ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2015 03.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63840 ครั้ง

Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ได้ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาว่า เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรีทาง http://www.juse.or.jp และทางสมาคมฯ ได้คัดบทความบางส่วนมาแปลเป็นภาษาไทยและเผยแพร่ใน Website ของสมาคมฯ ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านและดาวน์โหลดเอกสารฟรีได้ที่ http://www.tpa.or.th


บทที่ 11 : กิจกรรมระหว่างประเทศของ ดร.อิชิกาวา (Dr. Ishikawa’s International Activities)

ศาสตราจารย์คะโอรุ อิชิกาวา ได้สร้างคุณประโยชน์ที่มีคุณค่าระหว่างประเทศ และ สร้างการพัฒนาที่สำคัญให้แก่การควบคุมคุณภาพ

ในปี 1958  ดร.อิชิกาวา ได้เข้าร่วม QC Study Mission ที่จัดโดย Japan Productivity Center ไปสหรัฐอเมริกา ซึ่ง ท่านได้มีการแลกเปลี่ยนทางเทคนิคในเรื่องการควบคุมคุณภาพกับพันธมิตรอเมริกา  จากการเริ่มเต้นจาก mission นี้ ท่านได้อุทิศตัวท่านในความร่วมมือระหว่างประเทศ โดยเข้าร่วมการประชุมวิชาการ QC ในหลายๆ ประเทศ

ตั้งแต่ปี 1959 เป็นต้นมา ท่านได้ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าบรรณาธิการ  Reports of Statistical Application Research, JUSE วารสารภาษาอังกฤษที่ตีพิมพ์โดย JUSE  ดร.อิชิกาวา ได้ทำงานอย่างหนัก เพื่อ แนะนำการปฏิบัติและ การวิจัย Japanese total quality control ให้แก่โลก

ตั้งแต่ปี 1966 ถึง 1969  ท่านได้เข้าร่วม Six-Man-Board ซึ่งเป็นตัวแทนของญี่ปุ่น ในการเตรียมตัวก่อตั้ง International Academy for Quality โดยมีวัตถุประสงค์ในการสร้างความเป็นสากลของการควบคุมคุณภาพ   ในปี 1969 IAQ (International Academy of Quality) ได้ก่อตั้งขึ้น ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญที่ได้รับการรับรองเรื่อง QC จากทั่วโลก  ในองค์การนี้ ดร.อิชิกาวา ได้ทำหน้าที่ เป็นประธานกรรมการบริหารตั้งแต่ปี 1981 จนถึงปี 1983 และเป็นประธานขององค์การ ตั้งแต่ปี 1984 ถึง 1986

เพื่อการจัด การประชุมวิชาการนานาชาติเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ ครั้งแรกของโลกที่โตเกียวในปี 1969  ท่านได้ทุ่มเทอย่างมาก ในฐานะ รองประธานของ คณะกรรมการเทคนิค ที่มีหน้าที่นำการประชุมวิชาการนี้ ให้ประสบความสำเร็จ  ดังนั้น ท่านจึงปฏิบัติหน้าที่ประธานของคณะกรรมการโปรแกรม ของการประชุมวิชาการนี้ ที่จัดขึ้นในญี่ปุ่นทุกๆ 9 ปี คือ ในปี 1978 และ 1987 ตามลำดับ

นอกจากการทำคุณประโยชน์ของท่านในการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพแล้ว  ความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ของดร. อิชิกาวา ก็คือการนำเอาการควบคุมคุณภาพไปสู่ประเทศที่กำลังพัฒนาทั้งหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ท่านได้ในส่วนร่วมในโปรแกรมการศึกษาที่สถาบันความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น  เช่น Asian Productivity Organization (APO),  Japan International Cooperation Agency (JICA), Association for Overseas Technical Scholarship(AOTS) และ  Japan-China Economic Association ซึ่งท่านได้ทำหน้าที่เป็นประธานประสานงานโปรแกรม หรือเป็นวิทยากร ในหลายๆ สัมมนา เกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ สำหรับ มืออาชีพจากประเทศกำลังพัมนาทั้งหลาย  ท่านยังเดินทางไปต่างประเทศเพื่อการบรรยายและ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ

จำนวนประเทศที่ดร.อิชิกาวา ได้ไปเยี่ยมนั้น มีจำนวนถึง 32 ประเทศ โดยไปบรรยาย เข้าร่วมสัมมนาวิชาการ ให้คำแนะนำ หรือการวิจัย  โดยสามารถแบ่งออกเป็น 11 ประเทศในอาเซีย-แปซิฟิค  2 ประเทศในอเมริกาเหนือ 14 ประเทศในยุโรป  ออสเตรเลีย และ อัฟริกาใต้  รวมจำนวนครั้งทั้งสิ้น 143 ครั้ง

ผังพาเลโตของจำนวนครั้งในต่างประเทศของดร.อิชิกาวา
ภาพ 11.1  ผังพาเลโตของจำนวนครั้งในต่างประเทศของดร.อิชิกาวา

 

ดร.อิชิกาวา ยังได้ทำหน้าที่ เป็น ประธานของ Enterprise Management working Group ใน Japan-China Economic Association ตั้งแต่ปี 1978 จนถึงวันสุดท้ายของท่าน ในฐานะ กรรมการพิจารณา Association for Overseas Technical Scholarship ในฐานะประธานกรรมการบริหาร ตั้งแต่ปี 1978 และ เป็นประธานองค์การ ตั้งแต่ปี 1988 ใน Japan China Industry and Culture Center (เปลี่ยนเป็น Japan China Science, Technology and Culture Center ตั้งแต่ปี 1988)  ตามลำดับ

จากความพยายามทั้งหมดของท่านนั้น American Society for Quality Control* ได้มอบรางวัล Eugene L. Grant Medal  แก่ดร.อิชิกาวา ในปี 1972 สำหรับการทำประโยชน์ของท่านในการศึกษา และ การเผยแพร่การควบคุมคุณภาพ  นอกจากนี้ ยังได้มอบ Shewhart Medal สำหรับการทำคุณประโยชน์ที่โดดเด่นของท่าน ในการสร้างความก้าวหน้าให้แก่การควบคุมคุณภาพในปี 1983   ท่านเป็นคนที่ไม่ใช่คนสัญชาติสหรัฐอเมริกาคนแรกที่ได้รับเลือกเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของ American Society for Quality Control  ในปี 1986   ดร.อิชิกาวา ยังได้รับ First international Prize จาก Asia-Pacific Quality Organization ในปี 1985 สำหรับ การทำคุณประโยชน์ระหว่างประเทศ  ต่อ การพัฒนาของการควบคุมคุณภาพ

*ASQC ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น ASQ ตั้งแต่ปี 1997

Eugene L. Grant Award, Shewhart Medal
Eugene L. Grant Award               Shewhart Medal

 

ดร.อิชิกาวา ได้รับเลือก เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ ในสถาบันต่อไปนี้  Association Society for Quality Control (ASQC),  Philippine Society for Quality,  Argentine Society for Quality,   Brazilian Society for Quality Control  และ   Columbian Society for Quality    ท่านยังได้เป็น ประธานกิตติมศักดิ์ของ China Quality Control Association และ Brazilian Society for Quality Control  เป็น ประธานกิตติมศักดิ์ที่ British Society for Quality Circle  ดังได้กล่าวมาแล้ว ดร.อิชิกาวา ยังเป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์ของ ASQC ที่มิได้มีสัญชาติสหรัฐอเมริกาเพียงคนเดียว

 

11.1 เรียนรู้จากต่างประเทศ (Learning from Aboard)

(1)  Quality Control Study Mission  โดย Japan Productivity Center ไปสหรัฐอเมริกา เพื่อแสวงหาโลกาภิวัฒน์  (Quality Control Study Mission by Japan Productivity Center to the U.S. Foresight for Globalization)

เริ่มแรกของการแนะนำการปฏิบัติ QC แบบญี่ปุ่น สู่ภายนอกประเทศนั้น เริ่มขึ้นในปี 1958 เมื่อ ดร.อิชิกาวา เดินทางไปสหรัฐอเมริกา ในฐานะของ สมาชิก QC Study Mission โดย Japan Productivity Center  คณะที่เดินทางไปญี่ปุ่นครั้งนี้ ประกอบด้วยบุคคลที่ภายหลังได้กลายเป็นผู้นำของ TQC ญี่ปุ่น เช่น คุณ Noboru  Yamaguchi (หัวหน้าคณะ)  ดร. Hajime Karatsu,  คุณ Eizo Watanabe,  คุณ  Masao Ina  รวมทั้ง ดร. อิชิกาวา    รายงานของคณะนี้ หรือ Quality Control in America (ดูเนื้อหาที่ท้ายของเอกสาร [B3])   เป็นงานที่มีคุณค่าที่ได้รับการอ้างอิงเหมือน ไบเบิ้ลของ QC  รายงานนี้ ได้พูดถึงการอภิรายอย่างต่อเนื่อง เกี่ยวกับ “Organization and Operation of QC (องค์กร และ การปฏิบัติการ QC)”   “Design of Quality (การออกแบบคุณภาพ)”   “Vendor –Vendee Relations (ความสัมพันธ์ของ ผู้ซื้อกับผู้ขาย)”  “Reliability (ความเชื่อมั่น)”  และอื่นๆ   หนึ่งในคุณลักษณะพิเศษของรายงานนี้ ก็คือ   คณะนี้ ไม่ได้เพียงรายงานกรณีศึกษาจริงของอเมริกา แต่ให้ความเห็นตรงๆ ต่อบางอย่างซึ่งสหรัฐอเมริกาที่ยังอยู่หลังญี่ปุ่น เช่น การตรวจสอบทางเศรษฐกิจ

Japanese Productivity Center’s QC Study Mission ในสหรัฐเมริกา ที่ โรงงาน Allentown Plant ของ Western Electric  ถ่ายเมื่อปี 1965  ดร.อิชิกาวา เป็นรองหัวหน้าคณะ
Japanese Productivity Center’s QC Study Mission ในสหรัฐเมริกา ที่ โรงงาน Allentown Plant ของ Western Electric  ถ่ายเมื่อปี 1965  ดร.อิชิกาวา เป็นรองหัวหน้าคณะ     แถวหน้า จากซ้าย Kazuo Maki, Noboru  Yamaguchi (หัวหน้าคณะ), Dr.Ishikawa,  Masao  Sasaki, Eizo Watanabe,      แถวที่สองจากซ้าย  Hajime Karatsu,  Toshio Mino,  Masao Ina, Kouichi Yamamoto และ  Sadao  Okada

 

นอกจากนี้  ในแต่ละ Chapter จะประกอบด้วย หัวข้อที่มีชื่อว่า  “Recommendation (ข้อเสนอแนะ)” ซึ่งสมาชิกคณะจะเขียนข้อเสนอแนะแก่ญี่ปุ่น ในเรื่องเกี่ยวกับการควบคุมคุณภาพ  บางข้อเสนอแนะนั้น ยังใช้ได้ถึงปัจจุบัน

รายงานที่เน้นเรื่อง QC ในญี่ปุ่น  และอยู่บนพื้นฐานของการศึกษาเปรียบเทียบทางวัฒนธรรมในสหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น อธิบายความแตกต่างอย่างชัดเจนว่าควรเรียนอะไร และไม่ควรทำอะไร “ตามที่มันควรเป็น”  การค้นพบเหล่านี้ สอดคล้องกับความคิด ทัศนะคติต่อชีวิต และ วิถี การวิจัย ของ ดร.อิชิกาวา  มันคงไม่เป็นการพูดเกินความจริงที่ว่า ทัศนะของท่านเกี่ยวกับโลกาภิวัฒน์  และการปฏิบัติการควบคุมคุณภาพภายนอกญี่ปุ่น  โดยเฉพาะนั้น  ได้รับการจัดรูปร่างจนสมบูรณ์ด้วยตัวท่านเอง ตั้งแต่ในช่วงเวลานั้น

หลังจากนี้ ดร.อิชิกาวา ยัง เร่งรัดการแนะนำ และเผยแพร่ขยาย วิธีญี่ปุ่นของ QC หรือ TQC ไปสู่ต่างประเทศ ในโอกาสที่เหมาะสม เช่น ASQC convention (1965,  [35])  และ EOQC convention  ในปี 1966

ในปลายทศวรรษ 1970 เมื่อ TQC แบบญี่ปุ่น ได้รับความสนใจจากต่างประเทศนอกญี่ปุ่น  ในเวลาเดียวกัน คนญี่ปุ่น ได้เริ่มอภิปรายถึงความต้องการของโลกาภิวัฒน์ ของธุรกิจ   เมื่อข้าพเจ้าพิจารณาความเป็นจริงเหล่านี้ ดร.อิชิกาวา ได้ปฏิบัติโลกาภิวัฒน์ของ TQC แบบญี่ปุ่น มาแล้วมากกว่า 10 ปี ก่อนทศวรรษ 1970 เสียออก    สิ่งนี้แสดงถึงการมองการณ์ไกลที่น่าประหลาดใจของท่าน

แท้จริงแล้ว ในช่วงเริ่มต้น ท่านดูเหมือนที่จะโฆษณาคุณภาพที่สูงของ ผลิตภัณฑ์ที่ผลิตในญี่ปุ่น ผ่านการควบคุมคุณภาพ  เพื่อสนับสนุนการเพิ่มขึ้นของการส่งออก  อย่างไรก็ตาม หลังจากที่บริษัทญี่ปุ่นขยายกิจการไปต่างประเทศ พวกเขาร้องขอเรื่องการบริหารธุรกิจที่รวมถึง QC ที่มีลักษณะเหมาะสมกับสภาพการณ์ท้องถิ่น  ดังนั้น ดร.อิชิกาวา จึงเริ่มต้น การสั่งสอนว่า TQC ควรจะมีความเป็นโลกาภิวัฒน์ได้แล้ว  จากนั้น ท่านได้ประสบความสำเร็จในการถ่ายทอด TQC แบบญี่ปุ่น ไปยังบริษัทที่ไม่ใช่ญี่ปุ่น ซึ่งในอดีตท่านเคยหลีกเลี่ยง เพราะเป็นงานที่ยากที่สุด  ดร.อิชิกาวา เป็นผู้บุกเบิกในการสร้างโลกาภิวัฒน์ เพื่อการยกระดับประเทศอื่น โดยการ ถ่ายทอด TQC แบบญี่ปุ่นอย่างแท้จริง

ดร.อิชิกาวา ยังมีจิตวิญญาณการเป็นผู้บุกเบิก ซึ่งสามารถเห็นได้ในการทำให้โลกาภิวัฒน์ ของ TQC แบบญี่ปุ่น เกิดขึ้นเป็นจริง  โดยที่ท่าน ก้าวล้ำหน้าไปโดยการยอมรับบทบาทและภาระงานของบริษัทธุรกิจ  และท่านได้ทำในสิ่งที่ท่านต้องทำ

(Hiroshi  Osada)


ส.ส.ท. ได้รับอนุญาตจาก JUSE ในการแปลและเผยแพร่บทความเรื่อง  “Kaoru Ishikawa, The Man and Quality Control”


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที