ISD-Training

ผู้เขียน : ISD-Training

อัพเดท: 08 ธ.ค. 2015 17.22 น. บทความนี้มีผู้ชม: 41480 ครั้ง

อยากรู้เรื่องเกี่ยวกับคลังสินค้า สินค้าคงคลัง ขนส่งในประเทศ ต่างประเทศ ที่นี่ มีคำตอบ

ลอจิสติกส์ ไม่ใช่เรื่องใหม่ แต่ก็ไม่เก่า ตราบใดที่ ในตลาดยังมีสินค้าขาย ตราบนั้น คุณมีต้นทุนด้านลอจิกติกส์ในสิค้าของคุณทั้งสิ้น

หากไม่ต้องการให้มีเงินจมไปกับสินค้าที่สั่งมาเตรียมขาย
หากไม่ต้องการส่งของให้ลูกค้าช้า
หากว่าไม่อยากมีของล้นสต๊อค

คุณต้องจัดการระบบลอจิสติกส์ให้ดี

แล้วคุณจะมีเงินเพิ่มขึ้นอีกมาก


==แบไต๋ 8 เรื่องง่ายในการจัดการสินค้าคงคลัง ตอนที่ 1==

 

==แบไต๋ 8 เรื่องง่ายในการจัดการสินค้าคงคลัง ตอนที่ 1==

แน่นอนว่าการมีโปรแกรมช่วยในการจัดการสินค้าคงคลัง จะเป็นเรื่องง่ายที่ช่วยคุณอย่างมาก แต่ถ้าไม่มีสิ่งเหล่านี้ ต่อให้คุณเป็นผู้บริหารระดับเทพแค่ไหน คุณก็ปวดกบาลได้เหมือนกัน

เรื่องง่าย ๆ ที่ผู้ชายไม่รู้ เอ๊ย เรื่องง่าย ๆ ที่ใคร ๆ ก็ต้องรู้

การจัดการสินค้าคงคลังระดับเทพ อย่างน้อย ต้องประกอบไปด้วยสิ่งเหล่านี้

1. **การจัดกลุ่มสินค้า**

ของในคลัง ต้องแบ่งสัดส่วนเป็นกลุ่มเป็นก้อนให้ชัดเจนและเข้าถึงง่าย พนักงานคลังควรรู้ว่าอะไรอยู่ตรงไหน เดินไปตรงจุดที่จะหยิบสินค้าได้ถูกต้อง สินค้าประเภทวัตถุอันตราย ประเภทขนาดใหญ่มาก หรือแยกแยะตามชนิดการใช้งานที่ต่างกัน มีป้ายระบุชื่อ-ที่อยู่ให้ดี ก็เหมือนช้อปปิ้งในซุปเปอร์มาร์เกตแหละ ป้ายสินค้า ป้ายราคา ต้องมีติด พื้นที่ไหนว่าง ก็ละเลยไม่ได้ ควรต้องทำป้ายระบุว่า เป็นพื้นที่สำหรับวางอะไร หากไม่ทำป้ายบอกไว้ แม่บ้านอาจเอาไม้กวาด ถังขยะมาวาง หรือพนักงานในคลังเอง มักง่าย เอาอุปกรณ์ที่ไม่ได้ใช้ มาวางระเกะระกะไปหมด ดูไม่มืออาชีพเอาซะเลย

2. **ป้ายระบุสถานที่เก็บ**

บนป้ายระบุสถานที่เก็บ ต้องเขียนด้วยตัวอักษรที่ใคร ๆ ก็อ่านได้ง่าย ความเป็นศิลปินออกแบบตัวอักษร อย่าเอามาใช้ นอกจากนั้น ก็ต้องระบุพิกัดให้ชัดเจนด้วยว่าอยู่แถวไหน ชั้นไหน เช่น A-1-1 หมายถึง แถว A ชั้น 1 ช่อง 1 เป็นต้น
ที่สำคัญ วาดรูปลูกศรชี้ไปตรงสินค้าที่เก็บ จะทำให้มีการตรวจสอบและหยิบสินค้าได้ถูกมากขึ้น

3. **คำอธิบายสินค้า**

สินค้าที่หลากหลายในคลังสินค้า อาจทำให้คนทำงานสับสน บางอย่างก็แตกต่างชัดเจนในเรื่องขนาด บางอย่างก็ใกล้เคียงกันเหลือเกิน แยกแยะไม่ค่อยได้ในเวลาอันจำกัด ซึ่งทำให้หยิบสินค้ามาผิด แล้วต้องเสียเวลากลับไปหยิบใหม่ ถ้ารู้ตัว แต่ถ้าไม่รู้ตัว สินค้าผิด ๆ นั้น ก็จะถูกส่งออกไปให้ลูกค้าแล้วความโชคร้ายก็จะมาเยือนทันที โดนด่ากันระนาวตั้งแต่ผู้บริหารยันพนักงานหยิบของ
ดังนั้น บนสินค้าแต่ละชนิดต้องจำแนกแจกแจงให้ชัดเจนถึงความแตกต่างจากสินค้าตัวอื่น เช่นสินค้าประเภทเดียวกัน แต่สีต่างกัน ขนาดต่างกัน ก็ต้องระบุสีและขนาดด้วย หากรอบการสั่งซื้อมีผลต่อการขายสินค้า ก็ต้องระบุวันที่สั่งซื้อ

4. **รหัสสินค้า**

นักเรียนทุกคน เมื่ออยู่ในโรงเรียน จะมีรหัสนักเรียน หนังสือทุกเล่มในห้องสมุด ก็จะมีรหัสหนังสือ สินค้าก็เช่นกัน เมื่อมารวมกันมาก ๆ ควรจะมีรหัสเป็นของตัวเอง เวลาค้นหา จะได้ทำได้ง่าย ค้นแล้ว เจอเลย ความยาวของรหัสสินค้า ไม่ควรเกิน 5-6 ตัว เช่น สอน123 สอน124 สอน125

พรุ่งนี้จะมาต่ออีก 4 เรื่องง่าย ๆ แต่สำคัญมาก

ติดตามตอนต่อไปได้ที่นี่

กับ กูรู้ กูรู ลอจิสติกส์

https://www.facebook.com/LogisticsGooRoo

ขอบคุณข้อมูลจาก http://www.clearlyinventory.com

แปลโดย อ.อินทิรา สิทธิเวช


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที