นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.21 น. บทความนี้มีผู้ชม: 120315 ครั้ง

งานเชื่อม และการตัดวัสดุ มีวิธีการมากมายที่จะนำมาใช้งาน ในบทความนี้จะกล่าวถึงงานเชื่อมโลหะใต้น้ำ ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอันตราย และผู้ทำการเชื่อมต้องมีประสบการณ์ในงานเชื่อมมาอย่างดี เรามาดูหลักการ, มาดูวิธีการเชื่อม และเครืองมือที่ทำการเชื่อมกัน
www.thummech.com


4. อันตรายที่อาจเกิดขึ้น

4. อันตรายที่อาจเกิดขึ้น

 

อันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นได้ของช่างเชื่อมใต้น้ำมีดังนี้

 

รูประวังไฟฟ้าช๊อต

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปสายไฟฟ้าที่ใช้เชื่อมควรหุ้มฉนวนอย่างดีป้องกันไฟฟ้ารั่ว หรือลัดวงจร

 

รูปการวางสายไฟเชื่อมขณะทำการเชื่อมใต้น้ำ

 

      ประการแรก อาจเกิดขึ้นจากไฟฟ้าช๊อต, รั่ว หรือลัดวงจรใต้น้ำ ดังนั้นก่อนทำการเชื่อมใต้น้ำ ควรตรวจสอบอุปกรณ์เชื่อมทุกชิ้นขณะอยู่บนผิวน้ำให้มีสภาพที่พร้อมใช้งาน และเกิดความปลอดภัยก่อนที่จะนำลงไปทำการเชื่อมใต้น้ำทุกครั้ง เพื่อป้องกันอุบัติเหตุที่ไม่คาดฝันจะเกิดขึ้นจากไฟฟ้าช๊อตผู้ที่อยู่ใต้น้ำ และสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล สายไฟที่นำไปเชื่อมควรเคลือบห่อหุ้ม และป้องกันด้วยฉนวนอย่างดี นอกจากนี้ยังสามารถปิดแหล่งจ่ายกระแสไฟฟ้าให้กับเครื่องเชื่อมได้ทันทีเมื่อเชื่อมเสร็จ

 

รูปถังออกซิเจนที่ต้องตรวจสอบอยู่เสมอก่อนดำน้ำไปทำการเชื่อม

 

      ประการที่สอง ถังออกซิเจน และไฮโดรเจน จากวิธีการเชื่อมแบบเปียก อาจเสี่ยงต่อการระเบิดของถัง ต้องตรวจดูสภาพของถัง สภาพของวาล์วควบคุมแรงดันแก๊สว่าอยู่ในสภาพดีหรือไม่ ก่อนนำมาใช้งาน

 

      ประการที่สาม ขณะที่ช่างเชื่อมใต้น้ำทำการเชื่อมใต้น้ำนาน ๆ ต้องระมัดระวัง แก๊สไนโตรเจนที่จะเข้าสู่กระแสเลือดในระหว่างทำงานเชื่อมอยู่ใต้น้ำซึ่งมีจะสภาวะความกัดดันสูง โดยความดันจะเพิ่มขึ้นตามความลึกของน้ำ

       ในส่วนของห้องเชื่อมแบบไฮเปอร์บาริกซึ่งผลจากความดันของอากาศที่ลดลงภายในห้องเชื่อม จะเกิดสภาวะง่วงหาวนอนตามมาหลังจากขึ้นถึงผิวน้ำอย่างรวดเร็ว การเชื่อมทั้งสองวิธีจึงควรจัดเตรียมถังออกซิเจนฉุกเฉินไว้ตลอดเวลา

      นอกจากนี้ ความเย็นของน้ำทะเลจะทำให้เกิดตะคริวได้ง่าย และการขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างรวดเร็วอาจทำให้เกิดอันตรายต่ออวัยวะภายในร่างกายได้โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก็คือปอด จะปรับสภาพต่อความดันที่มีความแตกต่างกันไม่ทันอาจจะทำให้ปอดแตกได้ถ้าขึ้นสู่ผิวน้ำเร็วเกินไป ดังนั้นสมควรอย่างยิ่งที่จะค่อย ๆ ขึ้นสู่ผิวน้ำอย่างช้า ๆ

 

รูปแมงกระพรุนไฟฟ้า

 

รูปปลาฉลาม

 

รูปงูพิษในทะเล

 

      ประการที่สี่ อันตรายที่อาจเกิดจากสัตว์ที่เป็นอันตรายใต้ทะเล เช่น ปลาฉลาม งูพิษในทะเล แมงกะพรุนไฟฟ้า หรือสัตว์ที่มีพิษอื่น ๆ ก่อนลงไปทำการเชื่อมควรศึกษาสภาพแวดล้อมใต้น้ำ บริเวณใดที่มีสัตว์น้ำที่จะทำอันตรายชุกชุม ควรมีอุปกรณ์ป้องกัน และควรมีเพื่อนร่วมดำน้ำเพื่อเฝ้าระวังอันตรายจากสิ่งเหล่านี้         

 

วิดีโอการเชื่อมใต้น้ำแบบเปียก

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

 

“ไม่มีใครไปถึงดวงดาวได้โดย
ปราศจากมือที่เปื้อนโคลน”

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที