นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 17 ม.ค. 2015 07.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 4292301 ครั้ง

www.thummech.com
เป็นความรู้เกี่ยวกับโลหะในทางทฤษฏี ทั้งโลหะที่เป็นเหล็ก และไม่ใช่เหล็ก
โลหะที่เป็นเหล็กที่จะกล่าวก็คือ เหล็ก และเหล็กกล้า
โลหะที่ไม่ใช่เหล็ก เช่น อลูมิเนียม ทองแดง แมกนีเซียม ฯลฯ
ตัวอย่างที่จะกล่าวในหนังสือเล่มนี้จะกล่าวเกียวกับ
- กรรมวิธีการผลิตโลหะ
- คุณสมบัติของโลหะ
- การวิเคราะห์โครงสร้างโลหะ
- การปรับสภาพของโลหะ
- แนวทางที่จะนำไปใช้ประโยชน์
-ฯลฯ

ลองติดตามผลงานดูนะครับ ติชมกันได้นะ มีคำถามอะไรก็ถามได้ ถ้ารู้ก็จะตอบให้ครับ

เมื่อการพัฒนาทางด้านวัตถุมีสูง มองมุมกลับ การพัฒนาทางด้านจิตใจ ด้านคุณธรรมก็ต้องให้สูงตามไปด้วย

วัตถุประสงค์ที่ทำก็คือ อยากเห็นประเทศของเรามีความทัดเทียม หรือเหนือกว่าประเทศที่พัฒนาแล้ว มีการสร้างเทคโนโลยีเป็นของตัวเอง ไม่ต้องตามใคร


13 3.9 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

3.9 วิธีการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล (Rockwell Hardness Testing Method)

 

       วิธีการร็อคเวล เป็นวิธีที่ใช้กันอย่างกว้างขวางที่สุดในการทดสอบความแข็งของโลหะในแวดวงอุตสาหกรรม การทดสอบทำได้อย่างรวดเร็ว และอ่านค่าได้โดยตรงทันที โดยไม่ต้องทำการวัดขนาดรอยกดบุ๋ม อีกทั้งยังทดสอบวัสดุที่มีขนาดเล็ก และแข็งมากได้ หัวกดทดสอบร็อคเวลมีอยู่ 2 ชนิด นั่นก็คือ หัวกดเพชรทรงกรวย (Diamond cone) และ หัวกดแบบลูกบอลกลม ทำให้มีสเกลการวัดแบ่งออกได้หลายสเกลจะได้กล่าวถึงรายละเอียดในหัวข้อต่อ ๆ ไป  

หัวกดจะมีรูปร่างเป็นกรวยแหลม และค่าความแข็งของร็อคเวลเป็นที่นิยม และให้ความแม่นยำค่าความแข็งที่สูงมาก เครื่องทดสอบสามารถดูได้จากรูป

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

รูปเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล 2

 

รูปเครื่องทดสอบควาแข็งแบบร็อคเวลรุ่นเก่า

 

3.9.1 ขั้นตอนการทดสอบแบบร็อคเวล

       การใส่แรงเพื่อทดสอบวัสดุในแบบร็อคเวลนั้นมีอยู่สองขั้นตอน ขั้นตอนแรกใส่แรงนำเพียงเล็กน้อย ก่อนที่จะใส่แรงหลักตามไป ส่วนขั้นตอนการทำงานจะมีอยู่ 4 ขั้นตอน   ดูที่รูป

 

รูปหัวกดของเครื่องทดสอบร็อคเวล

 

รูปหัวกดแบบร็อคเวล 2

 

รูปหัวกดขณะกดลงบนชิ้นงาน

 

รูปหัวกดลงบนชิ้นงาน 2

 

รูปการกดลงบนชิ้นงานที่มีทั้งแรงรอง และแรงหลัก

 

ขั้นตอนที่ 1.  นำชิ้นงานวางบนทั่ง หรือโต๊ะวางงานทดสอบ

 

ขั้นตอนที่ 2.  หมุนทั่งขึ้นมาด้วยมือจนกระทั่งชิ้นงานสัมผัสกับหัวกด ป้อนแรงให้กับหัวกดที่เรียก แรงรอง (Minor load) กดลงไปในชิ้นงานทดสอบ แรงนี้จะมีค่าประมาณ 10 กิโลกรัม

  

รูปการกดทดสอบชิ้นงานทรงกระบอก

 

      ต้องป้อนแรงรองก่อนที่จะใส่ แรงหลัก (Major load) เพื่อเป็นการนำร่องรอยกด เพื่อป้องกันการพลาดที่อาจเกิดขึ้น เมื่อเจอผิวที่มีความขรุขระ และไม่ราบเรียบ   

 

ขั้นตอนที่ 3.  หลังจากที่แรงรองกระทำแล้ว ก็จะมีแรงหลัก (ใช้แรงกด 60, 100, 150 กิโลกรัม) ( บวกนับจากแรงรอง 10 + 50, 10 + 90, 10 + 140) กระทำด้วยการใช้มือหมุน หรือกดลงอย่างอัตโนมัติในเครื่องสมัยใหม่ ที่ด้านหน้าของเครื่องทดสอบ แรงหลักที่กระทำนี้ หัวกดจะเคลื่อนที่กดลงไปที่ชิ้นทดสอบ

 

รูปผังแสดงโครงสร้างภายในของเครื่องทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

 

วิดีโอการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล

 

วิดีโอการทดสอบความแข็งแบบร็อคเวล 2

 

      ค่าความแข็ง สามารถอ่านได้โดยตรงจาก การอ่านที่หน้าจอตัวเลขดิจิตอล หรือจากเข็มนาฬิกาวัด ในเครื่องทดสอบ โดยไม่ต้องมีกล้องจุลทรรศน์ อยู่ตรงกลาง สเกลที่อ่านแบบร็อคเวล จะขึ้นอยู่กับความลึกของการกด ในกรณีเครื่องทดสอบแบบอัตโนมัติจะกดลงอัตโนมัติ และอ่านค่าที่กดได้จากการคำวณโดยดูที่หน้าจอคอมพิวเตอร์แสดงผล

 

ขั้นตอนที่ 4. ปลดแรงออก แล้วนำชิ้นงานออกมาจากทั่งวางชิ้นงาน เสร็จสิ้นการทดสอบ

     

หัวกดของการทดสอบแบบร็อคเวลนั้น มีใช้งานอยู่ด้วยกันสามแบบ ได้แก่ 

·       หัวกดลูกบอลทังสเตน-คาร์ไบน์ (Tungsten-carbide) เส้นผ่านศูนย์กลาง 1/8 นิ้ว หรือ ประมาณ 3 มิลลิเมตร

·       หัวกดลูกบอลทังสเตน-คาร์ไบน์ เส้นผ่านศูนย์กลาง 1/16 นิ้ว หรือ ประมาณ 1.5 มิลลิเมตร

 

รูปหัวกดของการทดสอบแบบร็อคเวลแบบหัวเพชร

 

·       รูปหัวกดเพชรทรงกรวย ดูรูปด้านบน

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก

“มักพูดกันว่าเวลาเปลี่ยนทุกสิ่ง แต่จริง ๆ แล้วคุณต้องเปลี่ยนทุกสิ่งด้วยตัวตนเอง”

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที