GIT Information Center

ผู้เขียน : GIT Information Center

อัพเดท: 20 มี.ค. 2017 10.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 1534 ครั้ง

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2017 เป็นต้นไป อินเดียได้กำหนดให้เครื่องประดับทองที่ระดับความบริสุทธิ์ต่างๆ โดยเฉพาะทองคำ 14K, 18K และ 22K จะต้องได้รับการประทับตราตามมาตรฐานของ Bureau of Indian Standards (BIS) ติดตามบทความฉบับเต็มได้ที่ https://goo.gl/UIx9ry หรือบทความอื่นๆ ที่ http://infocenter.git.or.th


มาตรฐานการประทับตราทองคำฉบับปรับปรุงใหม่ของอินเดีย

ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2017 เป็นต้นไป อินเดียได้กำหนดให้เครื่องประดับทองที่ระดับความบริสุทธิ์ต่างๆ โดยเฉพาะทองคำ 14K, 18K และ 22K จะต้องได้รับการประทับตราตามมาตรฐานของ Bureau of Indian Standards (BIS)
 
 
สัญลักษณ์การประทับตราเครื่องประดับทองคำรูปแบบเดิม
 
ทั้งนี้ BIS ได้ปรับปรุงมาตรฐานการประทับตราทองคำโดยเริ่มดำเนินการบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคมปีนี้ ตามมาตรฐานที่ปรับปรุงใหม่นั้น เครื่องประดับทองที่ประทับตราจะได้รับการจัดเกรดให้เป็นทอง 14K, 18K และ 22K ซึ่งบ่งบอกถึงความบริสุทธิ์และคุณภาพของทองคำ นอกจากการระบุค่าความบริสุทธิ์ของทองคำตามไฟน์เนส (Fineness) แล้ว ยังมีการระบุเลขกะรัตไว้บนเครื่องประดับด้วย  ตัวอย่างเช่น เครื่องประดับทอง 22K จะได้รับการประทับตรา 22K พร้อมกับเลข 916 รวมเป็น 22K916 จากเดิมที่ระบุเพียง 916 เท่านั้น ส่วนเครื่องประดับทอง 18K และ 14K จะระบุเป็น 18K750 และ 14K585 ตามลำดับ
 
การประทับตราเครื่องประดับทองคำจะระบุสัญลักษณ์ทั้งหมดสี่แบบ ได้แก่ ตรา BIS (BIS Standard Mark) ความบริสุทธิ์ในรูปแบบกะรัตและไฟน์เนส (Purity in Carat and Fineness) ตราระบุแหล่งที่ทำการทดสอบ (The Assaying Centre’s Identification Mark) และตราระบุตัวผู้ผลิตเครื่องประดับ (The Jeweller’s Identification Mark)
 
“ทองคำและทองคำผสมจะได้รับการจัดประเภทตามไฟน์เนสให้เป็นเกรด 22, 18 และ 14K การจัดประเภทเหล่านี้ใช้ได้กับเครื่องประดับทอง รวมถึงวัตถุที่ทำด้วยทองคำหรือเครื่องทอง ในการผลิตเครื่องประดับทอง และวัตถุที่ทำด้วยทองคำ รวมถึงทองคำบัดกรีนั้น อนุญาตให้มีแคดเมียมและโลหะกลุ่มแพลทินัมแต่ละชนิดในปริมาณสูงสุดที่ร้อยละ 0.02 และร้อยละ 0.05 ตามลำดับ” ข้อมูลดังกล่าวได้รับการระบุไว้ในเอกสารแนวทางของ BIS ที่ได้รับการปรับปรุงใหม่และส่งให้สมาชิกผู้ผลิตเครื่องประดับและสมาคมต่างๆ ทั่วประเทศอินเดีย
 
ฉะนั้น ผู้ประกอบการไทยที่ส่งออกเครื่องประดับทองเพื่อจัดจำหน่ายในตลาดอินเดียคงต้องศึกษามาตรฐานการประทับตราเครื่องประดับทองฉบับปรับปรุงใหม่นี้ เพื่อปรับมาตรฐานความบริสุทธิ์ของทองคำหรือส่วนผสมในเครื่องประดับทอง รวมถึงรูปแบบการประทับตราให้ถูกต้อง ตามมาตรฐานดังกล่าว
 
------------------------------------------
ข้อมูลอ้างอิง
1) “Revised hallmark standards on gold.” INDIAN JEWELLER. (December 2016-January 2017: p. 108).
2) “BIS revises standards on gold hallmarking, effective from January 1.” Available from http://www.newindianexpress.com (Published: 9th January 2017)
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที