พยัพ

ผู้เขียน : พยัพ

อัพเดท: 19 ก.ย. 2013 09.22 น. บทความนี้มีผู้ชม: 276858 ครั้ง

การทำกิจกรรม 5ส ให้ประสบความสำเร็จจะทำอย่างไร มีการนำทางในเชิงปฎิบัติอย่างไรที่มองเห็นและปฎิบัติตามได้ หากสนใจลองแวะมาอ่านบทความนี้แล้วเรามาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันดีกว่า สนใจเชิญอ่านได้ครับ


ป้ายแดง

ตอนที่2.

ในตอนที่2 นี้เดิมตั้งใจจะเขียนถึง ส2 เลยแต่มาทบทวนดูอีกทีจะเร็วไปหรือเปล่าเพราะบางท่านที่ยังไม่มีประสบการณ์ในการทำ5ส.เลยอาจจะไม่เข้าใจเรื่องการใช้ป้ายแดงดีนัก เพราะถ้าผู้ใช้ไม่เข้าใจหรือใช้ไม่เป็นเครื่องมือตัวนี้จะหมดพลังไปอย่างรวดเร็ว ดังนั้นในตอนที่2 นี้จึงขออธิบายเรื่องป้ายแดงกันให้ชัดเจนเลยดีกว่านะครับจะได้นำไปลุยกันเลยอย่างสิ้นสงสัย

ยุทธการป้ายแดงคืออะไร

จุดตรวจสอบ : ระเบียบวิธีการปฏิบัติสำหรับการใช้ป้ายแดง

1.จุดเริ่มต้น

2.แยกสิ่งของด้วยป้ายแดง

3.กำหนดมาตรฐานการติดป้ายแดง

4.ป้ายแดงของฝ่ายผลิตหรือฝ่ายธุรการ

5.การติดป้ายแดง

6.การติดต่อกันด้วยหัวข้อเรื่องต่าง ๆ ในป้ายแดงและการวัดผล

อะไรบ้างที่เราต้องติดป้ายแดง

จุดตรวจสอบ :

  1. คลัง
  2. วัตถุดิบ, อะไหล่, งานระหว่างทำ, ชิ้นส่วนประกอบ, สินค้าสำเร็จรูป

  3. สิ่งอำนวยความสะดวก
  4. เครื่องจักร, อุปกรณ์, จิ๊ก, เครื่องมือ, เครื่องตัด, แม่พิมพ์, รถเข็น, พาเลท, รถยก, โต๊ะงาน, รถลาก, โต๊ะทำงาน, เก้าฮี้

  5. สถานที่
  6. พื้น, ชั้น, ห้อง

  7. เอกสาร
  8. บันทึก, หนังสือเวียน, รายงานประชุม, รายงานสำนักงาน, แบบ, ใบเสนอราคา, บันทึก, รายการข้อมูล

  9. เครื่องจักร
  10. เครื่องถ่ายเอกสาร, เครื่องคอมพิวเตอร์, แฟกซ์, เครื่องย่อยกระดาษ

  11. การบรรจุ
  12. ปกแฟ้ม, เอกสาร, ตู้เอกสาร, ตู้เก็บของ, กล่องใส่วัสดุ, โต๊ะ, เก้าฮี้

  13. เครื่องเขียน
  14. ดินสอ, ดินสอกด, ปากกาลูกลื่น, คลิ๊บหนีบกระดาษ

  15. อื่น ๆ

สลิบ, นามบัตร, หนังสือ, วารสาร, หนังสือพิมพ์

การจัดทำป้ายแดง

จุดตรวจสอบ

  1. การทำป้ายแเดง
  1. เขียนสาเหตุและบันทึกย่อบนป้าย
  2. ข้อมูลบนป้าย

ด่วน

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ประเภท

1.วัตถุดิบ 5.เครื่องจักร/อุปกรณ์

2.งานระหว่างทำ 6.แม่พิมพ์, จิ๊ก

3.ส่วนประกอบ 7.เครื่องมือ

4.สินค้าสำเร็จรูป 8.อื่น ๆ

ชื่อเรื่อง

 

เลขที่คำสั่ง

 

จำนวน/คุณค่า

เรื่อง

คุณค่า / เรื่อง

รวม

ชี้แจงเหตุผล

1.ไม่จำเป็น 4.วัสดุเหลือใช้

2.ผลิตเสีย 5.ไม่รู้

3.ไม่ด่วน 6.อื่น ๆ

หน่วยงานรับผิดชอบ

_______________แผนก________________ส่วน________________กลุ่ม

การกระทำ

1.ยกเลิกการใช้

2.นำกลับมาใช้

3.ย้ายไปที่จัดเก็บสิ่งของป้ายแดง

4.แยกเก็บ

5.อื่น ๆ

เสร็จเรียบร้อยแล้ว

วันที่ทำ

วันที่ติดป้าย

ปี_______เดือน__________วัน_______

วันที่ปรับปรุงแก้ไข

ปี_______เดือน__________วัน_______

เอกสารอ้างอิงหมายเลข

 

การติดป้ายแดง

จุดตรวจสอบ

    1. ผู้รับผิดชอบ : ผู้จัดการหรือสมาชิกที่ไม่ได้รับผิดชอบโดยตรงเกี่ยวกับเครื่องจักรหรือบริเวณทำงาน
    2. ระยะเวลาติดป้าย : 1 วัน หรือถ้าจำเป็น 2 วัน
    3. ทัศนคติ : พนักงานจะมีความเชื่อว่าทุกสิ่งทุกอย่างจำเป็น

ให้มองสถานการณ์ประจำวันเป็นเรื่องวิกฤตให้ปฎิบัติทันที

การแก้ไข และวัดผล

จุดตรวจสอบ

    1. สถานที่จัดเก็บ แบ่งป้ายออกเป็น 4 ประเภท










    2.  

       

    3. อุปกรณ์ ขจัดสิ่งของที่เป็นอุปสรรคต่อการปรับปรุง

ผมคิดว่าท่านที่อ่านมาถึงตรงนี้แล้วคงจะเข้าใจแล้วนะครับว่าปายแดงคืออะไร มีอะไรบ้างที่เราต้องติดป้ายแดง แล้วเจ้าป้ายแดงนี่มันมีหน้าตาเป็นอย่างไรน่าตาน่าเกลียดน่ากลัวหรือว่าน่ารักมากน้อยแค่ใหน ทำเองได้ไหม ?มีป้ายแดงแล้วมีเทคนิคการติดอย่างไร ติดแล้วทำอะไรต่อไป ใครรับผิดชอบ วัดผลกันที่ตรงไหน ก็คงได้รับความกระจ่างมากขึ้น คราวนี้ก็ลุยได้แล้วนะครับอาจเหนื่อยหน่อยนะครับตอนเริ่มต้นแต่ต่อไปจะสบายนานๆ

พยัพ มาลัยศรี

ที่ปรึกษาอุตสาหกรรม

ฝ่ายวินิจฉัยและให้คำปรึกษาสถานประกอบการ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที