Meditate

ผู้เขียน : Meditate

อัพเดท: 26 พ.ค. 2010 09.52 น. บทความนี้มีผู้ชม: 166654 ครั้ง

คนทั่วไป โดยปรกติ คิดว่าตัวเอง แข็งแรงอยู่เสมอ
จะไม่ค่อยเตรียมตัว และ มองอนาคตเพื่อเตรียมตัวกับการเปลี่ยนแปลง กระทันหัน เปรียบได้กับมาหาหมอเมื่ออาการ ของโรค ชัดเจนหรือโคม่าแล้ว
เช่นเดียวกับธุรกิจ คุณทราบหรือยังว่า คุณก้าวมาไกลขนาด ไหน และความเร็วของโลก หมุนเร็วขึ้น ขนาดไหน สภาพของธุรกิจจะ คงสภาพพร้อมเพื่อการแข่งขันได้นานขนาดไหน นวัตกรรม เปรียบเสมือน วิตามินเสริม หรือไม่ สำหรับธุรกิจ หรือคืออะไร
สาเหตุที่เขียน เพราะ กำลังศึกษา ปริญญาเอก ด้าน การจัดการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงอยาก เอามาร่วมแบ่งปัน ความรู้สู่อุตสาหกรรม


บทที่ 1 ทำไม เราต้องรู้จัก นวัตกรรม เพื่อหาทางออก ให้กับธุรกิจ

แนวคิดนวัตกรรมเพื่อ การจัดการ

 

โดย ประจักษ์  เฉิดโฉม

บทที่ 1    ทำไม เราต้องรู้จัก นวัตกรรม เพื่อหาทางออก ให้กับธุรกิจ

 

ทุกท่านที่ยังต้องฝ่าฝันอยู่ ในโลกเศรษฐกิจปัจจุบัน ที่เรียกกันชินปากว่า โลกแห่งการค้าเสรี นั้น ต้องเผชิญกับข่าว ภาวะเศรษฐกิจถดถอยของโลกเสรีอันบิดๆ เบี้ยวๆ นี้ทุกวัน ไม่รวมถึงภัยที่คาดไม่ถึงจากไวรัสใหม่ๆ ที่นอกจากกระทบโดยตรงกับประชาชนแล้ว ยังกระทบกับภาคเศรษฐกิจแบบตรงๆ ด้วย เช่นภาคการท่องเที่ยว เป็นต้น ซึ่งภาวะถดถอยนี้ ก็คงกระทบกับ ลูกค้า และธุรกิจ ของท่านอย่างแน่นอนไม่ทางตรง ก็ทางอ้อม  และยังมีพนักงาน ของท่าน หรือถ้าท่านเป็นพนักงานเอง ก็คงจะต้องปฏิบัติงานด้วยความระมัดระวัง มากยิ่งขึ้น ในการวางแผนและดำเนินกิจกรรม ทางธุรกิจต่างๆ

               

          ปัจจุบัน มีแนวคิด หลายแนวคิด ที่เสนอทางออก สำหรับ อนาคต ซึ่ง ได้ พูดถึง การจัดการ

 

                แนวคิดแรก คือ จากบทความของบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน “ไพรซ์ วอเตอร์เฮาร์ คูเปอร์ส” ได้แนะนำ 10 วิธีการบริหารในช่วงเศรษฐกิจขาลงให้กับภาคธุรกิจ ซึ่ง สองในหลายมาตรการนั้น น่าสนใจ ที่เดียว ที่น่าจะนำมาพิจารณาประกอบ แผนการดำเนินงาน ซึ่ง สองข้อนั้นคือ

·       การบริหารจัดการกับต้นทุน            

·                    ให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินงาน ลดความซับซ้อนที่ไม่จำเป็น

·                    บริษัทได้ขจัดความสิ้นเปลืองออกไปแล้วหรือยัง

·                    การดำเนินธุรกิจนั้นเหมาะสมกับกลุ่มลูกค้าแล้วหรือไม่

·                    คุณสามารถใช้วิธีการจัดหาทรัพยากรที่ดีขึ้นได้หรือไม่

และ

·       การบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ

                ความถูกต้องของข้อมูลที่ใช้ในการบริหารมีความสำคัญมากกว่าที่เคยเป็น การกำหนด KPI ที่ชัดเจนสามารถ                วัดความมีประสิทธิผลของการดำเนินที่เพิ่มมูลค่าให้แก่ลูกค้าและกิจการได้ การตัดสินใจต้องอยู่บนพื้นฐาน      ของข้อเท็จจริงและทันต่อเวลา

·                    ส่วนใดของธุรกิจที่ควรได้รับการติดตามอย่างใกล้ชิด

·                    คุณมีความมั่นใจในข้อมูลที่ได้รับมากน้อยเพียงใด

·                    ธุรกิจของคุณมุ่งความสนใจไปยังการบริหารจัดการเงินสดหรือไม่

·                    รูปแบบของรายงานที่ใช้ในกิจการได้สะท้อนภาพที่แท้จริงของธุรกิจและสภาวะแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ และข้อมูลข่าวสารดังกล่าวยังคงสมเหตุสมผลอยู่หรือไม่

       

        ซึ่งสองข้อที่นำมานี้ก็เป็นการ วางแผนแบบ Divergent คือการคิดแบบนอกกรอบ โดยเลิก คิดแบบ การลดค่าใช้จ่าย โดยด้านเดียว ซึ่งมีผลอย่างมาก ต่อ ขวัญกำลังใจของ พนักงาน ซึ่งอาจจะทำให้ Productivityลดต่ำ ลงไปอีก

                 

 

                ส่วนแนวคิด ข้อที่สอง ซึ่งจะเป็นเนื้อหาหลัก ของบทความนี้ คือ แนวคิดนวัตกรรมเพื่อ การจัดการเพื่อ การเติบโต ที่ยั่งยืนในอนาคต

เจอกันตอนหน้าครับ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที