KC

ผู้เขียน : KC

อัพเดท: 02 มี.ค. 2007 19.31 น. บทความนี้มีผู้ชม: 44246 ครั้ง

ในเมืองใหญ่ปัญหาจราจรติดขัดเป็นปัญหาที่ต้องมีการแก้ไข วิธีการหนึ่งก็คือการทำให้การจราจรไหลอย่างต่อเนื่องและคล่องตัว ซึ่งวิธีการหนึ่งก็คือ การก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยกต่างๆ ติดตามในรายละเอียดว่าการออกแบบระบบไฟฟ้าแสงสว่างในอุโมงค์ทำได้อย่างไร


ชนิดของไฟแสงสว่างอุโมงค์รถยนต์และทางลอด (Types of tunnel lighting) และการติดตั้งโคมไฟฟ้า

1.                   Symmetrical lighting

เป็นระบบไฟแสงสว่างที่ใช้ดวงโคมไฟฟ้าชนิดที่การกระจายความเข้มการส่องสว่าง (luminous intensity distribution) ที่มีความสมมาตรบนระนาบในแนวดิ่ง (vertical plane) ที่ขนานกับแกนของอุโมงค์ ดูรูปที่ 7

 

รูปที่ 8: ระบบไฟแสงสว่างชนิด symmetrical lighting

 

ระบบไฟแสงสว่างชนิด symmetrical lighting system ให้แสงที่เน้นความแตกต่างได้ดีระหว่างวัตถุที่อยู่บนถนน (object) กับถนนที่เป็นฉากหลัง (road surface background) และช่วยให้มองเห็นยานพาหนะคันอื่นที่เคลื่อนที่ในทิศทางเดียวกัน นอกจากนี้มีความเหมาะสมกับอุโมงค์ที่วิ่งสวนกัน

 

2.                   Counterbeam lighting system

ระบบไฟแสงสว่างชนิด counterbeam lighting system เป็นระบบที่ใช้ดวงโคมไฟฟ้าที่การกระจายความเข้มการส่องสว่างมีทิศทางของแสงเข้าหารถยนต์ที่วิ่งเข้ามา โดยมีการกระจายแสงเป็นแบบ asymmetrical ตามรูปที่ 8

 

รูปที่ 9: ระบบไฟแสงสว่างชนิด counterbeam lighting

 

โดยทั่วไปโคมไฟชนิดนี้จะให้ความแตกต่าง (contrast) ระหว่างวัตถุที่อยู่บนถนนกับถนนที่เป็นฉากหลังที่สว่างจ้าได้ดี อย่างไรก็ตามโคมไฟประเภทนี้มีข้อด้อยได้แก่

·       ไม่เหมาะสมกับการติดตั้งที่ปากอุโมงค์ (tunnel entrance) ที่แสงสว่างในเวลากลางวันส่องเข้ามาภายในอุโมงค์ได้ดี

·       มีประสิทธิผลน้อยกับอุโมงค์ที่มีปริมาณการจราจรที่สูง

·       ไม่เหมาะสมสำหรับอุโมงค์ที่วิ่งสวนทางกัน (bi-directional tunnels)

·       ลดประสิทธิภาพการมองเห็นของคนขับรถยนต์ในการมองกระจกส่องหลัง

 

การติดตั้งโคมไฟฟ้าในอุโมงค์สามารถติดตั้งได้ 2 แนวทาง คือ การติดตั้งกับเพดาน (Ceiling mounted) และติดตั้งกับผนัง (wall mounted) โดยมีจุดเด่นและจุดด้อยตามรายละเอียดในตารางที่ 9

 

 

ตารางที่ 9 รูปแบบการติดตั้งไฟแสงสว่างอุโมงค์รถยนต์และทางลอด (Typical tunnel lighting arrangements

ลักษณะการติดตั้ง

ข้อจำกัดในการติดตั้ง (mounting constraint)

รูปแบบการติดตั้ง (arrangement type)

ข้อดี

ข้อด้อย

ติดตั้งกับเพดาน (Ceiling mounting)

ต้องการความสูงที่เพียงพอในการติดตั้งดวงโคมไฟฟ้า

ติดตั้งเหนือถนนจำนวนหลายแถว

·     ดวงโคมมีการกระจายแสงได้ดี

·     ควบคุมแสงแยงตาได้ดี

ดวงโคมไฟฟ้าอาจถูกบังโดยป้ายจราจร

หนึ่งแถวเหนือถนน

ลงทุนน้อย และบำรุงรักษาน้อย

ต้องปิดการจราจรในการซ่อมบำรุง

ติดตั้งกับผนัง (wall mounting)

มีข้อจำกัดของความสูงของอุโมงค์

ติดตั้งทั้งสองด้านของถนน ตรงข้ามกัน

ง่ายในการบำรุงรักษา โดยการปิดช่องจราจรเพียงช่องเดียว

·     การกระจายแสงของดวงโคมลดลง

·       แสงแยงตามาก

ติดตั้งฝั่งเดียวของถนน

ลงทุนน้อยและบำรุงรักษาน้อย

ระวังรถบรรทุกบังแสงจากดวงโคมไฟฟ้า

 

หลอดไฟฟ้า (lamp) ที่เลือกใช้งานมี 2 ประเภทได้แก่

1.                   หลอดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp)

2.                   หลอด High pressure sodium

 

รูปที่ 10 (ก) โคมไฟฟ้าพร้อมหลอดไฟชนิดฟลูออเรสเซนต์ (Fluorescent lamp) (ข) โคมไฟฟ้าพร้อมหลอดไฟชนิด High pressure sodium

 

รูปที่ 11 แสดงการกระจายแสงของระบบไฟแสงสว่างชนิดต่างๆ

(ก)               Ceiling mounting symmetrical lighting

(ข)               Wall mounting asymmetrical lighting

(ค)               Ceiling mounting asymmetrical counterbeam lighting


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที