ทีมงาน

ผู้เขียน : ทีมงาน

อัพเดท: 22 ธ.ค. 2015 03.58 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63675 ครั้ง

Union of Japanese Scientists and Engineers (JUSE) ได้ทำการรวบรวมชีวประวัติของท่าน ศาสตราจารย์ ดร.คาโอรุ อิชิกาว่า เป็นบทความภาษาญี่ปุ่นและภาษาอังกฤษ ผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดเอกสารได้ฟรีทาง http://www.juse.or.jp และทางสมาคมฯ ได้คัดบทความบางส่วนมาแปลเป็นภาษาไทยและเผยแพร่ใน Website ของสมาคมฯ ซึ่งท่านสามารถติดตามอ่านและดาวน์โหลดเอกสารฟรีได้ที่ http://www.tpa.or.th


บทที่ 15 : งานวิจัยของ ดร.อิชิกาวา (The Research of Dr. Ishikawa) - 15.7 ถ่ายทอด TQC ไปสู่ต่างประเทศ (Transfer of TQC to Overseas)

ในปัจจุบัน ในโลกแห่งโลกาภิวัฒน์  เราได้เห็นความสำคัญที่เพิ่มขึ้นของการแลกเปลี่ยนเทคโนโลยี และการถ่ายทอดเทคโนโลยีจากญี่ปุ่นสู่ประเทศอื่นๆ  ดร.อิชิกาวาคิดว่า การกระจาย TQC แบบญี่ปุ่น ไปสู่ต่างประเทศนั้น เป็นการถ่ายทอดเทคโนโลยีการบริหารอ อย่างหนึ่ง  นอกจากนี้ ท่านยังได้กำหนด criteria ต่อไปนี้ เป็นตัวชี้วัดความสำเร็จของการถ่ายทอด ซึ่งเราเรียกกันว่า QC style

  1. การควบคุมคุณภาพ และ การลดต้นทุนที่เป็นผลลัพธ์ที่ตามมา สามารถบรรลุได้ด้วยตัวของมันเอง
  2. ผลิตภัณฑ์ใหม่สามารถพัฒนาได้ด้วยตัวของมันเอง

นอกจากนั้น ท่านยังได้สอนไว้เกี่ยวกับความสำคัญของการเพิ่มขึ้นของ จำนวน ผู้สอน QC ซึ่งสามารถเห็น และปฏิบัติจากมุมมองของบุคคลอื่น  สิ่งนี้เป็นข้อสังเกตที่เหมาะกับเวลาและสำคัญในการประชุมเกี่ยวกับ การทำคุณประโยชน์ต่อโลกของญีปุ่น  มันเป็นเรื่องที่น่าแปลกที่ว่า ท่านได้ให้ข้อสังเกตนี้ไว้แล้วเมื่อ 10 ปีก่อนนั้น

ประเด็นสำคัญในทฤษฎีของท่านเกี่ยวกับการถ่ายทอด TQC ไปสู่ต่างประเทศคือ “อย่าถ่ายทอด TQC โดยตรงไปที่ที่มีพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน  เพราะว่า TQC นั้น ต้องการเทคนิคการบริหาร  และแตกต่างจากวิทยาศาสตร์อื่นๆ  จะต้องเกี่ยวข้องกับคน เพื่อที่จะสามารถปฏิบัติได้อย่างถูกต้อง  เพราะว่า การควบคุมคุณภาพแบบญี่ปุ่น ได้นำเข้ามาในวัฒนธรรม และสังคมของญี่ปุ่น  TQC ในประเทศใดประเทศหนึ่ง จะต้องนำไปปฏิบัติ ในวิถีของประเทศนั้นๆ  ดังนั้น ท่านได้ให้คำจำกัดความ 14 ประเด็น ถึงความแตกต่างของ ญี่ปุ่น และประเทศตะวันตก

 

ตาราง 15.4  ความแตกต่างของพื้นฐานทางสังคม 14 ประเด็น (1985, [285])

  1. ในประเทศตะวันตก ให้การเน้นอย่างมาก เกี่ยวกับความเป็นมืออาชีพ และ การสร้างความพิเศษ  “QC สำหรับ ผู้เชี่ยวชาญ QC เท่านั้น”

  2. สหภาพแรงงานคือ สหภาพกลุ่มทางการค้า(trade unions) ในประเทศตะวันตก และ สหภาพ ทั่วทั้งองค์กร ในญีปุ่น

  3. มีจิตสำนึกความเป็นปัญญาชนและ ชนชั้น ในกลุ่มผู้จบมหาวิทยาลัย

  4. ในประเทศตะวันตก ให้การเน้นอย่างมากในวิธีการของเทเลอร์ (Taylor Method)

  5. ระบบค่าจ้าง  ระบบจ่ายตามผลงาน(เร่งเร้าคนด้วยเงินอย่างเดียว) กับ ระบบจ่ายตามระบบอาวุโส

  6. ในประเทศตะวันตก พนักงานเข้าออกและการปลดสูง ในขณะที่ญี่ปุ่น เป็นแบบจ้างงานตลอดชีพ

  7. องค์กร  ญี่ปุ่นเป็นสังคมระดับชั้น และแนวตั้ง แยกตามหน่วยงาน  แนวโน้มนี้มีสูงในญี่ปุ่น

  8. ศาสนา  คริสตศาสนา  พุทธศาสนา ขงจื้อ  มีทฤษฎี คนเกิดมาดีโดยธรรมชาติ และ เกิดมาชั่วโดยธรรมชาติ

  9. ความเชี่ยวชาญ คนใช้ตัวหนังสือจีนโดยทั่วไปจะมีความสนใจในการศึกษามากกว่า

  10. การศึกษา ในญี่ปุ่นมีการศึกษาทั่วไป และ การศึกษา QC  ในประเทศตะวันตก มีแต่ฝึกอบรม

  11. ประเทศที่มีชนชาติเดียว กับประเทศที่มีหลายชนชาติ

  12. ความสัมพันธ์ของ ผู้ซื้อกับผู้ขาย –  เราหรือ เขา เชื่อหรือไม่เชื่อ   พัฒนาsupplier ในฐานะบริษัทในกลุ่ม หรือ  ถือว่าเป็นเพียง หนึ่ง supplier เท่านั้น  อัตรา oursourcing  นั้น สหรัฐอเมริกา เป็น 50% ขณะที่ ญี่ปุ่นเป็น 70 %

  13. ลัทธิทุนนิยมแบบเดิม กับลัทธิทุนนิยมประชาธิปไตย –มีเจ้าของหรือไม่มี  มุ่งที่กำไรระยะสั้น หรือ กำไรระยะยาว

  1. บทบาทของภาครัฐ  ควบคุม กระตุ้น  อิสระ แข่งขัน

 

14 ประเด็นข้างต้น จะเป็นประโยชน์เหมือน checklist  ในการถ่ายทอด TQC สู่ต่างประเทศ

(Hiroshi Osada)


ส.ส.ท. ได้รับอนุญาตจาก JUSE ในการแปลและเผยแพร่บทความเรื่อง  “Kaoru Ishikawa, The Man and Quality Control”



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที