SHE Zone

ผู้เขียน : SHE Zone

อัพเดท: 13 ก.ค. 2011 02.40 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4448 ครั้ง

ลีน ลีน ลีน ทำอย่างไรให้การฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัย และความปลอดภัยเป็น "ลีน" หาคำตอบได้ที่นี่


เพิ่มประสิทธิภาพกระบวนการฝึกอบรมด้านอาชีวอนามัยและความปลอดภัยด้วย แนวคิด “ลีน (Lean)”


      “ลีน” เป็นเครื่องมือในการบริหารอุตสาหกรรมที่ช่วยในการขจัดความสูญเปล่าในขบวนการผลิต เพื่อเพิ่มขีดความสามารถให้กับองค์กร นอกจากนี้ยังสามารถนำมาประยุกต์ใช้ในการฝึกอบรมด้านความปลอดภัยด้วยการช่วยให้การฝึกอบรมประสบความสำเร็จด้วยต้นทุนที่มีประสิทธิภาพอีกด้วย

 

     แนวคิดของลีนที่นำมาใช้ในเรื่องของการฝึกอบรมก็คือ “คนเราควรได้รับข้อมูลข่าวสารที่จำเป็นและตรงกับความต้องการจริง ๆ “

 

     การฝึกอบรมแบบลีนนั้น จะมุ่งเน้นที่การเก็บรักษาองค์ความรู้ ไม่ใช่ที่ปริมาณการฝึกอบรม มองไปที่สิ่งที่ผู้เข้าอบรมได้รับจากการอบรมและนำไปใช้ประโยชน์

     การฝึกอบรมในห้องอบรมดูจะมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล เมื่อคุณนึกถึงการฝึกอบรมที่มีผู้เข้าอบรมพร้อมกันที่เดียวเป็นจำนวนมาก แต่ทราบหรือไม่จากการศึกษาพบว่าเมื่อเวลาผ่านไปเพียง 1 เดือนความรู้ที่ผู้เข้าอบรมได้รับจากการฝึกอบรมในห้องอบรมจะเหลืออยู่เพียง 20 %

 

     กำหนดความต้องการ

 

     แม้ว่าทักษะบางอย่างการฝึกอบรมแบบกลุ่มจะให้ผลลัพธ์หรือประสิทธิภาพที่ดีกว่า แต่ผู้เชี่ยวชาญที่ศึกษาเรื่องนี้ก็เชื่อว่า การอบรมควรกระทำเป็นรายบุคคลและกำหนดให้ตรงกับความจำเป็นมากกว่าที่จะทำการอบรมหลาย ๆ หัวข้อในครั้งคราวเดียวกัน การฝึกอบรมแบบลีนให้ประสิทธิภาพมากกว่าในแง่ของการระบุความจำเป็น เป็นส่วนย่อย ๆ แล้วทำการฝึกอบรมโดยไม่ต้องรอ เช่น การอบรมแบบตัวต่อตัว การอบรมหน้างาน ซึ่งการอบรมโดยวิธีดังกล่าวจะทำให้ผู้ฝึกอบรมมีโอกาสประเมินความรู้และประสบการณ์ของผู้เข้ารับการอบรมก่อนทำการอบรม และจัดการอบรมให้ตรงกับความต้องการได้

 

     ลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ

 

     การนำหลักการของลีน มาประยุกต์ใช้กับการฝึกอบรมนั้นจะช่วยลดต้นทุน และเพิ่มประสิทธิภาพและประสิทธิผล เพราะพนักงานจะใช้เวลากับกิจกรรมการฝึกอบรมที่ไม่ได้ผลลัพธ์น้อยลง และผู้เข้ารับการอบรมสามารถรักษาองค์ความรู้หรือสิ่งที่ได้เรียนรู้มากขึ้น นำไปประยุกต์ใช้กับงานได้มากขึ้น และมีผลการปฎิบัติงานที่ดีขึ้น

 

     และนอกจากนี้การฝึกอบรมแบบลีนยังช่วยผู้ฝึกอบรมในการจัดการกับปัญหาความหลากหลายในเรื่องความรู้ ประสบการณ์ และผลการปฎิบัติงานของกลุ่มผู้เข้าอบรมอีกด้วย

 

     การนำแนวความคิดแบบลีนมาใช้กับงานฝึกอบรม

 

     เป้าหมายของการถ่ายทอดความรู้แบบลีนคือ “การปรับปรุงผลการปฎิบัติงานในเชิงธุรกิจที่สามารถวัดได้โดยการจัดส่งความรู้ที่คนจำเป็นต้องรู้ ด้วยวิธีการที่เขาชื่นชอบ ในเวลาที่พวกเขาต้องการ”

     สำหรับรูปแบบการฝึกอบรมในแบบของลีนนั้นเชื่อว่าต้องอยู่บนพื้นฐานของหลักการดังนี้:

 

     ·         มีสัญญาณของการเรียนรู้ที่ชัดเจน คนเรามักต้องการที่จะรู้ล่วงหน้าว่าเมื่อไรจำเป็นต้องเรียนหรืออบรม คนเรามักจะทราบหรือเข้าใจขีดความรู้ความสามารถและทักษะของตัวเองเป็นอย่างดี

     ·          ใช้วิธีการ ดึงดูด ไม่ผลักดัน “ ดึงดูด” ให้แต่ละคนทราบถึงความรู้ที่จำเป็นต้องมีเพื่อทำให้งานบรรลุเป้าหมายหรือประสบผลสำเร็จ ดังนั้นกิจกรรมการฝึกอบรมที่จะเป็นตัว”ผลักดัน” ข้อมูลที่จำเป็นให้พวกเขาก็จะทำได้ง่ายขึ้น

     ·           ทันเวลา ทำให้คนสามารถดึงเอาความรู้มาใช้ได้ทันทีเมื่อจำเป็นเพื่อทำให้งานบรรลุเป้าหมาย

     ·           เกิดความพึงพอใจทันที เนื้อหาที่เรียนรู้สอดคล้องกับการนำไปยุกต์ใช้งานได้โดยตรง และเห็นผลทันที

     ·           เรียนรู้เป็นรายบุคคล รูปแบบ จำนวน และอัตราการเรียนรู้ ออกแบบเฉพาะให้เหมาะกับรูปแบบการเรียนรู้ ประสบการณ์ และสถานการณ์ ของแต่ละบุคคล

     ·           มีความทันสมัย/ทันต่อเหตุการณ์ เนื้อหาการเรียนรู้ถูกกำหนดหรือสร้างขึ้นทันหรือใกล้เคียงกับเวลาที่ต้องการมากที่สุด ดังนั้นจึงมีความทันสมัย และตรงกับปัญหาที่เผชิญอยู่


        เป็นอย่างไรบ้างค่ะกับแนวคิดข้างต้น ท่านผู้อ่านท่านใดที่สนใจลองนำไปปรับใช้ดูน่ะค่ะ และได้ผลเป็นอย่างไรก็อย่าลืมส่งข่าวมาเล่าสู่กันฟังน่ะค่ะ

      

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที