นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.20 น. บทความนี้มีผู้ชม: 503380 ครั้ง


วิชาฟิสิกส์ เป็นวิชาพื้นฐานของความรู้ในทางวิทยาศาสตร์มากมายหลากหลายสาขา ไม่ว่าจะเป็น นักวิทยาศาสตร์, วิศวกร, แพทย์, ทหาร ฯลฯ
หนังสือเล่มนี้ จะกล่าวถึง 6 ภาคหลัก ๆ ได้แก่
1. กลศาสตร์คลาสสิก
2. ทฤษฏีสัมพันธภาพ
3. อุณหพลศาสตร์
4. แม่เหล็กไฟฟ้า
5. แสง
6. กลศาสตร์ควอนตัม

ส่วนในตอนท้ายจะกล่าวถึง ความรู้ทางปรัชญา ศาสนา นั่นก็คือมิลินทปัญหา (ฉบับธรรมทาน) เพื่อให้นอกจากจะมีความรู้ทางวิทยาศาสตร์แล้ว ก็ยังมีความรู้ในทางปรัชญา ศาสนา ใช้เป็นแนวคิดของชีวิตได้ด้วย เพือเป็นการพัฒนาทางด้านจิตใจ
วัตถุประสงค์ที่ทำมาให้อ่านก็เพื่อความรู้ และที่สำคัญเพื่อการพัฒนาประเทศไทยให้มีความเจริญก้าวหน้า ทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศพัฒนาแล้ว


ตอนนี้ยังเขียนไม่เสร็จ มีจำนวนเยอะมาก อีกทั้งยังต้องขัดเกลาให้อ่านได้ง่าย และมีงานที่ต้องรับผิดชอบด้วย จะพยายามเขียนให้อ่านกันเร็ว ๆ นะ แล้วเราจะเรียนรู้ไปด้วยกัน
www.thummech.com


4 มวล และเวลา

 

1.1.2 มวล

 

 

 

      หน่วยพื้นฐานของเอสไอของมวล ก็คือ กิโลกรัม (Kilogram: kg) กำหนดให้เป็นมวลที่เป็นมาตรฐานของแท่งทรงกระบอกโลหะผสมที่ทำมาจาก ทองคำขาว-อิริเดียม โดยเก็บรักษาอยู่ใน สำนักงานระหว่างประเทศด้านงานบริการน้ำหนัก และมวล (International Bureau of Weights and Measures at Sèvres) ที่ประเทศฝรั่งเศส

 

 

 

รูปมวลมาตรฐานทำจาก ทองคำขาว-อิริเดียม ที่ประเทศฝรั่งเศส

 

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

 

มาตรฐานของมวลนี้ได้ก่อตั้งขึ้นในปี พ.ศ. 2430 และยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงใด ๆ ในเวลานั้น เพราะว่า ทองคำขาว-อิริเดียมเป็นโลหะผสมที่มีความเสถียรเป็นพิเศษ ไม่เปลี่ยนแปลง หรือมีการเปลี่ยนแปลงที่น้อยมาก

 

 

 

      ยังมีอีกแท่งหนึ่งที่ถูกสร้างเหมือนกันโดยเก็บรักษาไว้ที่ สถาบันมาตรฐาน และเทคโนโลยีแห่งชาติ (National Institute of Standards and Technology: NIST) ในกีตาร์เบิร์ก รัฐแมรี่แลนด์ (Gaithersburg, Maryland) ดูที่รูป

 

 

 

รูปที่เป็นมวลมาตรฐาน 1 กิโลกรัม ที่สถาบันมาตรฐาน และเทคโนโลยีแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา

 

 

 

ส่วนตารางที่ 1.2 เป็นการประมาณค่ามวลของวัตถุต่าง ๆ

 

 

 

วัตถุ

ค่าประมาณของมวล (กิโลกรัม)

มวลของจักรวาลที่สังเกตถึง

1 ´ 1052

กาแลกซีทางช้างเผือก

1 ´ 1042

ดวงอาทิตย์

1.99 ´ 1030

โลก

5.98 ´ 1024

ดวงจันทร์

7.36 ´ 1022

ฉลาม

1 ´ 103

มนุษย์

1 ´ 102

กบ

1 ´ 10-1

ยุง

1 ´ 10-5

แบคทีเรีย

1 ´ 10-15

อะตอมไฮโดรเจน

1.67 ´ 10-27

อิเล็กตรอน

9.11 ´ 10-31

 

ตารางที่ 1.2 มวลของวัตถุต่าง ๆ

 

 

 

1.1.3 เวลา

 

 

 

      ก่อนปี พ.ศ. 2510 มาตรฐานของเวลาถูกนิยามในเทอมของ ค่าเฉลี่ยดวงอาทิตย์ในตอนกลางวัน (Mean solar day) (ช่วงกลางวันเป็นเวลาระหว่างการปรากฏขึ้นของดวงอาทิตย์ที่จุดสูงสุดไปจนถึงลับขอบฟ้าในแต่ละวัน) เวลามีพื้นฐานของหน่วยก็คือ วินาที (Second: s) กำหนดให้เป็น (1/60) (1/60) (1/24) เป็นค่าเฉลี่ยดวงอาทิตย์ในตอนกลางวัน คำนิยามนี้ขึ้นอยู่กับการหมุนของโลก ดังนั้นการเคลื่อนที่อย่างนี้ไม่ความแน่นอน ไม่ได้เป็นเวลาที่เป็นมาตรฐานสากล

 

 

 

รูปเกี่ยวกับเวลา

 

 

 

       ในปี พ.ศ. 2510 ได้กำหนดคำนิยามความหมายใหม่เป็นครั้งที่สอง ทำให้มีความเที่ยงตรงแม่นยำสูง ในอุปกรณ์ที่เรียกกันว่า นาฬิกาอะตอม (Atomic clock) ดูที่รูป

 

 

 

รูปนาฬิกาอะตอมซีเซียม

 

 

 

วิดีโอแสดงนาฬิกาอะตอม

 

 

 

ซึ่งเป็นการวัดการสั่นสะเทือนของ อะตอมซีเซียม (Cesium atoms) หนึ่งวินาทีกำหนดให้เป็นเท่ากับ 9,192,631,770 ครั้งในช่วงเวลาของการสั่นสะเทือนของรังสีจากอะตอมของซีเซียม-133

 

 

 

ในตารางที่ 1.3 เป็นค่าประมาณของเวลาของเหตุการณ์ต่าง ๆ

 

 

 

การประมาณเวลา

ช่วงเวลา (วินาที)

อายุของจักรวาล

4 ´ 1017

อายุของโลก

1.3 ´ 1017

อายุเฉลี่ยของนักเรียนวิทยาลัย

6.3 ´ 108

1 ปี

3.2 ´ 107

1 วัน

8.6 ´ 104

 1 คาบ

3.0 ´ 103

ช่วงเวลาการเต้นของหัวใจ

8 ´ 10-1

ระยะเวลาคลื่นเสียงที่ได้ยิน

1 ´ 10-3

ระยะเวลาคลื่นวิทยุทั่วไป

1 ´ 10-6

เวลาการสั่นสะเทือนของอะตอมในของแข็ง

1 ´ 10-13

ระยะเวลาของคลื่นแสงที่มองเห็น

1 ´ 10-15

ระยะเวลาการปะทะกันของปฏิกิริยานิวเคลียร์

1 ´ 10-22

เวลาของแสงที่ข้ามผ่านโปรตอน

1 ´ 10-24

 

ตารางที่ 1.3 ค่าประมาณของบางช่วงเวลา

 

 

 

 

 

ปัญหาพระยามิลินท์

 

 

 

ปัญหาที่ ๓ ถามลองปัญญา (ติกขปริญญาปัญหา)

 

 

 

 

 

พระเจ้ามิลินท์ตรัสถามว่า “ดูก่อนพระนาคเสน เธอบวชเพื่อประสงค์อะไร”

 

 

 

พระนาคเสนทูลตอบว่า “ขอถวายพระพร เพื่อประสงค์จะดับทุกข์ และประสงค์จะให้ เป็นประโยชน์สุขแก่คนทั่วไป”

 

 

 

: “ถ้ากระนั้น เธอจะยอมสละเวลาพูดกับข้าพเจ้าได้หรือไม่”

 

 

 

: “ถ้าพระองค์ตรัสอย่างบัณฑิต อาตมภาพก็จักพูดด้วยได้ แต่ถ้าตรัสอย่างพระเจ้าแผ่นดิน  อาตมภาพก็พูดด้วยไม่ได้”

 

 

 

: “บัณฑิตพูดกันอย่างไรเล่าเธอ”

 

     

 

: “บัณฑิตพูดกัน ย่อมผูกเป็นปัญหาถามกันบ้าง แก้ปัญหากันบ้าง พูดขู่บ้าง ยอมรับบ้าง พูดแข่งกันบ้าง อีกฝ่ายกลับพูดแข่งบ้าง และย่อมไม่โกรธเพราะการพูดโต้เถียงกันนั้น ขอถวายพระพร บัณฑิตพูดกันอย่างนี้”

 

 

 

: “ก็พระเจ้าแผ่นดินพูดอย่างไรเล่าเธอ”

 

     

 

: “ขอถวายพระพร พระเจ้าแผ่นดินเมื่อทรงออกความเห็นเรื่องใดเรื่องหนึ่งอยู่ ผู้ใดทูลคัดค้านขึ้น  ก็ลงพระราชอาชญาแก่ผู้นั้น พระเจ้าแผ่นดินทั้งหลายตรัสอย่างนี้”

 

     

 

: “ข้าพเจ้าจักพูดอย่างบัณฑิต จะไม่พูดอย่างพระเจ้าแผ่นดิน

 

ขอเธอจงพูดตามสบายเหมือนอย่างพูดกะสามเณร หรือคนรักษาวัดนั้นเถิด อย่าได้มีความเกรงกลัวเลย”

 

     

 

: “ขอถวายพระพร เป็นพระมหากรุณาอย่างยิ่ง”

 

     

 

: “ข้าพเจ้าขออนุญาตซักถามเธอจะได้หรือไม่”

 

     

 

: “ขอพระองค์จงตรัสถามเถิด”

 

     

 

: “ข้าพเจ้าได้ถามเธอแล้ว”

 

     

 

: “อาตมภาพก็ได้ถวายวิสัชนาแล้ว”

 

     

 

: “เธอวิสัชนามาว่ากระไร”

 

     

 

: “พระองค์ตรัสถามมาว่ากระไร”

 

     

 

: “เธอนี้สามารถจริง”

 

 

 

                                                จบติกขปริญญาปัญหา

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที