อ.สมิต

ผู้เขียน : อ.สมิต

อัพเดท: 04 ก.ย. 2007 09.39 น. บทความนี้มีผู้ชม: 433305 ครั้ง

ความขัดแย้งย่อมเกิดขึ้นได้ในชีวิตประจำวันของมนุษย์ โดยเฉพาะเมื่อมนุษย์ต้องอยู่ร่วมกันเป็นสังคมหรือการที่ต้องทำงานเป็นกลุ่ม นอกจากความขัดแย้งระหว่างบุคคลแล้วยังจะมีความขัดแย้งระหว่างกลุ่มด้วย หากสมาชิกกลุ่มมีความแตกต่างกันมากในหลายๆ ด้าน ความขัดแย้งก็จะเกิดมากขึ้น จึงอาจจะกล่าวได้ว่าเป็นการยากที่คนเราจะทำงานร่วมกันในหน่วยงานโดยปราศจากความขัดแย้ง จนมีคำกล่าวว่า “ความขัดแย้งเป็นสิ่งจำเป็นที่ต้องมีในชีวิตแต่ปัญหาไม่จำเป็นต้องมี ”


แนวคิดเกี่ยวกับความขัดแย้ง ตอนที่ 3-วิธีการแก้ไขความขัดแย้ง ภาคจบ

11.   ทักษะที่จำเป็นในการแก้ไขความขัดแย้ง

 

            1.   ความสามารถในการพิจารณาลักษณะของข้อขัดแย้ง

            2.   ความสามารถในการจำแนกประเด็นของข้อขัดแย้ง

            3.   ความสามารถในการเริ่มต้นเจรจาแก้ไขข้อขัดแย้ง

            4.   ความสามารถในการฟัง

            5.   ความสามารถในการใช้เหตุผลและให้เหตุผล

            6.   ความสามารถในการรู้จักปฏิกิริยาทางอารมณ์ของผู้อื่น

            7    ความสามารถในการควบคุมอารมณ์ของตนเอง      

            8.   ความสามารถในการอ่านปฏิกิริยาที่มีต่อคำพูด

            9.   ความสามารถในการลดความรุนแรง

            10. ความสามารถในการใช้หลัก และกระบวนการแก้ปัญหา

            การแก้ไขข้อขัดแย้งด้วยวิธีการพบหน้ากัน เพื่อเจรจาทำความตกลงกันนั้น แม้ว่าเป็นวิธีการที่จะมีประสิทธิผลมากกว่าวิธีการอย่างอื่น แต่วิธีนี้จะใช้ได้ผลเพียงใดก็ขึ้นอยู่กับความสามารถและความชำนาญของผู้เกี่ยวข้องที่จะต้องสร้างทักษะดังที่ได้กล่าวมาข้างต้นอย่างไรก็ดี ผู้ที่ร่วมกันแก้ไขความขัดแย้งทุกฝ่ายต่างก็ต้องพยายามที่จะมองเหตุการณ์ด้วยค่านิยมที่ใกล้เคียงกัน และพยายามที่จะรักษาความคงอยู่ร่วมกันไว้ให้ได้ ซึ่งย่อมจะก่อให้เกิดพลังในการสร้างเสริมความพอใจร่วมกันและยอมรับวิธีแก้ความขัดแย้ง ซึ่งถ้าได้ผลดีก็จะทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพดีขึ้นกว่าเดิม ดังนั้น ความขัดแย้งอาจจะนำเราไปสู่ความเจริญก้าวหน้าก็ได้


 

ความขัดแย้งเกิดขึ้นได้ในหลายกรณีด้วยสาเหตุต่างๆ กัน ท่านจะต้องพิจารณาเลือกแนวทางแก้ไขด้วยการตัดสินใจทำอย่างใดอย่างหนึ่ง

 

1.      ท่านวางแผนการทำงานและมอบหมายให้พนักงานแต่ละคนไปทำตามแผน มีพนักงานบางคนไม่ทำ แต่ไปเล่นบ้าง เดินไปเดินมาบ้าง งานที่ออกมาจึงล่าช้า ท่านจะ........?

         .      ทำไม่รู้ไม่เห็น เขาคงจะดีขึ้น

         .      เรียกตัวมาเตือนด้วยวาจา

         .      เรียกมาพบและถามว่า เขาทำอะไรไปถึงไหน พร้อมทั้งแนะนำให้เขาลงมือทำ

                  งานโดยเร็ว

         .      ...............................................................................................................................

 

2.      ฝ่ายปฏิบัติการกับฝ่ายตรวจสอบคุณภาพมีวัตถุประสงค์ที่แตกต่างกัน คือ ฝ่ายปฏิบัติการต้องการทำงานให้ได้มากตามเป้าหมายของแต่ละวัน แต่ฝ่ายตรวจสอบควบคุมคุณภาพต้องการให้งานออกไปอย่างมีคุณภาพ โดยไม่คำนึงถึงปริมาณงาน เมื่อคำนึงถึงผลงานและค่าใช้จ่ายของบริษัท รวมทั้งชื่อเสียงของบริษัท ท่านจะ....................?

         .      ให้คำแนะนำฝ่ายปฏิบัติการให้ระมัดระวังการทำงานอย่างเข้มงวดขึ้น

         .      ปล่อยให้ต่างฝ่ายต่างทำหน้าที่ของตนไปตามวัตถุประสงค์ของแต่ละฝ่าย

         .      เชิญ สองฝ่ายมาทำความเข้าใจในบทบาทความรับผิดชอบที่แต่ละฝ่ายมีอยู่

         .      ...............................................................................................................................

 

3.      ฝ่ายปฏิบัติการต้องการความรวดเร็ว เพราะความล่าช้า จะมีผลต่อการทำงานของอีกแผนกหนึ่ง ซึ่งรับงานไปทำต่อ รวมทั้งมีผลโยงไปถึงความล่าช้าในการส่งออก แต่ส่วนงานเบิกจ่าย ต้องการเอกสารสำคัญไปอ้างอิง ซึ่งต้องใช้เวลาการเดินเอกสารเป็นเวลานานกว่าจะดำเนินเรื่องเสร็จ ท่านจะ...........?


         .      ขออำนาจผู้บริหารให้สั่งการให้ส่วนงานเบิกจ่าย อำนวยความสะดวกดำเนินการ

                  ให้ก่อน

         .      เชิญหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมาร่วมประชุมวางระบบการทำงานให้เกิดความคล่อง                    ตัวมากขึ้น

         .      ปล่อยให้ทั้งสองฝ่ายทำความตกลงกันเอง

         .      ...............................................................................................................................

 

4.      พนักงานเข้าใหม่ทะเลาะกัน ต่างฝ่ายต่างกล่าวโทษ ว่าอีกฝ่ายหนึ่งไม่ให้ความร่วมมือ ไม่ยอมช่วยงานเห็นแก่ตัว นำเรื่องที่เกิดขึ้นฟ้องท่าน ท่านจะ.................?

         .      สอบสวนข้อเท็จจริง และตัดสินใจว่าใครถูกใครผิด

         .      ตั้งคณะกรรมการสอบสวนสาเหตุของการทะเลาะกันและทำลืมเรื่องไปเสีย

         .      พูดไกล่เกลี่ยประนีประนอม ให้ถือว่าหนักนิดเบาหน่อยถ้อยทีถ้อยอาศัยกัน

         .      ...............................................................................................................................

 

5.      หัวหน้าของท่านมักจะตำหนิกับท่านว่า ลูกน้องของท่านทำงานช้า แต่ท่านคิดว่าควรจะให้เวลาคนเข้าทำงานใหม่ที่ยังขาดประสบการณ์ ด้านนี้ และกลัวว่างานจะผิดพลาดจึงตรวจแล้วตรวจอีก ประกอบกับยังทำงานไม่คล่องจึงดูเก้ๆ กังๆ ไม่รู้ว่าควรจะทำอะไรก่อนอะไรหลังอย่างไร ท่านจะ...........?

         .      ไม่สนใจคำตำหนิของหัวหน้าของท่าน รอให้เขารู้เองเห็นเอง เมื่อพนักงานผู้นั้น

                  มีประสบการณ์มากขึ้น

         .      พูดกลบเกลื่อนให้หัวหน้าเลิกใส่ใจกับพนักงานผู้นี้

         .      ผสมโรงกล่าวตำหนิด้วยเพื่อจะได้ไม่ต้องขัดแย้งกับหัวหน้าของท่าน

         .      ...............................................................................................................................


6.      นางสมศรีซึ่งทำงานเป็นเสมียนประจำฝ่าย มีหน้าที่บริการให้ความสะดวกกับผู้มาติดต่อ นายสมศักดิ์ ซึ่งเป็นหัวหน้าแผนก ได้มาติดต่อขอดูเอกสารเพื่ออ้างอิง ประกอบการปฏิบัติงาน แต่ปรากฏว่านางสมศรี ได้ตวาด ตะคอก ไม่ให้ความร่วมมือในการค้นหา ซ้ำยังให้ไปค้นเอง โดยยื่นกุญแจให้อย่างไม่สนใจ ท่านจะ.............?

         .      เรียกสมศรี มาพูดเพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขด้วยตัวเอง

         .      รายงานหัวหน้าผู้ควบคุมนางสมศรี

         .      บังคับให้สมศรีไขกุญแจเอา เอกสารที่ต้องการมาให้

         .      นิ่งเฉย ไม่สนใจ เพราะรู้ว่านางสมศรี เป็นคนแบบนี้

         .      ...............................................................................................................................

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที