อ.อุดม

ผู้เขียน : อ.อุดม

อัพเดท: 02 ส.ค. 2007 19.00 น. บทความนี้มีผู้ชม: 520556 ครั้ง

แนะนำมือใหม่หัดขับ ที่สนใจการบริหาร TQM


เดมมิ่ง กับ หลักการบริหารคุณภาพ 14 ข้อ (ตอนที่ 11)

11.       a. Eliminate work standards (quotas) on the factory floor. Substitute leadership.
b. Eliminate management by objective. Eliminate management by numbers, numerical goals. Substitute leadership.

เลิกใช้มาตรฐานที่ไม่เข้าท่า(ดีในอดีต แต่ไม่เหมาะกับปัจจุบัน) หรือการกำหนดตัวเลขโควตาของผลผลิต แต่จงใช้ภาวะผู้นำ

การกำหนดโควตาผลผลิตต่อวันสำหรับแต่ละหน่วยผลิต นับเป็นสิ่งที่ปฏิบัติกันมานานแล้ว ตั้งแต่ยุค TAYLOR ที่ได้ให้กำเนิดทฤษฎี SCIENTIFIC MANAGEMENT SYSTEM โดยกำหนดให้มีระบบการจ่ายค่าตอบแทนเป็นรายชิ้น หรือ PIECE-RATE SYSTEM ซึ่งอาจเป็นเครื่องมือที่ใช้ควบคุมฝ่ายผลิตได้ว่า แต่ละวันจะมีงานออกมากี่ชิ้น แต่ไม่อาจให้หลักประกันอะไรเลยว่างานที่ออกมานั้น จะใช้การได้ดีและปลอดของชำรุด

ในประเด็นนี้ ดร.เด็มมิ่ง ได้ชี้ให้เห็นผลเสียของการกำหนดตัวเลขโควตาผลผลิตเป็นรายวันด้วยเหตุผลว่า

1.               ระบบโควตา จะฝึกและสอนให้คนงานในฝ่ายผลิตมุ่งสนใจปริมาณผลงานมากกว่าคุณภาพที่ใช้การได้

2.               บริษัทอุตสาหกรรมเหล็กกล้าแห่งหนึ่งในอเมริกา ได้กำหนดเงื่อนไขจ่ายรางวัลตอบแทนสำหรับยอดงานหล่อที่สามารถทำได้มากกว่ามาตรฐานที่กำหนด โดยมิได้ระบุอะไรที่ชัดเจนเกี่ยวกับจำนวนงานหล่อที่ใช้ไม่ได้ และต้องส่งกลับมาหลอมใหม่เลย

3.               ไม่เพียงแต่พนักงานฝ่ายผลิตเท่านั้น แม้แต่ตัวซุปเปอร์ไวเซอร์และผู้จัดการฝ่ายผลิตเองก็ตาม เขาจะไม่ผลิตสินค้าออกมา วันละ 7,000  หน่วย หากว่าโควค้าตั้งไว้เพียง 5,000 หน่วยต่อวัน และเขาจะไม่บันทึกยอดผลิตจริง 5,500 หน่วยต่อวัน หากว่าเขารับปาก หรือ COMMIT ไว้เพียง 5,000 หน่วย อีก 500 หน่วย เขาจะเก็บเอาไว้เผื่อว่าวันพรุ่งนี้ เขาอาจจะทำยอดตก จะได้เก็บไว้สมทบยอดให้ครบ

4.               มีสายการบินแห่งหนึ่งในอเมริกากำหนดว่าพนักงานรับสำรองที่นั่งทางโทรศัพท์แต่ละคนจะต้องบันทึกการรับสาย 25 ครั้งต่อชั่วโมง สิ่งที่พวกพนักงานพยายามทำไม่ให้บกพร่อง คือ การพยายามนับจำนวนรายที่เข้ามาและจดบันทึกเลขหมายลงในสมุดบันทึกตลอดเวลา มิให้ขาดตกหล่นแน่นอน พนักงานอาจจะบันทึกไม่ให้ผิดพลาดเลย แต่ถามจริงๆเหอะว่า งานของพวกเขาคืออะไรกันแน่

·        รับและจดบันทึกโทรศัพท์ 25 ครั้ง ต่อ ชั่วโมง หรือ

·        ให้บริการสำรองที่นั่งที่ประทับใจลูกค้า

ดร.เดมมิ่ง ได้ให้ข้อคิดในเรื่องเหล่านี้ว่า

5.               การวัดผลงานของคน ด้วยการกำหนดโควต้าผลผลิตนั้นจะทำให้พนักงานไม่พยายามช่วยกันปรับปรุงกระบวนการผลิตเพราะพวเขาทราบดีว่าเมื่อผลิตภาพดีขึ้นหลังจากปรับปรุงแล้ว ผลก็คือ ตัวเลขโควตาจะต้องถูกปรับปรุงให้สูงขึ้นตาม (โดยไม่พูดถึงค่าแรง) อันนี้คือพฤติกรรมของฝ่ายบริหารไม่น้อย ในอุตสาหกรรมอเมริกา (รวมทั้งผู้บริหารไทยๆด้วย-ผู้เขียน)

ฉะนั้น ก่อนจะปรับปรุงคุณภาพทั้งระบบ ฝ่ายบริหารจะต้องยุติการสร้างความไม่ไว้วางใจซึ่งกันและกัน หันมาสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกันและกีนระหว่างฝ่ายจัดการกับฝ่ายแรงงานก่อน ด้วยการเลิกวัดคนเพียงยอดผลของงานที่ทำได้หรือไม่ได้ ตามโควต้าการผลิตเสียที

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที