผู้ใหญ่ประมาณว่า
  “เชื่อผู้นำชาติพ้นภัย” ทำให้การข่มขืนจากบิดาไม่ได้รับการขัดขืน  ทั้งๆที่มโนธรรมของผู้ถูกกระทำจะบอกว่าไม่ถูกต้อง  เหตุการณ์แบบนั้นก็เกิดซ้ำแล้วซ้ำเล่า

 

ถ้าการข่มขืนนั้นไม่ขัดขืนเผลอๆก็เป็นการสมยอม บางรายอาจนำเรื่องไปฟ้องร้องไม่ได้ด้วยซ้ำ  เคยโดนข่มขืนไหม ยิ่งถ้าการข่มขืนที่เกิดซ้ำๆ หลายคนถ้าขนาด ๒๕ คนนี้ถือว่าไม่ธรรมดาแล้ว  ถ้าโดนข่มขืนขนาดนั้นก็ต้องวิเคราะห์แล้วว่าเหตุใดถึงยอม ทำไมถึงทนได้ หรือเพราะมีความหวังอะไร

 

ถูกข่มขืน ถูกบังคับจิตใจ ถูกขืนใจ หรือขู่เข็ญ เป็นการกระทำเหมือนกันอาจจะโดยซึ่งหน้าหรือใช้สภาวะแวดล้อมโดยนัยอะไรก็ดีถ้าทำให้เรารู้สึกข้างต้นนั่นแหละเราถูกข่มขืนแล้ว...ไม่เฉพาะทางเพศเท่านั้น แล้วอย่างนี้เคยโดนข่มขืนไหม...?

 

นับจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองสยามเมื่อ ๒๔๗๕  จากสมบูรณาญาสิทธิราชมาสู่ประชาธิปไตยฯ แต่แรกเริ่มประชาชนพลเมืองมีส่วนร่วมทางการเมืองน้อยมาก การปกครองตกอยู่ในกลุ่มรัฐบาล ที่มีนายกรัฐมนตรีเป็นผู้กุมอำนาจ เรามีนายกรัฐมนตรีมาแล้ว ณ ปัจจุบันถึง ๒๕ คน (๒๑  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๑ : สมัคร สุนทรเวช)

 

บ่อยครั้งที่การปกครองของประเทศไทยเรา เกิดอคติต่อการแบ่งปันผลประโยชน์ที่ความอุดมสมบูรณ์ตกไปอยู่ในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง อันมีเหตุมาจากที่นักการเมืองปกครองด้วยบาปดังที่มหาตมะคานทีได้กล่าวไว้ว่าเป็นบาป ๗ ประการอันได้แก่

๑.      เล่นการเมืองโดยไม่มีหลักการ

๒.    หาความสำราญโดยไม่ยั้งคิด

๓.     รำรวยเป็นเอกนิษฐ์โดยไม่ต้องทำงาน

๔.     มีความรู้มหาศาแต่ความประพฤติไม่ดี

๕.     ค้าขายโดยไม่มีหลักศีลธรรม

๖.      วิทยาศาสตร์เลิศล้ำแต่ไม่มีธรรมแห่งมนุษย์

๗.     บูชาสิ่งสูงสุดแต่ไม่มีความเสียสละ

การปฏิบัติการของนักการเมืองดังกล่าวมาก็เพราะมีฐานแห่งนิสัยมาจากความลำเอียง(อคติ) ความลำเอียงนี้เป็นนิสัยการประพฤติตั้งอยู่บนพื้นฐานที่ผิด ไม่เที่ยงธรรม  โดยแสดงออกเป็นลักษณะเช่น ลำเอียงเพราะใช้ความชอบส่วนตัว ลำเอียงเพราะหลงเขลาเบาปัญญา  ลำเอียงเพราะความเกลียดชิงชัง หรือลำเอียงเพราะเกลัว

 

การปกครองบ้านเราเป็นประชาธิปไตย  เอาเสียงข้างมากตัดสิน มีระบบรัฐสภา  แต่บางคราวเสียงส่วนน้อยที่ไม่มีอำนาจถูกละเลย  องค์กรอิสระหรือไม่อิสระถูกแทรกแซง

 

เราผู้ถูกปกครองยังจะนิ่งอยู่อีกหรือกับการข่มขืนทางการปกครอง เมื่อเรารู้และสำนึกมโนธรรมว่านั่นเป็นความไม่ถูกต้อง ถ้าหากเฉยเงียบโดยถือว่าเขามาถูกต้องตามกติกา มีกฎหมายก็ว่าไปตามกฎหมาย เราทำอะไรไม่ได้  หากเป็นเช่นนั้น  เราก็ได้ถูกนายกรัฐมนตรีที่กุมอำนาจผ่านทางเครือข่ายข่มขืนแล้ว  และข่มขืนมาแล้ว ๒๕ คน

 

ความนิ่งเงียบ ปิดปากไม่ขัดขืนต่อกฎหมายและการปกครองที่ผิดๆ เคยทำให้ไทยเราเสียใจมาแล้วดังกรณีเขาพระวิหาร

 

“...สรุปเหตุผลที่แท้จริงที่ประเทศไทยเสียปราสาทพระวิหารคือ การยอมรับความคลาดเคลื่อนของแผนที่อันเป็นผลมาจากการทำแผนที่ฝ่ายเดียวของเจ้าหน้าที่ฝรั่งเศส ซึ่งศาลโลกเห็นว่า หลังจากที่ทำสนธิสัญญาประเทศสยามอยู่ในฐานะที่จะคัดค้านความไม่ถูกต้องของแผนที่ได้หลายครั้ง แต่ก็มิได้คัดค้าน จึงปิดปากประเทศสยามว่าต่อมาจะปฏิเสธความไม่ถูกต้องของแผนที่ไม่ได้...”  (บทความโดย ประสิทธิ์ ปิวาวัฒนพานิช คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์)

 

เราต้องขัดขืนหากเห็นว่ากฎกติกา ประกาศ กฎหมาย  เป็นบาปดังคุณสุทธิชัย   หยุ่น   เขียนตอนหนึ่งว่า

“...ทางหนึ่งของการแสดงออกเพื่อเป็นแรงถ่วงอำนาจ หรือ “การกดขี่ของเสียงข้างมากที่ไม่เป็นธรรม” ก็คือประชาชนต้องมีสิทธิแสดงออกทางการเมืองนอกสภา ไม่ว่าจะด้วยการเดินขบวนอย่างสันติ หรือการใช้มาตรการ “อารยะขัดขืน” เพื่อแสดงให้ผู้มีอำนาจที่ไร้คุณธรรมได้เห็นว่า แม้ผู้คัดค้านจะเป็นเสียงข้างน้อย, แต่ก็เป็นเสียงแห่งมโนธรรมของสังคมในยามที่ “ทุกอย่างถูกเงินและอำนาจซื้อไปหมดแล้ว”...” (สุทธิชัย หยุ่น จากคอลัมน์กาแฟดำ นสพ. กรุงเทพธุรกิจ)

และ

“...ดังนั้น "อารยะขัดขืน" จึงเป็นการกระทำที่มีความเป็น "อารยะ" ในตัวเอง ไม่ใช่ "กฎหมู่" หรือแก๊งกวนเมือง อย่างที่คนในรัฐบาลพยายามบิดเบือน…”

มหาตมะ คานธี แห่งอินเดีย ต้นตำรับการต่อสู้แบบอสิงหา บอกว่า "เหตุที่เขาขัดขืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมายบ้านเมืองนั้น เป็นเพราะเขาประสงค์จะปฏิบัติตามคำสั่งที่สูงยิ่งไปกว่านั้น คือคำสั่งแห่งความรู้สึกผิดชอบชั่วดีของตัวเอง"

ขั้นตอนของ "อารยะขัดขืน" มีด้วยกัน ๗ ประการ ๑.ตั้งใจละเมิดกฎหมาย .ใช้สันติวิธี ๓.เป็นการกระทำกลางสาธารณะโดยแจ้งให้ฝ่ายรัฐรับรู้ล่วงหน้า .เต็มใจที่จะรับโทษทางกฎหมายจากการละเมิดนั้น .กระทำไปเพื่อเปลี่ยนแปลงกฎหมายหรือนโยบายของรัฐบาล .มุ่งเชื่อมโยงกับสำนึกแห่งความยุติธรรมของคนส่วนใหญ่๗.มุ่งเชื่อมโยงกับสำนึกแห่งความยุติธรรม ซึ่งความยุติธรรมถือเป็นส่วนสำคัญของกฎหมายและสถาบันทางสังคม

 

กล่าวสำหรับ อาจารย์ไชยันต์  ไชยพร แห่งคณะรัฐศาสตร์จุฬาฯ ที่ปฏิบัติการ "อารยะขัดขืน" ด้วยการฉีกบัตรเลือกตั้ง ถือได้ว่าได้ทำตามกฎ ๗ ข้อแห่งอารยะขัดขืน เพราะอาจารย์ได้แจ้งให้รัฐทราบล่วงหน้า ๒ วัน ว่าขอใช้สิทธิตามมาตรา ๖๕ ด้วยการฉีกบัตร และการฉีกบัตรก็กระทำต่อหน้าสาธารณะอย่างเปิดเผย อีกทั้งยินดีและยินยอมรับโทษทัณฑ์ตามรัฐธรรมนูญมาตรา ๑๐๘ วรรคแรก

 

เหตุที่อาจารย์ไชยันต์เลือกจะฉีกบัตร แทนการกาช่องไม่ลงคะแนน เพราะหากกาช่องไม่ลงคะแนน ก็จะเป็นบัตรที่ไม่ถูกนับ หรือได้รับความสนใจจากรัฐ แต่การฉีกบัตรเป็นการประกาศ และสื่อสารให้สาธารณะได้รับทราบความรู้สึก และความต้องการของอาจารย์ ซึ่งถูกต้องตรงตามหลัก "อารยะขัดขืน"…”  (คอลัมน์ เดินหน้าชน โดย นงนุช สิงหเดชะ มติชนรายวัน)

 

อารยะขัดขืน

“อารยะขัดขืน (อังกฤษ: Civil disobedience) เป็นการเรียกกิจกรรมรวม ๆ ของการเคลื่อนไหวที่จะไม่กระทำตามกฎหมาย หรือ ความต้องการและคำสั่งของรัฐบาลหรือผู้อยู่ในอำนาจ โดยไม่มีการใช้ความรุนแรงทางกายภาพ...”  (วิกิพีเดีย)

 

ความอคติ  ลำเอียง ปกครองบ้านเมืองด้วยบาป ๗ ประการ  เมื่อมโนธรรมบอกเราว่านั่นไม่ถูกต้อง เราต้องขัดขืน แต่ขัดขืนแบบอารยะผู้ที่ประเสริฐแล้ว มิฉะนั้นผลจะไม่ตกแต่เฉพาะตัวเรา กลุ่มเรา แต่อาจพาลพาให้ชาติเสียหายย่อยยับ จนสิ้นชาติ แล้วเราจะอยู่อย่างไร อายะขัดขืนจึงมีความจำเป็นที่ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ

 

เรามีนายกรัฐมนตรีตามระบอบประชาธิปไตยฯ มาถึง ๒๕ คนแล้ว เคยไหมที่จะขัดขืนไม่สมยอมกับผลการปกครองแบบข่มขืน  หรือเราจะยอมที่จะรอและปล่อยไปตามยถากรรมของการปกครอง  พร้อมกับความหวังลึกๆว่าสักวันหนึ่งจะพบการความถูกต้องเป็นธรรมโดยบังเอิญ

 

จะทำอย่างไรได้ก็ประชาชนเลือกเขามาแล้วนี่ หากคิดอย่างนั้นแล้วไซร้ก็คงพูดได้แค่.. “ก็นี่แหละประเทศไทย”

 

18845_tura.jpg

 

ภาพจากอินเตอร์เน็ตและวิกิพีเดีย

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที