ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 28 ก.ค. 2020 10.25 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1385 ครั้ง

iPrice ได้รับการสนับสนุนข้อมูลจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาการตลาดออนไลน์ และบทสัมภาษณ์เทรนด์การตลาดออนไลน์ต่าง ๆ เช่น SEO, Facebook Ads, LINE OA และ YouTube จากสถาบันจัดอบรมสัมนาการตลาดออนไลน์บริษัท ทีมดิจิทัล จำกัด (Team Digital)


iPrice ร่วมกับ Team Digital เผย Facebook Ads คือเทรนด์การตลาดมาแรงที่อาจช่วยคุณกู้ภัย Covid-19 ได้

 

เมื่อ Google กลายเป็นตัวชี้ชัดค่าความนิยมของเว็บไซต์ การทำ SEO จึงถือเป็นเงาตามตัวของวงการ Digital Marketing เลยก็ว่าได้ ยิ่งตามเทรนด์กระชั้นชิดเท่าไหร่ เว็บไซต์ของคุณก็ยิ่งเป็นที่รู้จักด้วยผลการค้นหาติดหน้าแรกบน Google มากเท่านั้น แม้กระแส Social Media ในไทยจะมาแรง แต่ร้อยทั้งร้อยเมื่อมีคำถาม คำตอบที่ได้ก็มักจะมาจากการค้นหาผ่าน Google เป็นด่านแรก ก่อนที่จะแสดงผลลัพธ์ซึ่งอาจเป็นเว็บไซต์ หรือการโพสบนโลกโซเชียลที่มีคีย์เวิร์ดตรงกับการค้นหา ด้วยเหตุนี้ SEO จึงเป็นตัวแปรสำคัญที่แม้ทั่วโลกจะโดนวิกฤต Covid-19 โจมตี แต่การค้นหาบน Google ไม่มีวันหยุด หากเหล่าเจ้าของธุรกิจไม่อยากปิดฉากธุรกิจของตนเองลง ยังไงก็ต้องสำรองทุนเพื่อทำ SEO หรือ Digital Marketing สายอื่น ๆ เอาไว้บ้าง

กระตุ้นให้ iPrice Group บริษัทอีคอมเมิร์ซเปรียบเทียบราคาสินค้าออนไลน์แบบครบวงจรที่มีแพลตฟอร์มกว่า 7 ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จับมือกับ Team Digital (บริษัท ทีมดิจิทัล จำกัด) สถาบันจัดอบรม สัมนาการตลาดออนไลน์ เผยเทรนด์ Digital Marketing ฝ่าวิกฤต Covid -19 จับตลาด New Normal ให้อยู่หมัด ซึ่งก็เป็นไปตามคาดว่าความสนใจในตัว Facebook Ads ของคนไทยดูจะมีมากกว่าการตลาดออนไลน์ประเภทอื่น โดยมีผู้เข้าอบรม 22.81% แบ่งเป็นนามบริษัท 38% และในนามบุคคล 62%

5 อันดับคอร์สการตลาดออนไลน์ที่ได้รับความนิยมสูงสุด

จากข้อมูลของ Team Digital พบว่า นอกจากคอร์ส Facebook Ads แล้ว คนไทยยังสนใจคอร์สการตลาดออนไลน์อื่น ๆ เพิ่มเติม โดยมี 5 อันดับคอร์สที่ได้รับความนิยมสูงสุดดังนี้  

 

ผู้เชี่ยวชาญการตลาดออนไลน์ชี้เทรนด์ประจำปี 2020 ฝ่าวิกฤต Covid-19

เพราะ Facebook Ads และ SEO เป็นคอร์สที่ได้รับความนิยมสูงสุด iPrice จึงได้สัมภาษณ์คณาจารย์ผู้เชี่ยวชาญจาก Team Digital เพื่อสอบถามเทรนด์ประจำปี 2020 เพื่อเป็นข้อมูลให้ผู้ประกอบการที่สนใจ Digital Marketing ทั้งสองรูปแบบนำไปประยุกต์ใช้งานฝ่าวิกฤต Covid-19 ไปด้วยกัน ดังนี้

อ.ต้น จตุพล ทานาฤทัย -- ผู้ก่อตั้ง (Founder) ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สอนคอร์ส SEO สถาบัน Team Digital เผยว่า เทรนด์ SEO กู้ภัย Covid-19 ตอนนี้ควรเน้นเพิ่ม Organic Search Traffic ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งการเขียนบทความถือเป็นเคล็ดลับดั้งเดิมที่ยังได้ผลชะงัด แม้จะยังไม่มีตำราบอกกฎตายตัวว่าหนึ่งบทความควรมีความยาวเท่าไหร่ถึงจะดีที่สุด แต่ก็ควรทำ Research เล็ก ๆ ก่อนเขียน เช่น นำคีย์เวิร์ดหลักไปค้นหาใน Google แล้วจับเว็บไซต์ Top 10 มาหารเฉลี่ยความยาวของบทความ เป็นต้น และนอกจากใส่คีย์เวิร์ดหลักเข้าไปใน H1 แล้ว อย่าลืมตั้งค่า H2-H6 (คล้ายกับคำถามที่พบบ่อย หรือหัวข้อย่อย) ลงไปด้วย  ในปัจจุบันการค้นหาด้วยเสียงผ่านผู้ช่วยส่วนตัวอย่าง Siri หรือ Google Assistant และอื่น ๆ กำลังได้รับความนิยม (สถิติในสหรัฐอเมริกาพบมากถึง 50%) โดยการค้นหาด้วยเสียงนี้ Google จะเน้นหาผลลัพธ์จาก Featured Snippet ซึ่งเป็นข้อความสั้น ๆ บนเว็บไซต์ที่มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

นอกจากนี้ยังมีการปรับโครงสร้างของเว็บไซต์ (On Page) กว่า 11 ส่วน ที่ช่วยเพิ่มความน่าเชื่อถือและผลการค้นหาในสายตา Google ได้ ดังนี้

  1. Mobile-Friendliness คือระบบเว็บไซต์ที่รองรับการแสดงผลบนมือถือ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ใช้งานหน้าเว็บ (Page Experience) ที่ Google ใช้ในการจัดอันดับเว็บต่างๆ
  2. HTTPS Security (SSL) คือการเข้ารหัสความปลอดภัยข้อมูลของเว็บไซต์ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ใช้งานหน้าเว็บ (Page Experience) ที่ Google ใช้ในการจัดอันดับเว็บต่างๆ
  3. Page Speed คือ ความเร็วของการโหลดหน้าเว็บ เป็นหนึ่งในปัจจัยที่ Google ใช้ในการจัดอันดับ ได้รับความนิยมหลังจาก Google อัพเดท Algorithm ที่ชื่อว่า Mobile Speed Update ในวันที่ 9 กรกฎาคม 2561 เป็นต้นมา
  4. Technical SEO คือการปรับโครงสร้างทางเทคนิคของเว็บไซต์ เพื่อให้ Google Bot เข้ามาบันทึกข้อมูลในเว็บไซต์ได้ง่ายขึ้น
  5. Search Intent หรือ Keyword Intent คือวิธีการเขียนคอนเทนต์ตามคีย์เวิร์ดหรือความต้องการของผู้ใช้งาน Google โดยยึดหลัก SEO และใส่คอนเทนต์นั้น ๆ เข้าไปในส่วนต่าง ๆ ของเว็บไซต์ (Keyword Mapping) เช่น หน้าโฮมเพจ, หน้าหมวดหมู่, หน้าสินค้า, หน้าบทความหรือ Blog และหน้าที่เสนอบริการฟรี ๆ ให้ลูกค้า เป็นต้น
  6. Core Web Vitals คือหน้าเว็บที่มอบประสบการณ์ที่ดีแก่ผู้ใช้ โดยมุ่งเน้นด้านการโหลด การโต้ตอบ และความเสถียรของภาพ ประกอบด้วย Largest Contentful Paint (LCP) คือการวัดประสิทธิภาพการโหลด, First Input Delay (FID) คือการวัดการโต้ตอบ และ Cumulative Layout Shift (CLS) คือการวัดความเสถียรของภาพ ซึ่ง Google จะนำเอา Core Web Vitals มาเป็นส่วนหนึ่งของประสบการณ์ใช้งานหน้าเว็บ (Page Experience) ที่ใช้ในการจัดอันดับเว็บต่าง ๆในปี 2021
  7. RankBrain คือ Algorithm ของ Google ที่เป็น AI โดยจะประมวลผลจากประสบการณ์ใช้งานของผู้ใช้ (UX signals) ที่มีต่อผลการค้นหา (SERP) ของ Google การปรับเว็บไซต์และคอนเทนท์ให้เข้ากับ RankBrain เป็นสิ่งสำคัญถ้าอยากให้เว็บไซต์ติดอันดับดี ๆ เป็นเวลานาน
  8. Schema Mark Up คือการเขียนโปรแกรมหรือ Coding เข้าไปในเว็บไซต์ เพื่อให้ Google แสดงข้อมูลจากเว็บไซต์ได้มากขึ้น เช่น คะแนนรีวิว, จำนวนการรีวิว, วัน, เวลา และราคา เป็นต้น เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือให้กับเว็บไซต์ และเพิ่มอัตราการคลิกเข้าสู่เว็บไซต์จากผลการค้นหา (SERP) ของ Google
  9. E-A-T Rating โดยย่อมาจาก E = Expertise คือความชำนาญหรือเชี่ยวชาญ, A = Authoritativeness คือการได้รับการยอมรับจากผู้อื่น และ T = Trustworthiness คือความน่าเชื่อถือ E-A-T Rating จึงเป็นสิ่งจำเป็นมาก ๆ สำหรับ SEO และการเพิ่ม Conversion Rate ในตอนนี้
  10. Link Building & Social Signals ถือเป็นปัจจัยที่สำคัญที่สุดของการทำ SEO ยิ่งคุณภาพของเว็บไซต์ที่สร้างลิงค์ให้มีความน่าเชื่อถือมากเท่าไหร่ Google ยิ่งจัดอันดับให้เว็บไซต์ของลิงค์ปลายทางน่าเชื่อถือมากเท่านั้น รวมถึง Backlinks จาก Social Media ด้วย
  11. Conversion Rate Optimization คือการปรับเว็บไซต์เพื่อให้เกิด Conversion เพิ่มมากขึ้น บางเว็บไซต์ติดอันดับ SEO ดี แต่รายได้ซึ่งเป็นปัจจัยหลักของการทำธุรกิจไม่มาก็ถือว่าไม่ประสบความสำเร็จ

อ.วุธ สรกฤช พิชยดนัยกุล – ผู้เชี่ยวชาญและผู้สอนคอร์ส Facebook Ads & Marketing สถาบัน Team Digital เผยว่า ในปี 2020 นี้ ถือเป็นปีแห่งความโชคร้ายของตลาดออฟไลน์ การซื้อขายออนไลน์เข้ามามีบทบาทมากขึ้น Facebook Ads จึงกลายเป็นเครื่องมือที่บริษัทน้อยใหญ่ต้องลงทุนทำความรู้จักเพื่อชักนำลูกค้ากลุ่มเป้าหมายเข้ามาซื้อบริการ และเหมือน Facebook จะทราบถึงความต้องการนี้ เพราะมีการประกาศปรับโครงสร้างและกฎเกณฑ์หลาย ๆ อย่างเพิ่มความยากในการทำโฆษณา ซึ่งถ้าใครไม่ตามเทรนด์ประกาศของ Facebook อาจโดนปิดกั้นการมองเห็นเสียเวลาไปฟรี ๆ แต่ 4 ข้อควรรู้เหล่านี้อาจช่วยคุณได้

  1. การซื้อสินค้าจาก Lazada & Shopee เติบโตขึ้นแบบก้าวกระโดด แต่การลงโฆษณาหรือยิงแอดใน Lazada & Shopee จะมีผู้ชนะเพียง 5-10 คนเท่านั้น และขึ้นอยู่กับราคาประมูลต่อคลิกด้วย ทำให้เจ้าใหญ่คว้าชัยชนะไปครอง Facebook Ads จึงกลายเป็นกำลังเสริมที่บางครั้งอาจได้ผลกว่าการลงทุนโฆษณาผ่านแพลตฟอร์มอีคอมเมิร์ซเป้าหมายโดยตรงด้วยซ้ำ  
  2. ขายผ่าน Inbox ง่ายขึ้น แต่ก็ต้องใส่ใจรายละเอียดมากขึ้นด้วย ไม่ว่าจะการบริการ หรือการให้ข้อมูลควรลงทุนใช้คนจริง ๆ ตอบ อย่าใช้บอทสร้างความรำคาญให้ลูกค้าเด็ดขาด แม้เรื่องราคาจะสำคัญ แต่การบริการสำคัญกว่ามาก
  3. ศึกษาข้อมูลก่อนยิง Ads เช่น อายุ, เพศ, จังหวัด, ช่วงเวลา และมือถือ เป็นต้น ปัจจัยสำคัญเหล่านี้ทำให้คุณเลือกยิง Ads จับกลุ่มเป้าหมายได้อยู่หมัดกว่าเดิม
  4. CBO สำคัญ แต่ต้องใช้ให้เป็น อย่าเชื่อการจัดงบประมาณของ Facebook เพราะถึงแม้มันจะเน้นตัวที่ถูกที่สุด แต่อาจไม่ใช่ตัวที่ขายได้ ควรทำภาพและคำโฆษณาใส่เข้าไปทดสอบเยอะ ๆ ยิ่งทำร่วมกับ Conversion Pixel ยิ่งดี แล้วค่อยเพิ่มงบประมาณลงไปที่หลัง

อ.หนุ่ย ศรัณย์? ยุวรรณะ – ผู้ก่อตั้ง (Founder) ผู้เชี่ยวชาญและผู้สอนคอส LINE OA เผยว่า หลังจากที่ LINE@ ทุกบัญชีในประเทศไทยได้เปลี่ยนเป็น LINE Official Account (LINE OA) ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 พบว่า LINE OA มีการปรับปรุงพร้อมเพิ่มฟีเจอร์หลายอย่าง รวมไปถึงวิธีการคิดค่าบริการ ซึ่งจากเดิมที่คิดตามจำนวนเพื่อน เปลี่ยนเป็นคิดตามจำนวนข้อความที่ส่ง (บรอดแคสต์) เป็นต้น แต่เมื่อมีข้อดีก็ต้องมีข้อเสียตามมา ที่เห็นได้ชัดเจนคือ มีค่าใช้จ่ายสูงขึ้น ทำให้ผู้ค้าหลายรายถอดใจไปตาม ๆ กัน สำหรับเจ้าไหนที่ยังอยู่ถ้าอยากจับลูกค้าได้อยู่หมัดคุ้มค่ากับเงินที่จ่ายไปก็ต้องตามฟีเจอร์อัพเดตใหม่เล่นนี้ให้ทัน

  1. การส่งข้อความ (บรอดแคสต์) จากเดิมสามารถระบุคุณสมบัติได้แค่ระยะเวลาการเป็นเพื่อน, อายุ, เพศ, สถานที่ และโอเอส ก็เพิ่มความสามารถในการระบุแท็กลูกค้าเพื่อส่งข้อความหาลูกค้าเฉพาะแท็ก, เฉพาะคนที่เคยเห็นข้อความ, เฉพาะคนที่เคยคลิกข้อความ หรือเฉพาะ ID ผู้ใช้ที่เรากำหนด เป็นต้น
  2. การแชทแบบตัวต่อตัว เพิ่มฟีเจอร์การแท็ก, การใส่โน๊ต, การระบุสถานะ, การส่งไฟล์, ข้อความตอบกลับที่บันทึกไว้ และหากมีเชื่อมต่อกับ MyShop ก็สามารถส่งเป็นใบเรียกเก็บเงินลูกค้าได้ ซึ่งมีระบบชำระผ่านบัตรเครดิตและ Rabbit Line Pay ให้ด้วย
  3. ข้อความตอบกลับอัตโนมัติ จากที่เคยมีแค่ตอบกับตามคีย์เวิร์ด ก็เพิ่มการเชื่อมต่อแบบ API ทำให้สามารถทำ Chatbot ใกล้เคียงกับการใช้คนจริงตอบมากขึ้น และล่าสุดได้เพิ่มฟีเจอร์การตอบกลับแบบ AI ซึ่งสามารถเปลี่ยนกลับเป็นแบบตอบด้วยตนเองที่หน้าแชทได้ทันที
  4. Rich Content (Rich Message Rich VDO และ Rich Menu) เดิมจะใช้ได้เฉพาะผู้ใช้แพ็กเกจรายเดือน แต่ปัจจุบันสามารถใช้ได้ทุกแพ็กเกจ ไม่ต้องจ่ายรายเดือนก็สามารถใช้งานได้เลย
  5. มีข้อความแบบการ์ด (Card Message) เพิ่มขึ้นมาเพื่อรวมเนื้อหาต่าง ๆ เอาไว้ที่เดียว จะแสดงเนื้อหาแบบภาพสไลด์ที่ลูกค้าสามารถปัดการ์ดไปด้านข้างเพื่อดูเนื้อหาบนการ์ดอื่นได้ สามารถใส่การด์ได้ถึง 9 ใบ และยังมีการ์ดปิดท้ายอีกด้วย
  6. การเพิ่มเพื่อน จากเดิมทำได้แค่เอาลิงก์หรือคิวอาร์โค้ดไปโปรโมทตามเว็บไซต์หรือสื่อต่างๆ ตอนนี้สามารถลงโฆษณาเพื่อเพิ่มเพื่อนได้แล้ว โดยโฆษณาจะไปแสดงผลที่ Timeline
  7. สำหรับคนที่ยังไม่มีเว็บไซต์อีคอมเมิร์ซ LINE OA ก็มีบริการเสริมเรียกว่า MyShop โดยสามารถสร้างร้านค้าที่มีระบบตระกร้าสินค้าให้ลูกค้าสามารถเลือกดูสินค้า สอบถาม และชำระเงินได้โดยที่ไม่ต้องออกจาก LINE

อ.เทวฤทธิ์? ขันโมลี – ผู้เชี่ยวชาญ และผู้สอนคอส YouTube ชี้ชัดว่า การดูคลิปท่อง Youtube ดูจะกลายเป็นงานอดิเรกหลักของคนไทยหลายคนไปแล้ว ทำให้การทำการตลาดบน Youtube กำลังมาแรง ใครทำคลิปออกมาดีใส่คีย์เวิร์ดอธิบายได้ตรงจุดเมื่อค้นหาใน Google หรือ Youtube ก็มักเจอเป็นอันดับแรก ๆ ยังไม่รวมอีก 9 เทคนิคเด็ดที่สาย Youtube ตัวจริงต้องอัพเดตให้ครบ ดังนี้

  1. การยิง YouTube Ads โฆษณาเพิ่มการเข้าถึง การรับรู้แบรนด์ และยังสามารถยิงหาผู้ที่สนใจเนื้อหาที่กำหนดได้
  2. YouTube Live เป็นวิธีในการเข้าถึงผู้ชมแบบ Realtime ง่าย ๆ สามารถเผยแพร่ได้ทั้งสตรีมวิดีโอไม่ว่าเราจะสตรีมวิดีโอ จัดช่วงคำถาม หรือตอบสด เพื่อเพิ่มยอดผู้ชมได้
  3. Video tutorial & Answers (ก่อนซื้อสินค้า) คือการสร้างเนื้อหา VDO ที่ไม่ได้เน้นเพียงแค่การขาย แต่โฟกัสไปที่การอธิบายให้ลูกค้าเข้าใจขั้นตอนการใช้บริการ
  4. สร้างเนื้อหาแชร์เรื่องราวที่เป็นความรู้ เทคนิคเด็ด เพื่อขยายการรับรู้แบรนด์
  5. การมีปฏิสัมพันธ์กับผู้คนที่อยู่ในช่องยูทูป อาจจะมีการสอบถามระหว่างคลิปเพื่อสำรวจความเห็นในบางเรื่อง
  6. เป็นการสื่อการกับผู้ชมผ่านการสำรวจ หรืออาจทำในรูปแบบของ poll ก็ได้ จะปักหมุด pin comment เป็น
  7. คำถามไว้ก็ได้
  8. ถ่ายสินค้าให้เห็น 360 องศา เพื่อให้ผู้ชมรู้สึกเหมือนได้สัมผัสสินค้าด้วยตนเอง
  9. การเป็นพาร์ทเนอร์ร่วมกันระหว่างช่อง อาจเริ่มจากการที่เชิญช่องบุคคลช่องอื่นมาพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้ หรือออกไปร่วมกับช่องอื่นก็ได้ ถือเป็นการร่วมด้วยช่วยกันโปรโมท
  10. รีวิวจากผู้ใช้สินค้าจริง ไม่จำเป็นต้องเป็นดาราหรือผู้มีชื่อเสียง เพราะในมุมมองของลูกค้าบางคนอาจดูเหมือนการโฆษณาเกินไป
  11. แม้จะถนัด YouTube แต่ก็อย่าละเลยน้องใหม่อย่าง Tiktok ควรทำ VDO เผยแพร่ทั้งสองทางเพื่อจับลูกค้าให้ได้ทุกเม็ด สำหรับผู้เชี่ยวชาญด้านการทำคลิปจริง ๆ คงไม่ใช่เรื่องยาก

 

Google’s May 2020 Core Update กับอะไรที่นักการตลาดออนไลน์ควรรู้

Core Update หรือการอัพเดตหลักของ Google เกิดขึ้นเมื่อ Google ทำการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญและกว้างขวางเกี่ยวกับระบบอัลกอริทึม (Algorithm) ในการจัดอันดับ และระบบค้นหาใหญ่ (Search System) ของ Google การอัปเดตเหล่านี้มีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงประสบการณ์การใช้งานของผู้ใช้ และนำเสนอเนื้อหาที่เกี่ยวข้องมีประโยชน์และเชื่อถือได้มากขึ้น โดยปกติแล้วการอัพเดตหลักจะเกิดขึ้นปีละหลายครั้งและได้รับการยืนยันจาก Google เช่นเดียวกับครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2563 ที่ผ่านมา ซึ่งทาง Team Digital ได้สรุป 5 ไฮไลท์สำคัญม่ให้นักการตลาดออนไลน์เตรียมรับมือ ดังนี้

1. Self -Made Links หรือลิงก์ที่สร้างเอง เช่น Sponsored, Guest Post, Niche Edits, PBN (เครือข่ายเว็บของตัวเอง) มีความสำคัญน้อยลง

2. Google ใช้อัลกอริธึมชื่อ BERT เพื่อทำความเข้าใจว่าลิงก์ใดคือ Organic Link หรือ Link ที่ไม่มีแนวโน้มว่ามาจากการแลกเปลี่ยน หรือใช้เงินซื้อ

3. Google ปรับเกณฑ์ในการให้คะแนน E-A-T ใหม่ โดยเฉพาะ E (Expertise) หรือความชำนาญ ให้แก่ Author หรือผู้เขียนบทความ ยกตัวอย่างเช่น การเขียนรีวิวสินค้า แทนที่จะบอกข้อมูลสินค้านั้น ๆ ที่พบเห็นในเว็บไซต์ต่าง ๆโดยทั่วไป แต่อาจมีการเพิ่มประสบการณ์ใช้งานจริงเพื่อเพิ่มคะแนนความน่าเชื่อถือลงไปด้วย

4. Content ที่เป็นลักษณะการวิจัยเบื้องต้น (Initial Research) อันดับจะดีขึ้นมากกว่าเดิม

5. เว็บไซต์ประเภท ข่าว, ตัวแทนขายสินค้า (Affiliates) และเว็บที่เนื้อหาสั้นมาก ๆ (Thin Content) ส่วนใหญ่จะเป็นผู้แพ้ (Losers) ใน May 2020 Core Update ครั้งนี้

 

การศึกษาข้อมูล

iPrice ได้รับการสนับสนุนข้อมูลจำนวนผู้เข้าร่วมอบรมสัมมนาการตลาดออนไลน์ และบทสัมภาษณ์เทรนด์การตลาดออนไลน์ต่าง ๆ เช่น SEO, Facebook Ads, LINE OA และ YouTube จากสถาบันจัดอบรมสัมนาการตลาดออนไลน์บริษัท ทีมดิจิทัล จำกัด (Team Digital)

 

เขียน และวิเคราะห์โดย ขนิษฐา สาสะกุล

 

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที