ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 13 มี.ค. 2007 14.31 น. บทความนี้มีผู้ชม: 922279 ครั้ง

สร้างเสริมการเรียนรู้ โดย นักศึกษามหาวิทยาลัยศรีปทุม ชั้นปีที่ 1


งานก่อสร้างกับองค์กรที่เกี่ยวข้อง

นักศึกษานที่ ยีสมัน

งานก่อสร้างกับองค์กร

งานก่อสร้างเป็นงานที่มีลักษณะพิเศษเฉพาะตัว แตกต่างจากระบบอุตสาหกรรมเป็นอย่างมาก ดังนั้นในการดำเนินการก่อสร้างให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านคุณภาพ เวลาในการทำงาน และต้นทุนการก่อสร้าง จึงจำเป็นที่จะต้องดำเนินการวางแผนการดำเนินการก่อสร้างที่ดี โดยที่ผู้บริหารงานก่อสร้างต้องทราบถึงหลักการดำเนินการก่อสร้างในระบบการวางแผนงาน เพื่อเลือกใช้ให้ถูกต้อง ตรงกับประเภทและลักษณะของงาน นอกจากนี้ยังต้องคำนึงถึงการบริหารทรัพยากรที่มีในองค์กรให้เหมาะสม รวมถึงเมื่อดำเนินการก่อสร้างไปในช่วงระยะเวลาหนึ่ง จึงต้องมีการติดตามความก้าวหน้าในการทำงาน ถ้าหากเกิดปัญหาที่ไม่สามารถดำเนินงานให้เป็นไปตามแผน ผู้บริหารงานก่อสร้างควรต้องดำเนินการปรับปรุงแก้ไขแผนการดำเนินงาน และเร่งงานให้เสร็จตรงตามกำหนดเวลา

องค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้าง

โดยทั่วไปองค์กรที่เกี่ยวข้องกับงานก่อสร้างจะประกอบด้วย

1. เจ้าของงาน อาจเป็นบุคคลธรรมดา นิติบุคคล เอกชน ราชการ ทั้งที่สร้างอาคารเพื่อการใช้งาน และรอจำหน่ายต่อ

2. ผู้ออกแบบ อาจเป็นสถาปนิก หรือวิศวกร ซึ่งอาจแยกตามสาขาของงาน เช่น วิศวกรโครงสร้าง สุขาภิบาล ไฟฟ้า เครื่องกล เป็นต้น

3. ผู้รับงานก่อสร้างหลัก หมายถึง ผู้รับงานก่อสร้างที่รับงานหลัก และทำสัญญาจ้างกับเจ้าของงานโดยตรง กลุ่มนี้ยังแยกเป็นกลุ่มย่อยที่มีความสามารถเฉพาะ เช่น

3.1 ผู้รับเหมาช่วง หมายถึง ผู้ที่รับงานบางส่วนจากผู้รับงานหลักอีกทอดหนึ่ง ส่วนมากเป็นงานที่ต้องอาศัยความชำนาญโดยเฉพาะ

3.2 ผู้รับงานย่อยเฉพาะ หมายถึง ผู้รับงานบางส่วนจากเจ้าของงานต่างกับผู้รับเหมาช่วง ที่รับงานจากผู้รับงานก่อสร้างหลัก ส่วนผู้รับงานย่อยเฉพาะจะรับงานจากเจ้าของงาน และทำงานร่วมกับผู้รับงานก่อสร้างหลัก

3.3 ผู้รับงานช่วงเฉพาะ หมายถึง ผู้รับงานช่วงที่เจ้าของงานกำหนดให้ผู้รับงานก่อสร้างหลักจ้างมาทำงานตามส่วนที่กำหนด แต่ขึ้นอยู่กับผู้รับงานก่อสร้างหลัก ต่างจากผู้รับงานย่อยเฉพาะ ที่เจ้าของงานเป็นผู้ว่าจ้างโดยตรง

4. ที่ปรึกษา มีความหมายค่อนข้างกว้าง อาจรับงานด้านสำรวจ ออกแบบ แต่งานหลักคือ การควบคุมงานก่อสร้าง และเป็นตัวแทนเจ้าของงาน

5. ผู้บริหารงานก่อสร้าง เป็นองค์กรที่ทำงานคล้ายกับที่ปรึกษาแต่มีขอบเขตและหน้าที่ความรับผิดชอบกว้างขวามกว่า ทำหน้าที่เหมือนผู้รับงานก่อสร้างหลัก และเป็นตัวแทนของเจ้าของงาน หรือจะกล่าวอีกอย่างหนึ่งว่า เจ้าของงานจะเป็นผู้รับงานก่อสร้างหลักเอง แต่จะจ้างผู้บริหารงานก่อสร้างมาทำหน้าที่แทน ขอบข่ายของงานอยู่ที่ข้อตกลงกันกับเจ้าของงาน

ความสัมพันธ์ขององค์กรที่เกี่ยวข้องกับรูปแบบของการว่าจ้าง

การจ้างงานก่อสร้างจะประด้วยองค์กรหลัก 3 องค์กรด้วยกัน ได้แก่ เจ้าของงานผู้ออกแบบ และผู้รับงานก่อสร้าง ในปัจจุบัธุรกิจงานก่อสร้างได้พัฒนาความสัมพันฑ์ขององค์กรในรูปแบบต่างกัน เพื่อให้สอดคล้องกับจุดประสงค์ของเจ้าของงาน ดังเช่น

- การจ้างผู้รับงานหลักรายเดียว ทำงานก่อสร้างหลักทุกชนิดซึ่งเป็นรูปแบบที่มีมาแต่เดิม

- การจ้างผู้รับงานย่อยเฉพาะ แยกต่างหากจากผู้รับงานก่อสร้างหลัก ทำงานร่วมกันกับผู้รับงานก่อสร้างหลักในโครงการเดียวกัน

- การจ้างผู้รับงานย่อยเฉพาะ แยกต่างหากจากผู้รับงานก่อสร้างหลัก แต่จ้างที่ปรึกษาทำหน้าที่ควบคุมงานก่อสร้าง และช่วยประสานงานกับผู้รับงานก่อสร้างหลักกับผู้กับงานย่อยเฉพาะ ซึ่งอาจมีมากกว่า 1 ราย ให้ทำงานร่วมกัน

- การจ้างผู้รับงานก่อสร้าง ให้ทำหน้าที่ออกแบบสิ่งก่อสร้างด้วย เป็นการรวมงานของ 2 องค์กรให้เป็นองค์กรเดียวกัน การสร้ารูปแบบนี้จะเลือกใช้กับสิ่งก่อสร้างที่มีลักษณะเฉพาะบางประเภท

- การว่าจ้างแบบเหมาะเบ็ดเสร็จ เป็นการจ้างที่มีลักษณะพิเศษ ที่ผู้รับงานอาจจะรับจะหาที่ดินที่จะปลูกสร้าง ออกแบบ และก่อสร้าง พร้อมทั้งจัดหาเงินมาลงทุนให้ก่อน เมื่อเสร็จงานจึงมอบงานให้ ส่วนการจ่ายเงิน อยู่ที่เงื่อนไขการตกลงระหว่างกันก่อนที่จะเริ่มงาน

- เจ้าของงานทำหน้าที่เหมือนผู้รับงานก่อสร้างเอง และจ้าผู้บริหารงานก่อสร้างมาทำหน้าที่แทน

- เจ้าของงานผู้ออกแบบและผู้รัยงานก่อสร้าง อาจรวมกันอยู่ในองค์กรเดียวกัน และก่อสร้างอาคารเพื่อจุดประสงค์เฉพาะ ถือเป็นอีกรูปแบบหนึ่งของความสัมพันธ์

ในรูปแบบของความสัมพันธ์ดังกล่าว อาจจะมีข้อดีและข้อเสียต่างกัน ซึ่งจะต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมกับโครงการ ในขณะเดียวกันในฐานะขององค์กรผู้รับงานก่อสร้างต้องเข้าใจให้ถูกต้องว่าถึง คำสั่งทำหน้าที่การก่อสร้างในรูปแบบใด เพื่อที่จะปฏิบัติหน้าที่ให้เหมาะสมกับสภาวะการงานนั้น

ความแตกต่างระหว่างเจ้าของงานที่เป็นหน่วยราชการกับเอกชน

ความแตกต่างส่วนใหญ่เกี่ยวกับด้านการว่าจ้าง และเงื่อนไขการจ้างงานก่อสร้างของราชการ ที่ข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่ปฏิบัติ หรือควบคุมการปฏิบัติ วิธีการจ้างจึงต้องมีกฎระเบียบ ข้อบังคับที่ชัดเจนสำหรับเป็นหลักยึด ส่วนระบบงานของเอกชนนั้น มีกฎเกณฑ์ที่ยึดหยุ่นกว่า เจ้าของงานจะเป็นผู้รับผิดชอบและไม่ค่อยมีกฏระเบียบข้อบังคับเหมือนกับระบบราชการ ส่วนมากคิดถึงประโยชน์ของตนเป็นหลักสำคัญ ในหลายกรณีความเป็นธรรมในการเสนอราคามีน้อยกว่างานราชการ เพราะเอกชนถือเอาเจ้าของงานเป็นผู้ทรงสิทธิ ในการเลือกหรือตัดสินใจว่าจ้างงานก่อสร้าง ส่วนงานราชการ ราชการไม่ใช่เจ้าของงานที่แท้จริง เป็นเพียงผู้แทนเจ้าของงานเท่านั้น จึงไม่มีสิทธิทำตามใจชอบการว่าจ้าง ต้องยึดกฏระเบียบเป็นหลักในการว่าจ้าง

เอกสารอ้างอิง เอกสารการสอนชุดวิชา การวางแผนงานก่อสร้างมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที