ไก่ต้ม

ผู้เขียน : ไก่ต้ม

อัพเดท: 10 ก.ค. 2012 13.45 น. บทความนี้มีผู้ชม: 3606 ครั้ง

การบริหารจัดการน้ำแบบยั่งยืนในชนบท


ทรัพยากรน้ำ

 

          เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 84 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คณะรัฐมนตรี พิจารณาเห็นชอบให้สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและเกษตรกร (องค์การมหาชน) หรือ สสนก.จัดทำ “โครงการจัดการน้ำชุมชนเพื่อแก้ปัญหาภัยแล้งน้ำท่วมในพื้นที่นอกเขตชลประทานโดยชุมชนอย่างยั่งยืน 84 แห่ง “เพื่อให้เป็นต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำชุมชน และขยายผลไปยังชุมชนพื้นที่นอกเขตชลประทานของไทย

          การเคหะแห่งชาติได้ประสานความร่วมมือกับสถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร(องค์การมหาชน) หรือ สสนก.มาเป็นภาคีร่วมในโครงการพัฒนาที่อยู่อาศัยและการตั้งถิ่นฐานในชลบท ตามแนวพระราชดำริ เศรษฐกิจพอเพียงของการเคหะแห่งชาติ 4 หมู่บ้าน ประกอบด้วย หมู่บ้านข่วงกอม และหมู่บ้านสบลี จังหวัดลำปาง หมู่บ้านร้องแง จังหวัดน่าน และหมู่บ้านนาต้นจัน จังหวัดสุโขทัยเข้าร่วมโครงการ

          สำหรับแนวทางการดำเนินโครงการในครั้งนี้เพื่อให้ชุมชนน้อมนำแนวพระราชดำริไปพัฒนาโครงสร้างน้ำแก้มลิง เศรษฐกิจพอเพียง เกษตรทฤษฎีใหม่ ส่งเสริมให้ชุมชนมีความพร้อมและดำเนินการโดยกลุ่มบริหารจัดการน้ำอย่างเป็นระบบ เกิดเป็นเครือข่ายการจัดการน้ำชุมชนการหน่วยงานราชการและสถาบันการศึกษาสนับสนุนให้ประชาชนนำวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำของตนเอง เช่น แผนที่ ระบบภูมศาสตร์ และข้อมูลมาใช้ในการจัดทำแผนที่และปฎิบัติ

          ผลการดำเนินงานเน้นการมีส่วนร่วมของชุมชน มีการจัดตั้งคณะกรรมการรับผิดชอบแต่ละแผนงาน มีการเรียนรู้จากรุ่นสู่รุ่น สืบทอดความรู้สู่เยาวชนรุ่นหลัง ผลงานเป็นที่ยอมรับ สสนก.ได้แต่ตั้งให้บ้านสบลี เป็นแม่ข่ายคอยให้ความช่วยเหลือ ให้ความแนะนำแก่ชุมชนข้างเคียงเพื่อการขยายผล สู่พื่นที่นอกเขตชลประทานต่อไป

          บ้านร้องแงได้เสนอ 3 แผนงาน เพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณ ได้แก่ แผนการขุดบ่อน้ำตื้นแห่งใหม่ 4บ่อเป็นแหล่งน้ำดิบ ในการส่งเข้าระบบประปาหมู่บ้านเพื่อการอุปโภคบริโภคในชุมชนแผนดาดลำเหมืองใส้ไก่ ระยะทาง 4,500 เมตร ในพื่นที่การเกษตรเพื่อลดภาวะน้ำแล้ง-น้ำหลาก และแผนปรับปรุงเปลี่ยนท่อ เรียงหินยาแนวหน้าวัดร้องแง ได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 968,893 บาท

          บ้านต้นจั่น ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านตึก อำเภอศรีสัชนาลัย จังหวัดสุโขทัย เป็นชุมชนที่มีภูเขาล้อมรอบ ลำน้ำ สายหลักที่ไหลผ่าน คือแม่น้ำราก และมีลำห้วยหลายสาขามาบรรจบ เช่น ห้วยแม่พายลอง ห้วยเหล็กจาน ห้วยต้นไฮ ห้วยจะคาน และห้วยโง้ง สภาพที่ดินเป็นดินร่วนประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำสวนผลไม้ เช่นทุเรียน ลางสาด ลองกอง แต่อาชีพนี้จะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ปีละครั้ง เพราะช่วงหน้าแล้ง จะแล้งมาก บ้านนาต้นจั่นได้เสนอ 4 แผนงานได้แก่ แผนการจัดสร้างทำนาดินกักเก็บน้ำรับน้ำฝน เป็นแหล่งเพื่อการเกษตร ที่นาหนองตุ๋ม 2 จุด และที่นาพู 1 จุด แผนสร้างฝาย คศล.เดิมที่ห้วยต้นไฮ ห้วยจะคาน พร้อมขุดลอกหน้าฝาย และแผนสร้างฝายชะลอน้ำแบบผสมผสาน เป็นฝาย คอนกรีต 15 ฝาย ฝายดักตะกอน 15 ฝาย ส่วนแผนระยะสั้นที่ดำเนินการเป็นแผนการบำรุงรักษาได้รับงบประมาณ ทั้งสิ้น 647,818 บาท

          จากประสบการณ์ความร่วมมือระหว่างการเคหะแห่งชาติ กับ สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร (องค์กรมหาชน) ในครั้งนี้ส่งผลต่อการพัฒนาแหล่งน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค พํฒนาคุณภาพชีวิตของเกษตรกรในชนบทให้ดียิ่งขึ้น และเป็นไปตามวัตถุประสงค์ตามต้องการให้ชุมชนมีน้ำอุปโภค บริโภค และ ทำการเกษตร

 

ที่มา : การเคหะแห่งชาติ ฉบับที่ 62 ประจำเดือน มกราคม – มีนาคม 2555


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที