นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4296821 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


45 การทำเหล็กอินก็อท

6.5 กระบวนการทำเหล็กอินก็อท

 

รูปเหล็กอินก็อท

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

      เหล็กอินก็อท หรือแท่งโลหะ (Ingot) เป็นการหล่อน้ำเหล็กกล้าลงในแม่พิมพ์เพื่อให้เกิดการเย็น และแข็งตัว พร้อมที่จะนำไปแปรรูป ให้เป็นเหล็กกล้ารูปพรรณในรูปแบบต่าง ๆ เตรียมที่จะนำไปใช้งาน กระบวนการทำเหล็กกล้าอินก็อทจะมีอยู่ 3 ขั้นตอนหลัก ๆ ได้แก่

 

รูปตัวอย่างแม่พิมพ์ที่ใช้ทำเหล็กอินก็อท

 

1)           การเทออก (Teeming) เป็นการเทเหล็กกล้าที่หลอมเสร็จแล้วลงไปสู่แบบแม่พิมพ์อินก็อท

2)           การแกะออก (Stripping) เป็นการนำแท่งเหล็กอินก็อทออกจากแบบพิมพ์อินก็อท

3)           การคงความร้อน (Soaking) เป็นการให้ความร้อนแก่แท่งเหล็กอินก็อท เพื่อคงสภาพ และรักษาคุณสมบัติของโลหะไว้

 

6.5.1 การเทออก

      เมื่อทำการหลอมเหล็กกล้าเสร็จแล้ว น้ำเหล็กจะนำออกจากเตาหลอม มันถูกลำเลียง และนำไปเทลงในแม่พิมพ์อินก็อท

 

รูปการเทเหล็กกล้าที่หลอมเสร็จแล้วลงในแม่พิมพ์เพื่อทำเป็นเหล็กอินก็อท

 

รูปน้ำเหล็กกล้าที่กำลังถูกเทลงในบล็อกแม่พิมพ์ทำเหล็กอินก็อท

 

แม่พิมพ์อินก็อทมีรูปร่างเป็น พื้นที่หน้าตัดเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสี่เหลี่ยมมุมฉาก มีรูปร่างเรียวลง ขอบมีมุมกลมมน ขนาดพื้นที่หน้าตัดของเหล็กอินก็อทมีขนาดกว้าง 8 – 15 cm (3² –6²) และความสูง8 – 20 cm (3² – 8²) ดูที่รูป 6.36

 

รูปร่างของเหล็กอินก็อท

       

6.5.2 การแกะออก

      ในไม่ช้า อนุภาคของเหล็กอินก็อทก็เริ่มเย็นตัวลง จากนั้นจะต้องมีการแกะแยกออกจากแม่พิมพ์อย่างเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ในการแกะออกเหล็กจะถูกดึงออกทางด้านบนโดยมีเครนเหนือหัวอยู่ในแต่ละแม่พิมพ์ เครนจะยกเปลือกของแม่พิมพ์ขึ้น เพื่อที่จะแยกกันออกจากเหล็กอินก็อทขณะที่ยังร้อนแดงอยู่ (กลายสภาพเป็นของแข็งแล้ว)

 

รูปเหล็กอินก็อทที่กำลังถูกดึงแม่พิมพ์ออกด้วยเครนเหนือศีรษะ

 

6.5.3 การคงความร้อน

 

รูปตัวอย่างเหล็กอินก็อทที่กำลังถูกลำเลียงออกจากบ่อแช่

 

      หลังจากที่แกะออกแล้ว เหล็กอินก็อทที่ร้อนแดงจะถูกลำเลียงไปที่ บ่อ (Pit) แช่ บ่อแช่เป็นเตาให้ความร้อนเล็ก ๆ โดยปกติมันอยู่ที่ด้านล่าง ดังนั้นมันดูคล้ายกับบ่อ เหล็กอินก็อทมันจะถูกนำแช่ที่บ่อแช่ใช้เวลา 6-8 ชั่วโมง อุณหภูมิประมาณ 1,200°C (2,200°F) ซึ่งเป็นการให้ความร้อนสม่ำเสมอตลอดทั้งตัวเหล็กอินก็อท

       วัตถุประสงค์ของการคงความร้อน ก็คือการป้องกันผิวนอกของเหล็กอินก็อทไม่ให้เกิดการแข็งตัวก่อนเนื้อแท่งเหล็กภายใน ถ้าเหล็กอินก็อทไม่ได้ผ่านการแช่คงความร้อน ธาตุต่าง ๆ ที่ผสมในเหล็ก เช่น คาร์บอน, ฟอสฟอรัส และกำมะถัน (ที่จะกลายเป็นของแข็งอยู่ภายในเนื้อเหล็ก) บางส่วนจะกระจุกรวมตัวกันตรงกลางเนื้อเหล็ก มันจะไม่กระจายตัวออกไปทั่วเนื้อเหล็ก

 

รูปเหล็กอินก็อทหลังจากผ่านบ่อแช่แล้ว กำลังถูกลำเลียงไปยังโรงรีดเหล็ก

 

      หลังจากที่ทำการคงความร้อนเสร็จ เหล็กอินก็อทที่กำลังร้อนจะถูกเคลื่อนที่ออกจากบ่อแช่ แล้วลำเลียงไปยัง โรงรีดเหล็ก (Rolling mill)

วิดีโอการเทอลูมิเนียมจากการหลอมสู่แม่พิมพ์อินก็อท (หาวิดีโอที่เป็นเหล็กอินก็อทไม่ได้แต่เป็นทำนองเดียวกัน)

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“การที่เรา “เคยพ่ายแพ้ ซักวันหนึ่ง

มันจะกลายเป็น สิ่งที่มีค่ามหาศาลต่อเรา..”

 

 

 

 

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที