อรปภา

ผู้เขียน : อรปภา

อัพเดท: 10 ก.ค. 2012 21.04 น. บทความนี้มีผู้ชม: 11525 ครั้ง

การผลิตแบบลีน สำหรับการนำไปใช้มาปฎิบัติ


การผลิตแบบลีน สำหรับการนำไปใช้มาปฎิบัติ

กระบวนทัศน์สู่การผลิตแบบลีน

วิวัฒนาการของกระบานทัศน์ใหม่ เริ่มจาก เฮนรี ฟอร์ด ทำการผลิตรถยนต์ในรูปแบบการผลิตแบบจำนวนมาก โดยใช้วิธีการการศึกษาทำงานและการใช้ชิ้นส่วนแทน ในปี ค.ศ. 1926 เขาได้เขียนหนังสือ “today and tomorrow” ที่อธิบายเกี่ยกับลักษณะการผลิตว่ามีข้อดีข้อเสียอย่างไร

            ต่อจากนั้น ทาอิชิโอโนะ วิศวกรของบริษัทโตโยต้าในประเทศญี่ปุ่นที่ทำการผลิตรถยนต์ได้ศึกษาต่อ และเปลี่ยนแปลงให้เป็นรูปแบบการผลิตแบบดึง โดยการศึกษาโดยการนำเอาซุปเปอร์มาเก็ต ที่ไม่สามารถวางแผนการขายเป็นจำนวนแน่นอนตายตัวได้ในแต่ละวัน เนื่องจากลูกค้ามีความต้องการที่แตกต่างกัน ดังนั้นจึงต้องคอยตรวจเช็คสินค้าและคอยเติมสินค้าอยู่เสมอ ศึกษาการเพิ่มผลผลิตและคุณภาพระบบอเมริกา และรวมกับระบบการผลิตทันเวลาพอดี

            ต่อมา จิโดกะ ได้นำมาใช้โดยเรียกว่า ระบบการผลิตแบบโตโยต้า และมีการพัฒนาปรับปรุงอย่างต่อเนื่องด้วยวิธีการกำจัดสูญเปล่าทั้ง 7 ประการ ต่อจากนั้น จอห์น คราฟฟิคค์ เห็นว่าเพื่อประสิทธิภาพแก่กระบวนการผลิตจึงนำมาเขียนปรัชญาเสนอเป็น “ลีน” ลงในวารสาร “Sloan Management Review” จนกระทั่งในปี ค.ศ. 1990 จิม วอแมค สนใจกับการสั่งซื้อและเรื่องการกำจัดความสูญเปล่า ที่ว่า การกำจัดความสูญเปล่านี้ช่วยสร้างคุณค่าเพิ่มมากขึ้น โดยเขียนลงในหนังสือ “Machine that Changed the World” ให้เห็นแนวคิดแบบลีนและให้หลักการในการนำไปใช้ไว้ 5 ประการ ตือ การนิยมคุณค่า การวิเคราะห์การไหลของคุณค่า การไหล การดึง/ทันเวลาพอดี และความสมบูรณ์แบบ

            พื้นฐานโครงสร้างการผลิตแบบลีนที่สำคัญมีทั้งหมด4 ประการ และต้องคำนึงถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่องในแต่ละโครงการตามหลักการหมุน การกำหนดความหมาย ความสำพันธ์ระหว่างหลักการและการฝึกฝนการปฎิบัติสามารถอธิบายให้เห็นถึงส่วนประกอบ โดยการสาธิตเรื่องการออกแบบ การดำเนินงานและการจัดการกระบวนการการผลิต ที่จะแสดงให้เห็นว่ามีประสิทธิภาพในการปฎิบัติงาน

นิยามคุณค่า

การจัดการกับความสูญเปล่านั้นต้องใช้เวลาและความพยายามอย่างยิ่ง ในการกำจัดความสูญเปล่าออกจากกระบวนการ ดังนั้นกระบวนการสร้างคุณค่าจึงมีความสำคัญ ดังนั้นประเภทของความสูญเสีย Muda คือกระบวนการผลิตที่ลูกค้าไม่ต้องการ บริษัทที่ทำการผลิตแบบลีนจะดำเนินการ เพื่อกำหนดคุณค่าของผลิตภัณฑ์และความสามารถของผลิตภัณฑ์ในการเสนอราคาให้กับลูกค้าบริษัทที่ทำการผลิตแบบลีนจะทำความเข้าใจและถามลูกค้าว่าต้องการอะไร? และบริษัทที่ทำการผลิตแบบลีนจะปรับปรุงผลิตภัณฑ์ การบริหารองค์กรและพนักงานเพื่อให้บรรลุตามแผนการผลิตนั้น

            หลักการนี้จะมุ่งเน้นการกำหนดคุณค่าของผลิตภัณฑ์บนรากฐานความต้องการของลูกค้า ในเรื่องฟังก์ชันของผลิตภัณฑ์ คุณภาพและการขนส่ง จะมีการสัมพันธ์กันที่ทำให้เกิดต้นทุนและการกำหนดราคาขาย ดังนั้นการขนหาและการวิจัยความต้องการของลูกค้าคือสิ่งสำคัญ ควรจะต้องใช้เครื่องมือที่เรียกว่า Quality Function Deployment (QFD) ที่เป็นวิธีการให้ความสำคัญต่อความต้องการของลูกค้าและถ่ายทอดคุณสมบัติไปสู่การออกแบบ

            คุณค่าผลิตภัณฑ์ที่เกิดประโยชน์จากคุณสมบัติของผลิตภัณฑ์หารด้วยต้นทุนคุณสมบัตินั้น จะแสดงให้เห็นในเรื่องของคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ส่วนการวัดและวิเคราะห์ผลโดยใช้เทคนิคของ Value Engineering ผู้บริหารจะต้องให้ความสำคัญในเรื่องของเป้าหมายต้นทุนและกำหนดราคาของผลิตภัณฑ์สู่ท้องตลาด โดยจะต้องตระหนักถึงเรื่องของผลิตภัณฑ์ กำไรและผลตอบแทน ในการวางแผนธุรกิจ ข้อกำหนดหรือกลยุทธ์ที่นำไปสู่ความสำเร็จตรงกับเปาหมายต้นทุนที่ตั้งไว้ จะต้องปรับแต่งกระบวนการผลิตและการสั่งซื้อได้ตรงตามต้องการ

การไหล

       ในองค์กรต้องๆต้องการความสนับสนุนโดยเฉพราะเรื่องการไหลของผลิตภัณฑ์ด้วยความรวดเร็ว จะกระทำโดยการกำจัดอุปสรรคและระยะทางระหว่างแผนกที่เกี่ยวข้องกับการทำงาน มีผลทำให้แผนผังการทำงานของพนักงานและเครื่องมือที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการผลิตเปลี่ยนไปด้วย

หลักในการใช้เครืองมือในโครงสร้างและการดำเนินการผลิต ได้แก่

- การไหลแบบต่อเนื่อง ผลิตภัณฑ์ควรไหนผ่านกระบวนการเพิ่มคุณค่าอย่างต่อเนื่อง ปราศจากการรอคอย

- ระดับการผลิต ผลิตผลิตภัณฑ์หลายอย่างรวมกันตามปริมาณที่ต้องการในแต่ละช่วงเวลา

การไหลแบบต่อเนื่อง ทำให้การผลิตมีช่วงเวลานำน้อย ทำให้สามารถวางแผลการผลิตแบบ Make to order แทนการผลิตแบบ Make to stock และการควบคุมระดับการผลิตโดยทำให้ปริมาณการผลิตและปริมาณการต้องการของลูกค้าใกล้เคียงกัน จะเป็นการป้องกันความสูญเปล่าในการผลิต นอกจากนี้การไหลแบบต่อเนื่องจะไม่เกิดการรอคอย วัสดุคงคลังสินค้าเป็นศูนย์ ช่วยลดความสูญเปล่าทีเกิดขึ้นจากคงคลังสินค้า

            ในแนวคิดการผลิตแบบลีน สินค้าคงคลังหรือวัสดุคงคลังจะถูกคิดเป็นเรื่องการสูญเปล่า ฉะนั้นการผลิตสินค้าใดๆ ก็ตามที่ขายไม่ได้ถือว่าเป็นความสูญเปล่า สิ่งสำคัญต้องทราบความต้องการของลูกค้าที่แท้จริง แล้วใช้การดึงผลิตภัณฑ์เข้าสู่ระบบโดยการใช้การปรับปรุงปริมาณที่ต้องมีเพียงพอในช่วงที่ต้องการ วัตถุประสงค์ของการผลิตแบบทันเวลาพอดี คือการสร้างความสมดุลและความสัมพันธ์ของปริมาณการผลิตกับความต้องการเพื่อกำจัดความสูญเปล่าที่เกิดขึ้น

ความสมบูรณ์แบบ

            การที่จะประสบผลสำเร็จได้นั้น ควรมาจากการทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ เรื่องของการลดเวลา ลดพื้อที่ ลดต้นทุนและความผิดพลาด การผลิตแบบลีนมุ่งเน้นเกี่ยวกับ การบรรลุถึงการออกแบบผลิตภัณฑ์ และกิจกรรมในกระบวนการผลิต ที่เป็นกระบวนการเพิ่มคุณค่าในสายตาลูกค้า การวางโครงสร้างระบบไหลอย่างต่อเนื่อง ระบบคงคลังเป็นศูนย์ การผลิตทันเวลาพอดี และของเสีบเป็นศูนย์ ความสมบูรณ์แบบในการเพิ่มคุณค่ามากที่สุดโดยการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง

            ดังนั้นการปฎิบัติและดารดำเนินงานในขั้นต่อๆไป ควรคำนึงถึงการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง การวัดประสิทธิภาพโดยการทำ Benchmarking การใช้ Balance Scorecard ในการทำงานเป็นทีมและค้าหาสภาพความต้องการที่จะเปลียนแปลงไปตามสภาพแวดล้อม

สรุป

            การผลิตแบบลีนสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับวิสาหกิจในการผลิตภาคอุตสาหกรรมทั่วๆไป โดยยึดหลัก 4 ประการดังกล่าวไปแล้วและหลักความสมบูรณ์แบบในการปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งในการนำไปใช้ไม่ใช่เรื่องง่าย ต้องใช้เวลา การยอมรับและที่สำคัญผู้นำจะต้องมีวิสัยทัศน์ ในเรื่องการจัดการ การเปลี่ยนแปลงและการลุงทุนในการฝึกอบรม

 

 

ที่มา ดร.วิทยา สุหฤทดำรง , ก้องเดชร บ้านมะหิงษ์ Industrial Technology Review 90 (พฤศจิกายน 2544) 149-152


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที