นิรนาม

ผู้เขียน : นิรนาม

อัพเดท: 15 ม.ค. 2015 08.23 น. บทความนี้มีผู้ชม: 507647 ครั้ง

www.thummech.com
เครื่องยนต์ดีเซล เป็นเครื่องยนต์ที่ให้กำลังงานมากกว่าเครื่องยนต์แก๊สโซลีน เมื่อเทียบความจุกระบอกสูบ เครื่องยนต์ดีเซลจึงเหมาะที่จะนำมาใช้งานหนัก เช่น งานบรรทุก งานในเครื่องจักรกลหนัก ในเรือเดินสมุทร ฯลฯ บทความนี้จะต่อยอดจากบทความเครื่องยนต์เบนซิน จึงจะไม่กล่าวเนื้อหาที่กล่าวไปแล้วในเครื่องยนต์เบนซิน


3. น้ำมันดีเซล

3. น้ำมันดีเซล

 

รูปหัวจ่ายน้ำมันดีเซล

แนะนำเพื่อให้อ่านได้ต่อเนื่องให้ คลิกขวาเลือก Open link in new window

 

 

รูปน้ำมันดีเซล

 

      น้ำมันดีเซล หรือในท้องตลาดเรียกว่า น้ำมันโซล่า เป็นผลิตภัณฑ์ที่ได้จากปิโตรเลียม หรือน้ำมันดิบ (Crude oil) ในธรรมชาติที่มีอยู่ใต้พื้นโลก

 

รูปฐานขุดเจาะเอาน้ำมันดิบจากทะเล

 

 โดยการนำน้ำมันดิบมาเข้าสู่กระบวนการกลั่นตัว ที่หอกลั่นลำดับส่วนในโรงกลั่น (รายละเอียดจะกล่าวในโอกาสต่อไป) ที่หอกลั่นจะทำน้ำมันดิบให้บริสุทธิ์ สามารถแยกชนิดของน้ำมันออกเป็นประเภทต่าง ๆ ได้มากมาย ยกตัวอย่างเช่น น้ำมันน้ำมันเบนซิน, น้ำมันเครื่องยนต์เจ็ท, น้ำมันก๊าด (Kerosene) และแน่นอนน้ำมันดีเซล

 

รูปหอกลั่นลำดับส่วน

 

      เมื่อนำน้ำมันดีเซล กับน้ำมันเบนซิน มาเปรียบเทียบกัน จะเห็นถึงความแตกต่าง คือมีสีต่างกัน กลิ่นต่างกัน นอกจากนี้น้ำมันดีเซลจะหนักกว่าน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลมีการระเหยได้ช้ากว่าน้ำมันเบนซิน มีจุดเดือด (Boiling point) และจุดวาบไฟ (Flash point) สูงกว่า  

       

      น้ำมันดีเซลระเหยได้ยากกว่าเพราะว่ามันเป็นสารประกอบหนัก มันจะประกอบไปด้วยอะตอมคาร์บอน เป็นห่วงโซ่ยาวกว่าน้ำมันเบนซิน (น้ำมันเบนซินมีสูตรเคมี C9H20 ขณะที่น้ำมันดีเซลมีสูตรเคมี C14H30) ในการกลั่นให้บริสุทธิ์นั้นกลั่นได้ง่ายกว่าน้ำมันเบนซิน จึงทำให้น้ำมันดีเซลมีราคาถูกกว่า

 

      น้ำมันดีเซลให้พลังงานความร้อนสูงกว่าน้ำมันเบนซิน ในการเทียบน้ำมันดีเซล 1 แกลลอน (3.8 ลิตร) น้ำมันดีเซลให้พลังงานประมาณ 155 x 106 จูล (Joules) (147,000 BTU) ขณะที่น้ำมันเบนซินในปริมาณเดียวกันให้พลังงาน132 x 106 จูล (125,000 BTU) เมื่อมีการทดสอบเปรียบเทียบกัน จะพบว่าเครื่องยนต์ดีเซลสามารถวิ่งได้ระยะทางไกลกว่าเมื่อเทียบกับเครื่องยนต์เบนซิน

      ปัจจุบันความต้องการน้ำมันดีเซลมีเพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในแวดวงอุตสาหกรรม น้ำมันดีเซลมีการนำมาใช้งานได้กว้างขวาง ยกตัวอย่างเช่น เครื่องจักรกลหนัก, รถบรรทุก, รถโดยสารประจำทาง, รถไฟ, เรือ, เรือเดินสมุทร, อุตสาหกรรมการเกษตร, รถ หรือเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้า ฯลฯ

ในด้านสิ่งแวดล้อม น้ำมันดีเซลมี ข้อดี และ ข้อเสีย

      ข้อดี น้ำมันดีเซลปล่อยคาร์บอนมอนอกไซด์, ไฮโดรคาร์บอน และคาร์บอนไดออกไซด์ออกมาน้อยมาก รวมถึงสารตะกั่วที่ปล่อยออกมาทำให้โลกร้อนมีน้อย

      ข้อเสีย มีจำนวนของส่วนผสมไนโตรเจนสูง และมีขี้เขม่าที่ได้จากการเผาไหม้ในน้ำมันดีเซลมาก ซึ่งตะกั่ว (ถึงมีน้อยแต่สะสมในอากาศ) จะทำให้เกิดฝนกรด (Acid rain) ควันพิษ ควันดำ และสุขภาพที่ไม่ดีต่อมนุษย์  

 

รูปสาเหตุที่เกิดฝนกรด จากควันอุตสาหกรรม และยานยนต์ออกสู่ชั้นบรรยากาศ

 

วิดีโอแสดงการประกอบเครื่องยนต์ดีเซล QSX15 ที่ใช้เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

 

ข้อคิดดี ๆ ที่นำมาฝาก


ในกระแสน้ำที่ไหลเชี่ยว
ปลาย่อมว่ายทวนน้ำเสมอ
ปลาที่ลอยตามน้ำ ก็มีแต่ปลาตาย
มนุษย์ต้องต่อสู้กับอุปสรรค เหมือปลาว่ายทวนน้ำ
ผู้ที่ปล่อยชะตาไปตามเหตุการณ์
ก็เหมือนคนที่ตายแล้ว

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที