KC

ผู้เขียน : KC

อัพเดท: 01 ก.พ. 2007 12.46 น. บทความนี้มีผู้ชม: 200861 ครั้ง

โลกของเรากำลังป่วยไข้แล้วครับ ภูมิอากาศโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างรุนแรงและรวดเร็ว มนุษย์โลกจะำำแก้ไขสถานการณ์นี้ำำได้อย่างไร


ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ คุณคือพระเอกและผู้ร้าย

โลกที่เราอยู่ทุกวันนี้จะมีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่โลกอยู่ โดยมีส่วนประกอบของก๊าซไนโตรเจน (78%) ออกซิเจน (20.9%) และก๊าซอาร์กอน (0.93%) ตามสัดส่วนของปริมาตรของอากาศตามธรรมชาติ ก๊าซทั้งสามชนิดมีปฏิกิริยากับพลังงงานแสงอาทิตย์และความร้อนที่เกิดจากโลกน้อยมาก แต่มีก๊าซอยู่ประเภทหนึ่งได้แก่ ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ก๊าซมีเทน (CH4) ก๊าซไนตรัสออกไซด์ออกไซด์ (N2O) และก๊าซโอโซน (O3) มีคุณสมบัติในการกักเก็บและส่งผ่านรังสีความร้อนที่เกิดจากพลังงานแสงอาทิตย์และความร้อนที่เกิดขึ้นจากโลกออกสู่อวกาศ โดยก๊าซกลุ่มนี้ถูกเรียกว่าเป็น Greenhouse gas (GHG) หรือก๊าซเรือนกระจก เนื่องจากมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับการที่กระจกกักเก็บความร้อนจากแสงแดดไว้ภายในอากาศ โดยมีสัดส่วนน้อยกว่า 0.1% ของปริมาตรของอากาศตามธรรมชาติ ชั้นบรรยากาศที่ห่อหุ้มโลกอยู่นี้จะทำหน้าที่กักเก็บความร้อนส่วนหนึ่งไว้ไม่ให้ผ่านออกสู่อวกาศ ทำให้โลกมีอุณหภูมิที่เหมาะสมที่สิ่งมีชีวิตจะอาศัยอยู่ได้

18963_Figure 2 (a).jpg 

รูปที่ 2 (ก) ปรากฏการณ์ภาวะโลกร้อน
18963_Figure 2 (b).jpg
รูปที่ 2 (ข) ปรากฏการณ์ 
Greenhouse effect

 

นักวิทยาศาสตร์และนักอุตุนิยมวิทยาของโลกสงสัยมาเป็นเวลานานแล้วครับว่า อะไรเป็นสาเหตุที่ทำให้ภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลงกลับไปกลับมาระหว่างยุคน้ำแข็งที่โหดร้ายและยุคที่โลกอบอุ่นน่าอยู่เช่นที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน จากการศึกษาและวิจัยได้พบความสัมพันธ์ของปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) และอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลก โดยศึกษาจากแท่งน้ำแข็ง Vostok ice core ที่ขุดเจาะขึ้นมาจากทวีปแอนตาร์กติกา ได้พบว่าอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลก (รวมพื้นดินและมหาสมุทร) มีความสัมพันธ์กับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลก จากรูปกราฟในรูปที่ 3 เมื่อความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลกลดลง อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกจะลดลงตาม และเมื่อความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศของโลกเพิ่มขึ้น อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกจะเพิ่มขึ้นตาม ดังนั้นจึงสรุปได้ว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์มีอิทธิพลต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิเฉลี่ยของพื้นผิวโลก

 

18963_Figure 3.jpg
รูปที่
3: รูปกราฟแสดงความสัมพันธ์ของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์และอุณหภูมิเฉลี่ยของโลกจากการวิเคราะห์แท่งน้ำแข็ง Voltok ice core ที่ขุดเจาะจากทวีปแอนตาร์คติกา โดยทำการวิเคราะห์ฟองอากาศที่กักเก็บอยู่ในแท่งน้ำแข็งทำให้เข้าใจถึงปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ณ ช่วงเวลานั้นและอุณหภูมิขณะเกิดแท่งน้ำแข็ง

 

ในทศวรรษ 1890 มีนักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดนชื่อว่า Svante Arrhenius ได้ศึกษาถึงผลของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่มีอิทธิพลต่ออุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกในกรณีที่ลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศลงครึ่งหนึ่ง หลังจากคำนวณอย่างละเอียดเป็นเวลาหลายปี เขาก็ได้ข้อสรุปว่า ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกที่ลดลงครึ่งหนึ่งจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยพื้นผิวโลกลดลงถึง 5°C

                                                                          18963_Figure 4.jpg

รูปที่ 4 : นาย Svante Arrhenius นักวิทยาศาสตร์ชาวสวีเดน ผู้ศึกษาปรากฏการณ์ภาวะเรือนกระจกและภาวะโลกร้อน

 

แต่นาย Svante มีวิสัยทัศน์มากกว่านั้นครับ เขาพิจารณาว่าโลกได้เข้าสู่ช่วงเริ่มต้นของยุคอุตสาหกรรมแล้ว ในอนาคตปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศจะต้องเพิ่มขึ้นไม่ใช่ลดลงเนื่องจากการเผาไหม้ของถ่านหินและเชื้อเพลิงต่างๆ และจะต้องมีผลทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น เรียกปรากฏการณ์นี้ว่า Greenhouse effect นั่นเอง จากการคำนวณของเขาพบว่าถ้าความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศในขณะนั้นเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าจะทำให้อุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกเพิ่มสูงขึ้น 6°C โดยอ้างอิงจากอัตราการใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงในขณะนั้น (ลืมบอกไปครับ ในยุคนั้นยังไม่พบแหล่งน้ำมันดิบและก๊าซธรรมชาติ) ปรากฏการณ์ที่คาดคะเนนี้ต้องใช้เวลาถึง 2,000 ปี

 

ในช่วงก่อนยุคอุตสาหกรรมระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศวัดได้ประมาณ 280 ppmv ซึ่งเป็นระดับที่มีเสถียรภาพอยู่เป็นเวลานานหลายพันปี แต่เมื่อสิ้นปี ค.. 2004 ระดับความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยกาศได้เพิ่มขึ้นเป็น 375 ppmv หรือเพิ่มขึ้นถึงหนึ่งในสามของค่าก่อนยุคอุตสาหกรรม

 

และถ้าอัตราการเผาไหม้เชื้อเพลิงต่างๆซึ่งทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ยังเป็นไปตามการใช้งานในปัจจุบันต่อจากนี้ ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศที่เพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่าที่นาย Svante คาดการณ์ไว้จะเกิดขึ้นภายในเวลา 200 ปีเท่านั้นเร็วกว่าเดิมถึง 10 เท่า และถ้ารวมปัจจัยจากการเร่งพัฒนาความเจริญของประเทศต่างๆโดยวัดจากอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจหรือจีดีพีแล้วรวมถึงการเพิ่มขึ้นของประชากรเข้าไปด้วยจะทำให้ความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในชั้นบรรยากาศโลกเพิ่มขึ้นเถึง  3  เท่าของค่าก่อนยุคอุตสาหกรรมภายในค.. 2100 หรือประมาณ 100 ปีนับจากนี้  และถ้าปรากฏการณ์นี้เกิดขึ้นจริงอุณหภูมิเฉลี่ยของผิวโลกจะสูงขึ้นเป็นเท่าไร คิดกันบ้างมั้ยครับ

 

18963_Figure 5.jpg


รูปที่
5 : ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่ได้จากการตรวจวิเคราะห์แท่งน้ำแข็งและการวัดโดยตรงจากสถานีวัด Mauna Loa Observatory ที่ฮาวายตั้งแต่ปี ค.. 1958


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที