อ.อุดม

ผู้เขียน : อ.อุดม

อัพเดท: 21 พ.ค. 2007 15.00 น. บทความนี้มีผู้ชม: 125563 ครั้ง

สรุปโรคร้ายในภาคอุตสาหกรรมไทย จากประสบการณ์การให้คำปรึกษา


โรค "ทิตัง มิตัง มะตัง ทิกูจะนัง"

แปลง่ายๆว่า "ที่ตั้งไม่ตั้งมาตั้งที่กูจะนั่ง" หมายถึงการวางผิดที่ผิดทางนั่นเองครับ

ที่พูดมานี้เพราะมีเครื่องมือการบริหารหลายเครื่องมือเหลือเกินที่เราคนไทยเลือกมาใช้ เผลอๆบางบริษัท เคยเอาไปใช้แล้ว และก็เลิกใช้ไปแล้วเสียด้วยซ้ำไป

ผมขอยกตัวอย่างเรื่อง "ไคเซ็น"

หลายคนพอยกเรื่องนี้ขึ้นมา ก็จะบอกได้ทันที อ้อ เป็นเรื่องของพนักงาน

แค่คิดก็ผิดแล้ว

ไคเซ็นมีมุมมองอย่างน้อยๆ 2 มุมมองครับ

มุมมองที่ 1 เป็นเวทีของพนักงาน ที่ได้แสดงความรู้ความสามารถ การมีใจรักการปรับปรุงงาน และรักในตัวองค์การ ฯลฯ

มุมมองที่ 2 เป็นมุมมองของผู้บริหาร มุมมองนี้ผู้บริหารต้องมองว่าพนักงานนั้นทำหน้าที่ผลิตข้อมูลข่าวสาร เพื่อเอาวิเคราะห์ในการแก้ไขปัญหา วางแผน ออกนโยบาย ครับผม

ไม่ใช่มาบอกว่าเดือนนี้จ่ายค่าไคเซ็นไปแล้วกี่บาท

ไคเซ็นต้องดูตั้งแต่ระดับ Top ไล่ลงมาเรื่อยๆ จะใหญ่จะเล็กอยู่ที่อำนาจในมือ

ที่บอกว่าอยู่ผิดที่ผิดทางนั้นเพราะ

คนที่ไม่มีอำนาจ อยากทำ แต่ทำไม่ได้
คนที่มีอำนาจ ทำได้ แต่ไม่คิดทำ
 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที