อ.สมิต

ผู้เขียน : อ.สมิต

อัพเดท: 07 ก.พ. 2007 09.38 น. บทความนี้มีผู้ชม: 160901 ครั้ง

ต้องมีอะไรบ้าง


เทคนิคการคัดเลือกบุคลากร ตอนที่ 3

การสัมภาษณ์แบบคณะกรรมการ

 

1.     จำนวนกรรมการสัมภาษณ์

โดยทั่วไปการสัมภาษณ์เป็นคณะ (Panel Interview)      จะมี

                คณะกรรมการ 3 คน แต่ก็เคยปรากฏว่ามีคณะกรรมการสัมภาษณ์จำนวน

5-7 คน จะเป็นจำนวนคู่หรือจำนวนคี่ก็ได้    หากมีจำนวนกรรมการมากเกินไปก็จะเกิดปัญหาการแย่งกันถาม           และใช้คำถามซ้ำๆ หรือใกล้เคียงกัน              รวมทั้งการพิจารณาตีความคำตอบก็จะใช้ดุลพินิจที่ตีความให้เห็นพ้องต้องกันได้ยาก

 

        2. องค์ประกอบของคณะกรรมการสัมภาษณ์

                        ในการสัมภาษณ์เพื่อคัดเลือกบุคคล จะพิจารณาแต่งตั้งกรรมการ

                จากผู้เป็นเจ้าของงานหรือ ตัวแทนของหน่วยงานสังกัดเป็นหลัก       และ

พิจารณาเลือกกรรมการจากหน่วยงานที่มีส่วนเกี่ยวข้อง  โดยตรงในการทำงานร่วมกันและต้องติดต่อประสานงานกันอย่างใกล้ชิด เข้าร่วมเป็นคณะกรรมการ

 

การเตรียมแผนการสัมภาษณ์

 

1.     พิจารณาข้อมูลเบื้องต้น 

เป็นการศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลจากใบสมัคร    ใบประวัติย่อ

และเอกสารประกอบการสมัครงานอื่นๆ เช่น ใบรับรองการทำงาน จาก

นายจ้างเดิม

 

2.     กำหนดเรื่องที่ต้องการรู้

เป็นการกำหนดขอบเขตที่มีวัตถุประสงค์จะได้คำตอบเพื่อให้ได้

สามารถนำมาพิจารณาคุณสมบัติของผู้สมัครงานโดยละเอียด

 

                3.  กำหนดจุดมุ่งหมายของคำถาม

                                เป็นการกำหนดสิ่งที่เจาะจง ไว้ในคำถามเพื่อให้ได้ข้อมูลที่

                เฉพาะอันจะเป็นประโยชน์ ในการประเมินผลเพื่อคัดเลือกบุคคล

 

4. สร้างคำถามเพื่อให้ได้คำตอบที่จะใช้พิจารณา

            เป็นการเตรียมคำถามที่วางแผนไว้แล้ว (Planned Question) ว่าจะช่วยให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสิ่งใดบ้าง โดยเฉพาะไม่กำหนดไว้กว้างๆ ว่าจะถามอะไรแต่เขียนเป็นคำถามไว้อย่างชัดเจน

 

การสัมภาษณ์เพื่อวัตถุประสงค์เฉพาะ

 

1.      Competency – based Interview  เป็นการสัมภาษณ์โดยมุ่งถึงการ

ใช้ความสามารถซึ่งกำหนดไว้ในตำแหน่งงานว่าผู้ซึ่ง จะมาดำรงตำแหน่ง (Job Holder) จะต้องมีขีดความสามารถในเรื่องใดอย่างไร หากผู้สมัครงานไม่มีขีดความสามารถตามที่กำหนด หรือมีขีดความสามารถไม่เพียงพอก็จะไม่รับเข้าทำงาน ผู้สัมภาษณ์บางคนใช้เป็นการสัมภาษณ์แบบคำถามเดียวรู้ผลเลย (Knock-out Question)

 

2.      Behavior-based Interview      เป็นการสัมภาษณ์โดยมุ่งถึงการใช้

พฤติกรรมเป็นตัวชี้วัด (Indicator) หากผู้สมัครงานมีพฤติกรรมตรงตามที่กำหนดไว้ก็จะพิจารณารับเข้าทำงาน หากมีพฤติกรรมไม่ตรงหรือขัดแย้งกับพฤติกรรมที่กำหนดไว้ก็จะไม่รับเข้าทำงาน พฤติกรรมที่จะใช้เป็นดัชนี้วัดมีมาก แต่จะต้องรู้จักเลือกใช้ให้ถูกต้องและเหมาะสม มิฉะนั้นอาจจะเกิดผลเสียในการคัดเลือกได้ เพราะจะทำให้พลาดในการ ไปรับผู้ซึ่งไม่มีความรู้และความสามารถตรงกับตำแหน่งงาน

 เตรียมพบกับตอนที่สี่ครับ เรื่อง เทคนิคการตั้งคำถาม


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที