พยัพ

ผู้เขียน : พยัพ

อัพเดท: 19 ก.ย. 2013 09.22 น. บทความนี้มีผู้ชม: 277063 ครั้ง

การทำกิจกรรม 5ส ให้ประสบความสำเร็จจะทำอย่างไร มีการนำทางในเชิงปฎิบัติอย่างไรที่มองเห็นและปฎิบัติตามได้ หากสนใจลองแวะมาอ่านบทความนี้แล้วเรามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดีกว่า สนใจเชิญอ่านได้ครับ


สะดวก

ตอนที่ 3 ( การทำกิจกรรม 5ส )

ท่านที่อ่านการทำกิจกรรม 5ส ไป 2 ตอนแล้วและถ้าลองทำตามดูด้วยจะพบว่าประโยชน์ของการทำ สะสางนั้นช่วยลดอุปสรรคในการปฏิบัติงานไปได้มากทีเดียว พื้นที่ในการปฏิบัติงานจะมีเฉพาะของที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานเท่านั้น วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ เครื่องจักร ที่ติดป้ายแดงเอาไว้ก็ให้จัดการแจกจ่ายไปยังหน่วยงานอื่นๆที่ยังจำเป็นต้องใช้อยู่ได้หรือถ้ายังตัดสินใจไม่ได้ว่าจะขายหรือจะทิ้งก็ให้เคลื่อนย้ายไปยังจุดพักรอการขออนุมัติจากฝ่ายบริหารก่อน พื้นที่ปฏิบัติงานจะได้หาสิ่งของได้ง่ายขึ้นและถ้าจะให้การทำงานมีความคล่องตัวมากขึ้นเราก็จะมาทำ ส. 2 กันโดยการจัดเก็บสิ่งของที่จำเป็นต้องใช้ในการทำงานให้เป็นระบบมีระเบียบนั่นเอง

ส.2 (สะดวก)

ทำความสะอาดก่อนจัดหมวดหมู่

จุดตรวจ

    1. ขจัดของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออกไปก่อน
    2. ทำความสะอาดสถานที่และพื้นที่ว่างจากการเคลื่อนย้ายของที่ไม่จำเป็นต้องใช้ออกไปแล้ว

ลดวิธีการจัดเก็บให้เป็นระบบค้นหาง่าย

จุดตรวจ 1


    1. ใช้วิธีการแบ่งพื้นที่กำหนดขอบเขต 2

    2. ให้ถือว่าส่วนแบ่งทางแนวนอนเป็นแถว และส่วนแบ่งทางแนวตั้งเป็นตอน 3

    3. ใช้ต่ออักษร (A, B,C…………) และตัวเลข (1,2,3…………..)
    4. ใช้อักษรตัวใหญ่, ป้ายชัดเจน

ใส่สีเข้าไปแยกสถานที่ปฏิบัติงาน

  1. พื้น

จุดตรวจ

    1. ให้ใช้สีแตกต่างกันโดยขึ้นอยู่กับหน้าที่งานด้วย เพราะพื้นที่ทำงานต้องการสีที่เหมาะสมสำหรับการทำงาน พื้นที่พักผ่อนต้องการสีที่ผ่อนคลายความตึงเคลียดลง

     

    พื้นที่

    สี

    หมายเหตุ

           
         
         
         

  1. ถ้าพื้นไม่ได้ระดับให้ทำการซ่อมพื้นก่อน
  2. ให้ลดส่วนโค้งนูนทางเดินให้เหลือน้อยที่สุด

 

 

 

การตีเส้นบนพื้น

จุดตรวจสอบ

    1. การทาสีที่นิยมใช้โดยทั่วไปหรือใช้เทปกาว
    2. เริ่มจากการตีเส้นจำแนกทางเดิน และพื้นที่ทำงาน
    3. กำหนดทิศทางสัญจรจะเคลื่อนย้ายขวาหรือซ้าย (ใช้หลักจราจรบนถนน)
    4. ใช้เส้นประสำหรับทางออกและทางเข้า
    5. ใช้แถบลายเสือสำหรับพื้นที่ ที่ต้องการความระมัดระวัง

ชนิด

สี

ความกว้าง

หมายเหตุ

เส้นแบ่ง

ทางเข้า / ออก

ประตูเปิด

เส้นจราจร

แถบลายเสือ

เหลือง

เหลือง

เหลือง

เหลือง

เหลือ และดำ

10 ซม.

10ซม.

10ซม.

เส้นทึบ

เส้นประ

เส้นประ

ลูกศร

เส้นบั้ง

Storage

Space

lines

งานระหว่างทำ

โต๊ะทำงาน

ขาว

ขาว

ขาว

ขาว

5ซม.

5ซม.

3ซม.

5ซม.

เส้นทึบ

เส้นมุม

เส้นประ

เส้นทึบ

· กฎพื้นฐาน : ไม่เดินบนเส้นสีเหลืองหรือเส้นกั้น “เส้นแบ่งถือว่าเป็นเส้นชีวิต”

 

เริ่มต้นด้วยการใช้เส้นแบ่ง

  1. เส้นแบ่ง

จุดตรวจสอบ : จะทาสีเส้นแบ่งอย่างไร

    1. ใช้เฉพาะเส้นตรง
    2. ตีเส้นให้ชัดเจนและเห็นได้ชัด
    3. มีมุมน้อยที่สุด
    4. หลีกเลี่ยงมุมขวา
  1. เส้นทางเข้า / ออก

 

 

จุดตรวจสอบ

    1. เส้นแบ่งใช้เส้นทึบ, เส้นทางเข้า/ออกใช้เส้นประ
    2. ความปลอดภัยเป็นอับดับแรกในการพิจารณากำหนดตำแหน่งเส้นทางเข้า/ออก
    3. มั่นใจว่าทุกคนเข้าใจระบบทั้งหมดเป็นอย่างดี

ตีเส้นประตูเปิด

จุดตรวจสอบ

    1. ให้คิดจากมุมมองของผู้ใช้ประตูเสมอ
    2. พิจารณาเรื่องความปลอดภัยตลอดเวลา
    3. ใช้ป้ายคำพูด “ห้ามเปิดประตูนี้ทันทีทันใด”
    4. เส้นบนพื้นบอกถึงอันตราย

ตีเส้นจราจร

จุดตรวจสอบ

    1. ใช้ลูกศรสีเหลืองหรือขาว
    2. ต้องกำหนดระยะห่างระหว่างลูกศรและหัวมุมลูกศร
    3. อย่าลืมทำเครื่องหมายบันใด และขั้นบันใด

แถบลายเสือ( Tiger Pattern)

จุดตรวจสอบ

    1. จัดทำรายชื่อสถานที่อันตราย
    1. เครื่องหมายแถบลายเสือชัดเจนมากไหม
    1. บางทีอาจจะเป็นสิ่งของที่ทิ่มออกมาจากทางซ้ายของทางเดิน

ตีเส้นจัดเก็บเครื่องมืออุปกรณ์

จุดตรวจสอบ

    1. จัดทำรายการพื้นที่ใช้สอยสำหรับการจัดเก็บงานระหว่างทำ
    2. จัดทำรายการพื้นที่จัดเก็บอื่น ๆ เช่น โต๊ะงาน
    3. สีขาวเป็นสีที่ใช้มากที่สุดแต่อย่างไรก็ตามสีแดงหรือสีอื่นๆก็ใช้ได้สำหรับชี้บ่งสิ่งบกพร่อง

จัดทำบอร์ด และป้ายแสดงให้เห็น

กลยุทธ์ : แสดงโครงสร้างองค์กรให้ทุกคนมองเห็น

  1. กลยุทธ์ การใช้กระดานป้ายในสถานที่ทำงาน





โรงงาน สถานที่ทำงาน สายงาน กระบวนการ งาน

จุดตรวจสอบ

    1. ป้ายต้องใหญ่และมองเห็นชัดเจน
    2. ใช้สีที่แตกต่างกัน โรงงาน สถานที่ทำงาน และสายการผลิต
    3. กระดานป้ายหลักจะต้องชัดเจนเมื่อมองมาจากทางเข้าโรงงาน

กลยุทธ์การให้รายละเอียดป้าย

จุดตรวจสอบ

    1. ทุกป้ายจะต้องใหญ่พอที่จะมองเห็นชัดเจน
    2. ป้ายชี้บ่งเครื่องจักรทุกตัวให้ใช้ชื่อและหมายเลข
    3. ใช้สีหลากหลายได้

กุญแจสำคัญ 3 อย่างของการทำสะดวก

  1. สะดวกได้มาจากการกำหนดมาตรฐาน

จุดตรวจสอบ : ให้มีหนึ่งความหมาย และมี 3 จุดสำคัญ

 

 

 

 

keyword 3 points 3 keys



1.ที่ไหน ตำแหน่งแน่นอน




1.มองเห็นชัด 2.อะไร สิ่งของแน่นอน
3 key




2.หยิบได้เร็ว 3.เท่าไร จำนวนแน่นอน


3.เก็บคืนที่เดิมง่าย

 

 

 

  1. กฎพื้นฐานของการจัดเก็บ 3 ข้อ

จุดตรวจสอบ


    1. ที่ไหน กำหนดตำแหน่งจัดเก็บให้แน่นอน

    2. อะไร บ่งบอกชื่อสิ่งของให้ชัดเจน =

    3. เท่าไร ระบุจำนวนที่จัดเก็บ

 

 

 

 

 

















  1. กำหนดตำแหน่งจัดเก็บให้แน่นอน

จุดตรวจสอบ

    1. ชี้บ่งการแยกตู้, ใช้อักษร (A,B,C…..) หรืออย่างอื่นตามความเหมาะสม
    2. แต่ละตู้จะถูกแบ่งออกเป็นแถวและช่อง ชั้น
    3. หมายเลขแถวให้ใช้อักษร A,B,C หรือ 1,2,3 จากซ้ายไปขวา
    4. หมายเลขช่องให้นับจากบนลงล่าง
    5. ชั้นบนสุดห้ามใช้เป็นสถานที่เก็บสิ่งของ จึงไม่มีหมายเลข
  1. บ่งบอกชื่อสิ่งของให้ชัดเจน

จุดตรวจสอบ

    1. ชี้บ่งสิ่งของ ป้ายบนสิ่งของที่เก็บไว้
    2. บอกชั้นวาง ป้ายแสดงให้รู้ว่าสิ่งของอะไรที่เก็บไว้บนชั้น
    3. ถ้าป้ายชี้บ่งสิ่งของได้ถูกออกแบบไว้สำหรับการเคลื่อนย้าย มันสามารถใช้กับ kanban สำหรับสินค้าคงคลังและคำสั่งซื้อได้
    4. ป้ายชี้บ่งชั้นวางสามารถเคลื่อนย้ายเพื่อความสะดวกในการจัดเก็บหรือปรับเปลี่ยนพื้นที่ทำงาน
  1. ระบุจำนวนที่จัดเก็บ

จุดตรวจสอบ

    1. จำกัดขนาดของสถานที่จัดเก็บและชั้นวาง
    2. ชี้บ่งชัดเจนว่าจำนวนที่เก็บน้อยสุดและมากสุดมีเท่าใด
    1. ใช้เครื่องหมายดีกว่าตัวเลข
    2. จำนวนจะเป็นเพียงแค่ชำเรืองตามองไม่จำเป็นต้องนับก็ได้
  1. ป้ายบอกการจัดเก็บของงานระหว่างทำ

จุดตรวจสอบ

    1. ชื่อสถานที่จัดเก็บ · ชื่อและรหัสของสถานที่จัดเก็บ
    2. ชื่อผลิตภัณฑ์ · ชื่อและรหัสของผลิตภัณฑ์ที่เก็บ
    3. กระบวนการย้อนหลัง · กระบวนการถัดไป ชี้บ่งกระบวนการ
    4. มาก / น้อย ----- จำนวนเก็บมากสุดและน้อยสุด
    5. ผู้รับผิดชอบ ----- ชื่อของบุคคลผู้รับผิดชอบ

ชื่อสถานที่จัดเก็บ

 

รหัสสถานที่จัดเก็บ

 

ชื่อผลิตภัณฑ์

 

รหัสผลิตภัณฑ์

 

 

 

 

ปริมาณ

มาก น้อย

 

ผู้รับผิดชอบ

 

เปลี่ยนวิธีจัดเก็บเครื่องมือ/อุปกรณ์เป็นแบบเปิด

จุดตรวจสอบ

    1. ถ้าจิ๊ก และเครื่องมือถูกจัดเก็บไว้ในลิ้นชัก, กล่อง จะมองไม่เห็น
    2. จิ๊ก และเครื่องมือจะมองเห็นได้เพียงแค่ชำเรืองตามองก็พอ
    3. การจัดเก็บที่มองเห็นได้ง่ายเป็นการจัดเก็บแบบระบบเปิด

จัดเก็บตามหน้าที่การใช้งาน

ละเอียด ชี้บ่งแน่นอน

จุดตรวจสอบ

1.ค้นหาจิ๊กและเครื่องมือที่ใช้ในการทำงานและจัดทำารายการให้ครบถ้วน

2.กำหนดสถานที่การจัดเก็บและจัดวางให้ชัดเจน

3.การเงยหน้ากระดานขึ้น เป็นแนวคิดหนึ่งในการจัดวางที่มองเห็นได้ง่าย

4.แยกประเภทจิ๊ก และเครื่องมือจัดกลุ่มให้ชัดเจนเพื่อการหยิบใช้ที่รวดเร็ว

สำหรับปีนี้ก็คงจะส่งท้ายปีเก่า (2549 )กันตอนที่3 นี้ใครไม่ได้ไปเที่ยวไหนใกลมีเวลาว่างก็อ่านประดับความรู้และถ้าลองนำไปทำดูก็น่าจะเป็นประโยชน์บ้างไม่มากก็น้อยนะครับพบกันใหม่ปีหน้า ส.ค.ส. 2550

พยัพ มาลัยศรี

ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม

ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที