อ.สมิต

ผู้เขียน : อ.สมิต

อัพเดท: 19 ส.ค. 2008 16.28 น. บทความนี้มีผู้ชม: 828932 ครั้ง

การนำเสนอเป็นหนึ่งในทักษะที่ทุกคนจะต้องฝึกฝนให้เกิดขึ้นแก่ตน เพราะเป็นทางนำมาซึ่งความสำเร็จในการนำผลงาน แผนงาน โครงการและความคิดต่างๆ เสนอเพื่อให้มีการรับรอง หรือ อนุมัติ นับว่าเป็นสิงสำคัญอย่างยิ่งในการทำงานและการดำเนินชีวิต


การเตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอ

     การเตรียมเนื้อหาที่จะนำเสนอ

                        เนื้อหาที่จะนำเสนอ  เป็นส่วนของสาระสำคัญในการนำเสนอในหลักการทั่วไป  จะต้องมีความสมบูรณ์ครบถ้วน  ชัดเจน  กะทัดรัด  กระชับความ  มีลักษณะเฉพาะเจาะจง  และถูกต้อง  เนื้อหาต้องจัดเป็นหมวดหมู่  เรียงลำดับไม่สับสน  อย่างระมัดระวัง  ทั้งจะต้องคำนึงถึงหลักการเฉพาะของการนำเสนอดังนี้

โครงสร้างการนำเสนอที่นิยมใช้กันทั่วไป  มีดังนี้

                        แบบที่  1

1.       ชื่อเรื่อง

2.       วัตถุประสงค์

3.       สภาพความเป็นมา

4.       ปัญหาพื้นฐาน

5.       วิธีการแก้ไข

6.       แนวดำเนินการในอนาคต

 

                        แบบที่2

1.       เรื่องเดิม

2.       ข้อเท็จจริง

3.       ปัญหาหรือข้อกฎหมาย (ถ้ามี)

4.       ข้อพิจารณา  ( ทางเลือกต่างๆในการแก้ปัญหา )

5.       ข้อเสนอแนะของผู้นำเสนอ

 

                        แบบที่ 3

1.       ลักษณะความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา

2.       ข้อสมมุติฐานหรือสาเหตุของปัญหา  หรือตัวแปรที่สัมพันธ์เกี่ยวข้อง

3.       วิธีการเก็บรวบรวมข้อมูล

4.       วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล  และการแปลความหมาย

5.       สรุปสาระสำคัญที่ค้นพบ

6.       การอภิปรายผล

7.       ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ  ในการประยุกต์ใช้กับกิจกรรม

 

 

 

 

 

1.       ต้องคัดเลือกเนื้อหาที่น่าสนใจ  ในแง่ของผู้รับการนำเสนอ  มิใช่เป็นความต้องการ

ของผู้เสนอฝ่ายเดียว  เพราะเท่ากับเป็นการยัดเยียดเนื้อหาที่ทำความอึดอัดรำคาญ  ให้แก่ผู้รับการนำเสนอ

2.       ต้องจัดทำร่างเนื้อหาตามโครงสร้างให้มีความยาวของเรื่องเหมาะแก่ระยะเวลาใน

การนำเสนอ

3.       ต้องเรียบเรียงเรื่องด้วยการลำดับ  ให้เกิดความเชื่อมโยงเป็นเอกภาพ  อย่าให้เกิด

ความขัดแย้งกัน

4.       ต้องแปลงข้อมูลให้เป็นที่เข้าใจง่าย  สามารถรับรู้และทำความเข้าใจได้รวดเร็ว

5.       ต้องแสดงให้เห็นความสำคัญ  หรือประโยชน์ที่จะได้รับจากข้อคิดเห็นที่นำเสนอ

ในทุกด้าน  ด้วยเหตุผล  หลักฐานอ้างอิงต่างๆครบถ้วน

6.       ต้องระวังการที่จะเชื่อมโยงเหตุผลจากข้อเสนอหนึ่งไปสู่ข้อเสนออีกข้อหนึ่ง  ต้อง

ให้สอดคล้องและกลมกลืนกัน

7.       ต้องเรียบเรียงเนื้อหาให้สามารถติดตามได้สะดวก  และง่ายแก่ความเข้าใจ  ตามขั้น

ตอนของเรื่อง หรือตามหมวดหมู่ของเรื่อง  หรือตามระยะเวลา  หรือตามเหตุการณ์  หรือตามสาเหตุ และ ผล  หรือตามความสำคัญของเรื่อง


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที