Aboutabag01

ผู้เขียน : Aboutabag01

อัพเดท: 25 ส.ค. 2019 21.29 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3496 ครั้ง

มีใครเคยทราบว่าการประกันตัว นั้นดำเนินการประกันในคดีแพ่งหรือในคดีอาญา เราจะมาเล่าสู่กันฟัง ท่านจะได้เข้าใจถูกต้องและไม่ต้องถูกผู้อื่นหลอกลวง


รับประกันตัวผู้ต้องหา คดีอาญา


การดำเนินการประกันตัวผู้ต้องหา มีเฉพาะในคดีอาญาเท่านั้น ในคดีแพ่งไม่ต้องทำการประกันตัว มีเฉพาะคดีอาญาเท่านั้นที่เราต้องประกัน ยังแบ่งออกเป็นคดีอาญาความผิดต่อส่วนตัว และคดีอาญาความผิดต่อแผ่นดิน


ไม่ใช่ทุกฐานความผิดของคดีอาญาที่เราต้องประกันตัวผู้ต้องหา เพราะว่าในบางฐานความผิดนั้นเป็นความผิดเพียงเล็กน้อยหรือความผิดลหุโทษ หรือบางฐานความผิดอาจทำการปล่อยตัวโดยไร้หลักประกันหรือโดยการให้สาบานตนก็ได้ (นี่เป็นข้อยกเว้นเพียงเล็กน้อย โดยส่วนใหญ่แล้วต้องประกันตัวในคดีอาญา)


ยกตัวอย่างที่ต้องประกัน เช่น ในคดีความผิดเกี่ยวกับเช็ค ตามพระราชบัญญัติ.ว่าด้วยความผิดอันเกิดจากการใช้เช็ค.พ.ศ.2534  โดยทั่วไปยอดหลักทรัพย์ที่ใช้เรามักจะใช้มูลค่า 1 ใน 3 ของมูลค่าตามฟ้องตามเช็ค เช่น เช็คที่ถูกฟ้องมารวมทุกใบเป็นมูลค่า 9 แสนบาท ยอด 1 ใน 3 ก็คือ 3 แสนบาท นี่คือยอดที่เราต้องใช้หลักทรัพย์ แต่ยังมีข้อกำหนดอีกอย่างนึงคือว่าเงินที่ใช้ประกันนั้นไม่เกิน 2 แสนบาทดังนั้นกรณีนี้ใช้ 2 แสนบาท (แต่ถ้ายอดความเสียหายจากเช็คเสียหายสูงมากเช่น 5 ล้านบาท หลักทรัพย์ที่ใช้อาจจะไม่ใช่ 2 แสนบาทนั่นอยู่ในดุลพินิจของศาล ต้องสอบถามอย่างละเอียดถี่ถ้วนอีกครั้งก่อนทำการรับประกันตัว) , หรือในคดีเกี่ยวกับยาเสพติด ซึ่งการ >>> ประกันตัว ยาเสพติด นั้นใช้หลักทรัพย์ค่อนข้างสูงและต้องประกันตัวที่ชั้นศาลเท่านั้น


 

เมื่อถูกฟ้องเป็นจำเลยในคดีอาญาจึง ประกันตัวผู้ต้องหา

ในการเกิดคดีอาญาขึ้นมาเกิดขึ้นมาได้ 2 รูปแบบคือ

1. ผู้เสียหายฟ้องตรงต่อศาล กรณีนี้ศาลจะนัดไต่สวนมูลฟ้องก่อนว่าคดีนี้มีมูลหรือไม่หากคดีนี้มีมูลศาลจะประทับรับฟ้อง และเราก็จะตกเป็นจำเลยในคดีความอาญาต้องมาทำการประกันตัวในวันนัดสอบคำให้การหรือก่อนวันนัดสอบคำให้การ

2.กรณีผู้เสียหายแจ้งความร้องทุกข์ต่อเจ้าหน้าที่ตำรวจที่สถานีตำรวจ เจ้าหน้าที่ตำรวจทำสำนวนส่งให้อัยการ จากนั้นอัยการทำสำนวนส่งฟ้องต่อศาล วันที่อัยการส่งฟ้องต่อศาลเราในฐานะผู้ต้องหาจะต้องมาด้วย และเมื่อศาลรับฟ้องเราจะเปลี่ยนสถานะเป็นจำเลย และวันนี้เราต้องทำการประกัน

ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นการรับประกันผู้ต้องหา ในศาลชั้นต้น

หากศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาแล้วตัวจำเลยต้องการประกันต่อก็สามารถทำได้เพื่อรอการยื่นอุทธรณ์ต่อไป

 

ประกันผู้ต้องหาชั้นอุทธรณ์


โดยในวันที่ศาลชั้นต้นมีคำพิพากษาและตัวจำเลยไปศาลศาลจะอ่านคำพิพากษาเมื่อจำเลยประสงค์จะอุทธรณ์คำพิพากษา ก็ทำการประกันตัวโดยสอบถามแก่เจ้าหน้าที่ว่าใช้หลักทรัพย์ เท่าไหร่โดยทั่วไปจะมีมูลค่าไม่เท่ากับในศาลชั้นต้นเพราะนับตามจำนวนโทษจำคุกที่ลง

ดังนั้นในวันที่ศาลท่านอ่านคำพิพากษาควรเตรียมการเรื่องการประกันเอาไว้ด้วย จำเลยหรือผู้ต้องหาจะได้ไม่ต้องเสี่ยงติดคุกติดตะราง สอบถามรายละเอียดก่อนว่าต้องใช้อะไรประกัน มูลค่าเท่าไหร่

ทั้งนี้การที่ศาลท่านอ่านคำพิพากษาแล้วอยู่ในระหว่างอุทธรณ์ถือว่าคดียังไม่ถึงที่สุด โทษจำคุกที่ศาลท่านลงไว้ยังไม่มีผล หากท่านประสงค์จะยื่นอุทธรณ์ในคดีนี้ก็ต้องดำเนินกระบวนการต่อไปตามกฎหมาย นั้นต้องปรึกษาทนายความ (นี่ไม่ใช่เรื่องประกันผู้ต้องหาแล้ว)

ในการยื่นประกันชั้นอุทธรณ์ให้ยื่นคำร้อง ต่อศาลชั้นต้นจากนั้นศาลชั้นต้นจะทำการเสนอต่อศาลอุทธรณ์ ซึ่งศาลอุทธรณ์จะเป็นผู้สั่งอนุญาตให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่

 

ประกันชั้นฎีกา

เช่นกันการประกันตัวชั้นฎีกานี้ต้องมีการเตรียมตัว และในการเสนอต้องยื่นเสนอต่อศาลฎีกาซึ่งเป็นผู้สั่งว่าจะให้ปล่อยตัวชั่วคราวหรือไม่

โดยทั่วไปแล้วการประกันในชั้นอุทธรณ์หรือในชั้นฎีกาจะหาผู้ให้บริการทำงานค่อนข้างยากไม่เหมือนกับการประกันผู้ต้องหา ในศาลชั้นต้น และแน่นอนเมื่อต่อสู้กันหลายศาลก็จะตามมาซึ่งค่าใช้จ่าย ประเมินกำลังเงินกำลังทรัพย์ให้ดี

โทร 081 189 5861

ประกันตัวผู้ต้องหาต้องเตรียมการดีๆ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที