ณัฐกานต์

ผู้เขียน : ณัฐกานต์

อัพเดท: 14 ก.ค. 2012 23.59 น. บทความนี้มีผู้ชม: 10218 ครั้ง

แนวคิดแบบลีน lean


แนวคิดแบบลีน กับTechnik แบบเยอรมัน

แนวคิดแบบลีน กับTechnik แบบเยอรมัน

ในเดือนกรกฏาคม ปี 1994 มีบางสิ่งที่ไม่ธรรมดาเกิดขึ้นในโรงประกอบของบริษัท Porsche ในเมือง Stuttgart ประเทศเยอรมัน รถ Porsche Carrera ไหลผ่านสายการประกอบไปโดยไม่มีสิ่งผิดพลาดใดเกิดขึ้นกับมันเลย กองทัพช่างฝีมือสวมเสื้อสีน้ำเงินที่คอยอยู่ในพื้นที่แก้ไขอันกว้างใหญ่ สามารถหยุดทำงานไปได้ช่วงหนึ่ง เพราะว่าพวกเขาไม่มีอะไรจะทำครั้งแรกในรอบ 44 ปี นี่เป็นรถยนต์ที่ไร้ข้อบกพร่องคันแรกที่ไหลผ่านสายการประกอบของ Porsche หรือบังเกิดจากระบบของการประกอบบนโต๊ะการประกอบที่มีมาก่อนหน้านี้

Porsche ที่สมบูรณ์แบบคันแรกนี้ (และมีเพิ่มขึ้นอีกมากตั้งแต่นั้นมา)เป็นเพียงเรื่องเล็กน้อย แต่เป็นเหตุการณ์สำคัญ(Milestone)ที่ชัดเจนอย่างยิ่งจากความพยายามของ Wendelin Wiedeking ประธานบริษัทและผู้เข้าร่วมงานของเขา ในการนำแนวคิดแบบลีนเข้าสู่หน่วยงานอุตสากรรมของจริง ที่จริงแล้ว ถือเป็นการเข้าสู่สัญลักษณ์อันยิ่งใหญ่หนึ่งของประเพณีของอุตสาหกรรมเยอรมัน การฝ่าฟันเช่นนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายและบางแง่มุมของระบบลีนโดยสมบูรณ์ยังคง เหลืออยู่ให้ต้องมีการดำเนินการกันต่อไปแต่ในขณะนี้ก็ได้แสดงให้เห็นว่า สามารถทำให้สำเร็จได้ ยิ่งไปกว่านั้น เป็นหลักฐานแล้ว เมื่อแนวคิดแบบลีนจับคู่เข้ากับความแข็งแกร่งของความเป็นเยอรมันแบบดั้งเดิม ก็ทำให้เกิดแนวคิดในเรื่องเทคโนโลยีที่เยี่ยมกว่า (หรือ Technik) เป็นรูปเป็นร่างขึ้นมาได้แล้วรูปแบบผสมที่สามารถแข่งขันได้อย่างไม่ธรรมดาก็ สามารถบังเกิดขึ้น

อ้างอิงจาก

วิทยา สุหฤทดำรง และ ยุพากลอนกลาง.  (2550).  แนวคิดแบบลีน กับTechnik แบบเยอรมัน.  ใน แนวคิดแบบลีน.  กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ส.เอเชียเพรส(1989)จำกัด


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที