นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4296962 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


14. การแบ่งสเกลร็อคเวล

3.9.2 การแบ่งสเกลร็อคเวล

 

      การที่ใช้หัวทดสอบที่เป็นหัวลูกบอล และหัวกดเพชรทรงกรวย ทำให้สามารถแบ่งสเกล ความแข็งของการทดสอบแบบร็อคเวลได้ 9 แบบ โดยแบ่งตามหัวกด และน้ำหนักที่ใช้กดทดสอบโดยมีการแบ่งสเกลออกได้ดังนี้ สเกลร็อคเวล RA , RB, RC,  RD , RE ,RF ,RG, RH และ RK ในแต่ละสเกลอยู่ที่การใช้ชนิดหัวกด และลักษณะการนำไปใช้งาน ดูการแบ่งสเกลร็อคเวลได้ที่ตาราง 3.5

 

                แรงกด

หัวกด

60 กิโลกรัม

100 กิโลกรัม

150 กิโลกรัม

หัวกดเพชรทรงกรวย

สเกลร็อคเวล A (RA)

RD

RC

หัวกดลูกบอล 1/16 นิ้ว

RF

RB

RG

หัวกดลูกบอล 1/8 นิ้ว

RH

RE

RK

ตารางที่ 3.5 แสดงการแบ่งสเกลของร็อคเวลตามหัวกด และแรงกด

ตัวอย่างสเกลร็อคเวลที่นำไปใช้กับวัสดุทดสอบ   

RA สเกลนี้นิยมใช้กับ ซีเมนต์คาร์ไบน์ (Cemented carbides), เหล็กแผ่นบาง (Thin steel) และเหล็กกล้าแข็งที่ไม่หนามากนัก

 

รูปมีดคาร์ไบน์ที่สามารถนำมาทดสอบด้วยสเกลร็อคเวล A

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

RB สเกลนี้นิยมใช้กับ ทองแดงผสม, เหล็กกล้าเบา (Soft steel), อลูมิเนียมผสม, เหล็กมัลลีเบิล (Malleable iron)

 

รูปทองแดงผสมที่นิยมทดสอบความแข็งแบบสเกลร็อคเวล B

 

RC สเกลนี้นิยมใช้กับ เหล็กกล้า, เหล็กหล่อแข็ง, เหล็กกล้าแข็ง และวัสดุที่มีความแข็งอื่น ๆ ที่แข็งกว่า 100 RB

 

รูปเหล็กกล้าข้ออ้อยที่นิยมผ่านการทดสอบด้วยสเกลร็อคเวล C

 

RD สเกลนี้นิยมใช้กับ เหล็กกล้าบาง และเหล็กกล้าผ่านการชุบแข็ง และเหล็กมัลลีเบิลเพิลลีติก (Pearlitic malleable iron)

 

รูปเฟืองเหล็กกล้าผ่านการชุบแข็งนิยมทดสอบความแข็งด้วยสเกลร็อคเวล D

 

RE สเกลนี้นิยมใช้กับ เหล็กหล่อ, แมงกานีสผสม, โลหะแบริ่ง

 

รูปโลหะแบริ่งที่นิยมทดสอบด้วยสเกลร็อคเวล E

 

RF สเกลนี้นิยมใช้กับ ทองแดงผสมอบอ่อน (Annealed copper), โลหะแผ่นบาง

 

รูปท่อทองแดงอบอ่อนนิยมทดสอบความแข็งสเกลร็อคเวล F

 

RG สเกลนี้นิยมใช้กับ ฟอสเฟอร์บรอนซ์, ทองแดงเบริลเลียม, เหล็กหล่อมัลลีเบิล

 

รูปซี-แคล็ม โครงซีทำจากเหล็กหล่อมัลลีเบิลนิยมทดสอบด้วยสเกลร็อคเวล G

 

RH สเกลนี้นิยมใช้กับ อลูมิเนียม, สังกะสี, ตะกั่ว

 

รูปแท่งตะกั่วที่นิยมทดสอบด้วยสเกลร็อคเวล H

 

      ในการที่จะเลือกใช้สเกลใดก็ขึ้นอยู่กับการนำไปใช้งาน วัสดุที่ทำการทดสอบ จะเห็นได้ว่าสเกล  RC ใช้กับวัสดุที่มีความแข็งที่สุดได้ จึงสามารถนำมาใช้กับวัสดุเกือบทุกชนิดได้ ส่วนสเกลอื่น ก็ขึ้นอยู่กับชนิดของวัสดุ และต้องการความประหยัด เป็นเพราะว่า หัวกดเพชรนั้นมีราคาแพงกว่าหัวกดลูกบอล

      ในทางอุตสาหกรรมที่มีการทดสอบความแข็งโลหะแบบร็อคเวล นิยมใช้สเกลร็อคเวล RC และ RB ในสเกล RC นั้นเหมาะกับโลหะที่มีความแข็งมาก ส่วนสเกลร็อคเวล RB เหมาะที่จะใช้กับโลหะที่มีอ่อนกว่า, เหล็กกล้าคาร์บอนต่ำ (Low-carbon steels), อลูมิเนียม และโลหะที่ไม่ใช่เหล็กที่มีความอ่อน

     

3.9.3 ข้อดี และข้อเสียของการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

ข้อดีของการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

·       สามารถหาค่าความแข็งจากข้อมูลที่ได้โดยตรง

·       ใช้เวลาการทดสอบที่รวดเร็ว 

·       แรงรองกระทำลงไปก่อนทำให้ ไม่ค่อยมีผลต่อพื้นผิวที่เตรียมการไม่ค่อยดี (แต่ต้องไม่มาก)

·       ความผิดพลาดจากมนุษย์จะลดลง เป็นเพราะสามารถอ่านค่าความแข็งได้โดยตรงจากสเกล

ข้อเสียประกอบไปด้วย

·       สเกลที่ไม่สัมพันธ์กันมีให้เลือกใช้งานเป็นจำนวนมาก

·       ผลกระทบที่เกิดขึ้นที่ทั่งวางรองรับชิ้นงาน (ลองนำกระดาษฟอยล์บุหรี่วางใต้บล็อกทดสอบ และจะเห็นผลในการทดสอบ ส่วนความแข็งแบบบริเนล และวิคเกอร์จะไม่ส่งผลกระทบจากแรงกระทำตรงนี้)

 

วิดีโอการทดสอบวัสดุด้วยเครื่องทดสอบแบบร็อคเวล

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“การให้อภัยไม่ต้องลงทุนอะไรเลย
แต่การแก้แค้นลงทุนมาก”

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที