นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 503433 ครั้ง


วิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาพื้นฐานของความรู้ในทางวิทยาศาสตร์มากมายหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น นักวิทยาศาสตร์, วิศวกร, แพทย์, ทหาร ฯลฯ
หนังสือเล่มนี้ จะกล่าวถึง 6 ภาคหลัก ๆ ได้แก่
1. กลศาสตร์คลาสสิก
2. ทฤษฏีสัมพันธภาพ
3. อุณหพลศาสตร์
4. แม่เหล็กไฟฟ้า
5. แสง
6. กลศาสตร์ควอนตัม

ส่วนในตอนท้ายจะกล่าวถึง ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา นั่นก็คือมิลินทปัญหา (ฉบับธรรมทาน) เพื่อให้นอกจากจะมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ก็ยังมีความรู้ในทางปรัชญา ศาสนา ใช้เป็นแนวคิดของชีวิตได้ด้วย เพือเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจ
วัตถุประสงค์ที่ทำมาให้อ่านก็เพื่อความรู้ และที่สำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศพัฒนาแล้ว


ตอนนี้ยังเขียนไม่เสร็จ มีจำนวนเยอะมาก อีกทั้งยังต้องขัดเกลาให้อ่านได้ง่าย และมีงานที่ต้องรับผิดชอบด้วย จะพยายามเขียนให้อ่านกันเร็ว ๆ นะ แล้วเราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน
www.thummech.com


6 แบบจำลอง, อนุภาคควาร์ก / จุดประสงค์ของการบวช

รูป เจ เจ ทอมสัน (พ.ศ. 2408-2483)

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      ในปี พ.ศ. 2440 เจ เจ ทอมสัน (J.J. Thomson) ระบุว่าอิเล็กตรอนเป็นอนุภาคที่มีประจุ และเป็นส่วนประกอบของอะตอม นี้นำไปสู่แบบจำลองอะตอมแบบแรกที่มีอยู่โครงสร้างภายใน เราจะกล่าวรายละเอียดนี้ในภายหลัง

 

      ในปี พ.ศ. 2454 ก็มีการค้นพบนิวเคลียส แบบจำลองอะตอมจึงถูกพัฒนาขึ้นมาใหม่ ในแต่ละอะตอม ที่ถูกสร้างขึ้น โดยจะมีอิเล็กตรอนหมุนวนรอบนิวเคลียส

 

รูปจำลองของอะตอม

 

วิดีโอแสดงโครงสร้างของอะตอม

 

อย่างไรก็ตาม ก็มีคำถามใหม่ขึ้นมาแทน นั่นคือ นิวเคลียสมีโครงสร้างหรือไม่?, นิวเคลียสเป็นอนุภาคเดี่ยว หรืออนุภาคแบบเป็นกลุ่ม? โดยตอนต้น พ.ศ. 2473 วิวัฒนาแบบจำลองอธิบายนิวเคลียสมีองค์ประกอบอยู่สองพื้นฐาน นั่นก็คือ โปรตอน (Protons) และนิวตรอน (Neutrons)

 

โปรตอนเป็นประจุไฟฟ้าบวก และมีองค์ประกอบทางเคมีเฉพาะ มีการระบุจำนวนของโปรตอนในนิวเคลียสของมัน จำนวนนี้เรียกว่า เลขอะตอม (Atomic number) ของธาตุ ยกตัวอย่างเช่น ในนิวเคลียสของอะตอมไฮโดรเจนมีโปรตอนอยู่หนึ่งตัว (ดังนั้นเลขอะตอมของไฮโดรเจนเท่ากับ 1) ในนิวเคลียสของอะตอมฮีเลียมบรรจุโปรตอนสองตัว (มีเลขอะตอมเท่ากับ 2) และในนิวเคลียสของอะตอมยูเรเนียมบรรจุโปรตอน 92 ตัว (มีเลขอะตอมเท่ากับ 92)

 

ตารางธาตุ

 

      นอกจากเลขอะตอมแล้ว ยังมีอีกหนึ่งตัวเลขนั่นก็คือ เลขมวล (Mass number) หมายถึงจำนวนของโปรตอนบวกกับนิวตรอนในนิวเคลียส

 

เลขมวล = โปรตอน + นิวตรอน

 

ลักษณะของอะตอม ตัวเลขอะตอมของธาตุเฉพาะจะไม่แตกต่างกัน (นั่นคือ จำนวนของโปรตอนไม่ต่างกัน) แต่เลขมวลสามารถแตกต่างกันได้ กล่าวคือ อาจมีจำนวนนิวตรอนที่แตกต่างกันไป

 

                ถึงอย่างไรก็ตามกลับมีคำถามหนึ่งเกิดขึ้นก็คือ กระบวนการของการสิ้นสุดอยู่ที่ไหน? คำตอบ ณ ตอนนี้ก็คือ นอกจากจะมีโปรตอน, นิวตรอนแล้ว ยังมีอนุภาคที่แปลกใหม่อื่น ๆ เป็นที่รู้จักกันตอนนี้ที่เรียกว่า อนุภาค ควาร์ก (Quarks: อนุภาคมูลฐานสามชนิดซึ่งเป็นพื้นฐานของมวลทั้งหมดในจักรวาล ควาร์กเมื่อรวมตัวกันเป็นอีกอนุภาคหนึ่งจะเรียกว่าฮาดรอน (Hardrons) ฮาดรอนที่เสถียรที่สุดสองลำดับแรกคือ โปรตอนและนิวตรอน ซึ่งทั้งคู่เป็นส่วนประกอบสำคัญของอะตอม) ซึ่งประกอบไปด้วย หกสายพันธุ์ที่มีความแตกต่างกันของอนุภาค เรียกว่ารายชื่อทั้ง 6 ฟลาเวอร์ (Flavour) นั่นได้แก่

 

รูปส่วนประกอบของควาร์ก

 

 

      ควาร์กอัพ, ชาร์ม และท็อปจะมีประจุไฟฟ้า +2/3 ของโปรตอน ในขณะที่ควาร์กดาวน์, สแตรนจ์ และบอททอมมีประจุไฟฟ้า - 1/3 ของโปรตอน

 

รูปประจุไฟฟ้าทั้ง 6 ฟลาเวอร์

 

ในโปรตอนมีส่วนประกอบของควาร์กอัพ และควาร์กดาวน์ ซึ่งแสดงในรูปด้านล่าง

 

รูปส่วนประกอบของโปรตอน และนิวตรอน

 

ที่มีชื่อบอก u และ d โครงสร้างโปรตอนนี้อาจคาดการณ์ประจุได้อย่างถูกต้อง ในทำนองเดียวกัน นิวตรอนมีส่วนประกอบของสองควาร์กล่าง และหนึ่งควาร์กบน ให้ประจุสุทธิเท่ากับศูนย์

 

      ในการพัฒนากระบวนการสร้างแบบจำลองที่เกี่ยวกับการเรียนรู้ทางด้านฟิสิกส์ จะมีความท้าทายกับปัญหาที่พบทางด้านคณิตศาสตร์มากมายที่รอเพื่อแก้ปัญหา หนึ่งในเทคนิคที่สำคัญในการแก้ปัญหาก็คือ การสร้างแบบจำลองสำหรับปัญหา ระบุระบบของส่วนประกอบทางกายภาพสำหรับปัญหา และทำให้คาดการณ์ของพฤติกรรมของระบบ ขึ้นอยู่กับปฏิสัมพันธ์ระหว่างส่วนประกอบของมัน หรือปฏิสัมพันธ์ระหว่างระบบ กับสภาพแวดล้อมโดยรอบ

 

 

ปัญหาพระยามิลินท์

 

ปัญหาที่ ๕ จุดประสงค์การบวช (ปัพพชาปัญหา)

 

      เมื่อพระนาคเสนไปถึงพระราชวัง พระเจ้ามิลินท์ก็ทรงประเคนอาหารบิณฑบาตเลี้ยงและพระราชทานผ้าไตรแก่พระสงฆ์ทั่วทุกรูปแล้ว มีพระราชดำรัสนิมนต์แต่พระนาคเสนกับพระภิกษุ ๑๐ รูปให้รออยู่ก่อน นอกนั้นให้กลับไป

 

แล้วจึงตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน นี่เราจะพูดกันถึงเรื่องอะไรดี”

 

      พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร การพูดกันนี้ก็มีความประสงค์อยู่แต่เนื้อความเท่านั้น เพราะฉะนั้น จงตรัสแต่โดยเนื้อความเถิด”

 

: “การบวชของเธอมีประโยชน์อย่างไรและมีอะไรเป็นคุณ

 ซึ่งเธอต้องประสงค์ปรารถนาอย่างยิ่ง”

     

: “การบวชมีประโยชน์ที่จะได้รู้ว่า ทำอย่างไรจึงจะดับความทุกข์

ที่มีอยู่ได้ และจะไม่ให้ความทุกข์อย่างอื่นเกิดขึ้นอีก อนุปาทานนิพพาน (การดับจนสิ้นเชื้อ) เป็นคุณซึ่งอาตมภาพต้องประสงค์อย่างยิ่ง”

     

: “บรรดานักบวช บวชมุ่งประโยชน์อย่างนั้นด้วยกันทั้งนั้นหรือ”

     

: “หามิได้ บางพวกบวชเพื่อจะหนีพระเจ้าแผ่นดินหรือหนีโจร

บางพวกบวชเพราะกลัวภัย  ขอถวายพระพร แต่บางพวกบวชดีด้วยมุ่งประโยชน์อย่างนั้น”

     

: “ก็ตัวเธอเล่า บวชมุ่งประโยชน์อย่างนั้นหรือ”

     

: “ขอถวายพระพร อาตมภาพบวชแต่ยังเป็นเด็ก ยังไม่ทราบว่าการบวชเพื่อประโยชน์อย่างนั้น เพียงแต่มีความคิดในขณะนั้นว่า พระสมณของสากยบุตร (พระพุทธเจ้า) เป็นผู้มีปัญญา ท่านก็คงจะให้ศึกษาตาม เมื่อได้เล่าเรียนศึกษาตามท่านตามปัญญาแล้ว ต่อมาจึงทราบจุดประสงค์ของการบวชว่า การบวชนี้มีประโยชน์อย่างนั้น”

     

: “เธอว่านี้ฉลาดจริง”

 

                              จบปัพพชาปัญหา

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที