khwanjai

ผู้เขียน : khwanjai

อัพเดท: 03 มี.ค. 2010 08.13 น. บทความนี้มีผู้ชม: 20196 ครั้ง

ความสำเร็จของผู้นำ


ตอนจบ

             หัวข้อนี้ต่อจากตอนที่แล้วที่เราพูดเรื่อง ความสำเร็จของผู้นำ (ทักษะการสื่อสาร) เนื่องจากผู้เขียนหายไปนาน ก็เลยสรุป เนื้อหาหลักๆที่ผู้นำควรปรับปรุงตัวเอง ตามสไตล์ของผู้นำแต่ละคน ซึ่งมีอยู่ด้วยกัน 9 แบบ ดังตารางข้างล่างนี้

 

ผู้รับสาร

รูปแบบในการสื่อสาร

อุปสรรคในการรับฟังสาร

คนสไตล์ที่ 1

(Perfectionistic)

 

-คนสไตล์นี้เป็นคน perfect /สมบรูณ์แบบ  เพราะฉะนั้นการสื่อสารของเขาค่อนข้างที่จะ perfect ไปด้วย เนื้อหาของการสื่อสารมักจะมีการพูดด้วยความชัดเจน เป็นขั้นเป็นตอน เข้าประเด็นและตรงไปตรงมา และสุดท้ายก็จะปิดด้วยความคิดเห็นของตัวเองคำพูดที่ใช้คือ น่าจะ....., ควรจะ........., สิ่งที่ทำนั้นถูก, สิ่งที่ทำนั้นผิด

ผู้รับฟังจะรู้สึกว่าตัวเองถูกจับผิดอยู่ตลอดเวลา หรือ บางครั้งก็รู้สึกว่า คนสไตล์ 1 เป็นคนชอบว่าคนอื่น อยู่ตลอดเวลา ไม่มีใครดีและ perfect มากกว่าตัวคนสไตล์ 1 เอง

คนสไตล์ที่ 2

(Care giver)

คนสไตล์ 2 เป็นคน ที่ค่อนข้างรู้จักพูด รู้จักเอาใจเขามาใส่ใจเรา ประเภท บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น คอยช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ การสื่อสาร ที่แสดงออก คือ การสื่อที่ทำให้ผู้อื่นมองว่า ตัวเองเป็นคนดี เป็นคนมีน้ำใจ

เนื่องจากคนสไตล์ 2 มองคุณค่าของตัวเองจากกี่ผู้อื่นมอง ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกใจเลย ถ้าหากว่า ใครก็ตามที่ไม่รู้สึกซาบซึ้งหรือคัดค้านความคิดเห็น หรือปฏิเสธความต้องการที่คนสไตล์ 2 พยายามมอบให้ ก็จะเป็นต้นตอของสาเหตุที่ทำให้คนสไตล์ 2 ไม่พอใจขึ้นมาได้ และบางครั้งอาจจะมีการตอบโต้โดยไม่เกรงอกเกรงใจ จากคนสไตล์ 2 ได้

คนสไตล์ที่ 3

(The Achiever)

อย่างที่บอกคนสไตล์ 3 เป็นคนที่มองว่า คุณค่าของคนอยู่ที่ผลของงาน เพราะฉะนั้นเขาจะมองที่เป้าหมายของการทำงานเป็นหลัก การสื่อสารกับบุคคลภายนอกที่ไม่เกี่ยวข้องกับงาน หรือ ทำให้การทำงานของเขาล่าช้า เขาก็จะแสดงอาการไม่สนใจรับฟัง

คนที่สื่อสารกับคนสไตล์ 3 มองว่า คนสไตล์นี้ ไม่ค่อยสนใจรับฟังผู้อื่นสักเท่าไหร่ คิดแต่เรื่องของตัวเอง  อาจมองว่าเขาเป็นคนเห็นแก่ตัวได้ ซึ่งแท้จริงแล้ว เขาอาจไม่ใช่คนเช่นนั้น

คนสไตล์ที่ 4

(Expressions)

 

เป็นคนที่สื่อสารถึงกัน ด้วยความรู้สึก มักจะมีการแสดงถึงความรู้สึกของตัวเองออกมาบ่อยๆ  คำพูดที่เขามักจะใช้ คือ “ ฉันรู้สึกว่า......”ซึ่งการแสดงออกอย่างนี้ก็เพื่อให้คนอื่นมองว่าตัวเองแตกต่างจากคนอื่น

คนที่มีปัญหามักจะมีการพูดคุยเข้ากันได้ดีกับคนสไตล์ นี้ แต่ถ้าอยู่ในสถานการณ์การทำงานหรืออยู่ในสถานการณ์ที่เคร่งเครียด  เขาก็อาจจะมองว่า คนสไตล์นี้ มักจะพูดเรื่องตัวเอง เอาความคิดเห็นของตัวเองมานำเสนอ โดยไม่ใช้หลักการหรือเหตุผลมานำเสนอความคิดเห็นของตัวเอง

คนสไตล์ที่ 5

(Isolation)

-เป็นคนพูดน้อย บอกตัวข้อมูลมากกว่าความรู้สึก มักจะไม่พูดเรื่องส่วนตัวของตัวเอง และ ไม่พูดเรื่องส่วนตัวของคนอื่น ไม่ชอบนินทาคน

- ถ้าพูดเรื่องข้อมูลการวิเคราะห์ เขาจะพูดมากอธิบายมาก เพราะตัวเองรู้มากทำให้คนฟังตามไม่ทัน

 

- สไตล์ 5 เป็น ผู้สื่อสารที่ดีที่สุด เพราะจะสื่อสารด้วยข้อมูลมากกว่าความรู้สึก แต่ก็มีอุปสรรคในการรับฟังเหมือนกัน คือ ไม่ชอบฟังใครที่มักจะใช้อารมณ์ในการพูด และเวลาพูดไม่ชอบให้ใครมาพูดใกล้แบบประชิดตัว

คนสไตล์ที่ 6

(The Suspicious)

- คนสไตล์นี้มีการแสดงออกด้านการสื่อสารที่ใช้ทั้งเหตุผลและอารมณ์ไปด้วยกันคือ

     - ใช้เหตุผลในการพูด มักจะเป็นการวิเคราะห์ในเชิงข้อมูล และมักจะพูดในแง่ negative หรือวางแผนล่วงหน้าไว้ก่อนมักจะใช้คำพูดว่า “ถ้าเกิด...เราจะ....”

   - แต่ อาจจะมีอารมณ์ขึ้นได้ในกรณีที่ความเห็นไม่ตรงกัน มักจะไม่เอะโวยวายมักแต่จะเก็บกด ซึ่งเราสามารถเห็นได้จากการแสดงออกทางสีหน้าที่เคร่งเครียด

 

- คนสไตล์ 6 เป็น ผู้ฟังที่ดีคนหนึ่ง เพราะเขาจะแสดงออกถึงการตั้งใจฟัง และมักจะให้เหตุผลควบคู่กันไปด้วยซึ่งเหตุผลที่ให้มักจะเป็นในเชิงคาดการณ์ สิ่งที่ไม่ดีที่อาจจะเกิดขึ้น จึงทำให้บางครั้งผู้ฟังที่มาขอความคิดเห็นหมดกำลังใจได้ เช่น คุณ A มาพูดคุยขอความคิดเห็นเรื่องการลาออกจากงานที่ทำกับหน่วยงานราชการ ไปทำงานกับเอกชนที่มีเงินเดือนสูงกว่า ระหว่างที่พูดกับคนสไตล์ 6 ก็ จะมีคำถามเป็นระยะๆ ทำให้ผู้ฟังรู้สึกร่วมตามนั้น และนอกจากนี้คนสไตล์ 6 จะถามคำถามเป็นระยะๆทำให้ผู้ฟังรู้สึกเครียดเหมือนกับเป็นจำเลย และท้ายที่สุดคนสไตล์ 6 ก็แนะนำตามความคิดของตัวเอง

คนสไตล์ที่ 7

(The enthusiast)

- เป็นคนมีอารมณ์ขันในบางครั้ง แม้ว่าบางครั้งสถานการณ์จะดูเลวร้ายแต่เขามักจะพูดแบบมีมุขตลกได้

- เขาเป็นคนอ่านเยอะ มีข้อมูลมากสามารถพูดหลายเรื่องได้ในเวลาเดียวกัน

จับประเด็นสำคัญหลักๆไม่ค่อยได้

 

เนื่องจากตัวเองเป็นอ่านมาก รู้

มาก จึงทำตัวเป็นน้ำเต็มแก้วในบางครั้ง หรือไม่ค่อยรับฟังความคิดเห็นของคนอื่น

และบางครั้งไม่รอให้คนอื่นพูดให้จบเสียก่อน ทำให้คนที่พูดเสนอความคิดเห็นของเขาไม่อยากจะเสนอให้คนสไตล์ 7 ฟัง ในครั้งต่อไป

คนสไตล์ที่ 8

(Self - confident)

คนสไตล์นี้เกิดมาเพื่อเป็นผู้นำ คุณอาจจะเห็นผู้นำบางคนพูดจาน่าเกรงขามดูมีพลัง คนสไตล์นี้ก็เช่นเดียวกัน การพูดมักจะมีการพูดในภาพกว้างมากกว่าการลงรายละเอียดเชิงลึก  บางครั้งก็มักจะพูดในลักษณะสั่งการ

ด้วยสไตล์พูดจาของคนสไตล์ 8 ที่ดูมีพลัง พูดกระชับ ชัดเจน อาจจะทำให้ผู้ฟังคนอื่นรู้สึกเหมือนตัวเองถูกข่มขู่ด้วย และไม่ค่อยกล้าพูดจากับคนสไตล์นี้สักเท่าไหร่ เพราะว่าต้องมีข้อมูลหรือข้อเท็จจริงพร้อมก่อนที่จะพูดกับเขา   คนสไตล์ 8 ที่เป็นลูกน้องมักจะมีปัญหาได้เนื่องจากหัวหน้ามักจะรู้สึกว่า ตัวเองถูกสั่งการจากลูกน้อง และเพิ่มความไม่พึงพอใจกับลูกน้องเข้าไปอีกเมื่อลูกน้องทำงานดีกว่าหัวหน้า

คนสไตล์ที่ 9

(The Peacemaker)

คนสไตล์นี้ รักษาสัมพันธภาพกับบุคคลรอบข้างเป็นอย่างยิ่งมักจะมีการพูดจา คล้ายกับคนสไตล์ 2 แต่คนสไตล์ 9 พูดจานุ่มนวลกว่า เวลาไม่พอใจใครมักจะแสดงอาการเก็บกด เครียดอยู่ข้างไหน ไม่แสดงออกเพื่อรักษาสัมพันธภาพที่ดีงามไว้ และมีการพูดจาที่ยืดยาว จับประเด็นไม่ค่อยได้

คนรอบข้างรู้สึกสบายใจเมื่อพูดจากับคนสไตล์นี้เพราะรู้สึกว่าเขาไม่มีพิษมีภัย แต่ถ้าคนสไตล์ 9 เป็นผู้นำบางครั้งก็อาจจะสร้างปัญหาได้ เพราะ คนสไตล์ 9 รับฟังข้อเสนอแนะจากทุกคน และบางกรณีไม่กล้าคัดค้านความคิดเห็นของคนอื่น ลูกน้องก็เลยรู้สึกว่า ไม่รู้หัวหน้าจะเอายังไงดี

 

                                ในเรื่องของสำเร็จของผู้นำ นอกจากจะต้องมีในเรื่องการพัฒนาทักษะการสื่อสารของตัวผู้นำเอง เป็นไปตามสไตล์ของแต่ละคนแล้ว ทักษะที่จำเป็นอีกอย่างหนึ่งก็คือในเรื่องการบริหารเวลา ซึ่งผู้เขียนอยากจะเขียนมาเล่าต่อเป็นตอนๆ แต่ว่า เนื้อหาการบริหารเวลาของผู้นำ ที่ผู้เขียนได้เขียนไว้ จะมีการตีพิมพ์ในหนังสือพิมพ์ Focus ภาคใต้ฉบับต้นเดือนมีนาคม หรือ ลอง download file จาก web นี้ดูนะค่ะ การบริหารเวลา

                                สำหรับหัวข้อเรื่องความสำเร็จของผู้นำผู้เขียนขอจบไว้เพียงเท่านี้ก่อน ขอบคุณที่ติดตามกันมาตลอด แล้วค่อยเจอกันในเรื่องราวอื่นๆต่อไป สวัสดีค่ะ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที