Meditate

ผู้เขียน : Meditate

อัพเดท: 26 พ.ค. 2010 09.52 น. บทความนี้มีผู้ชม: 166486 ครั้ง

คนทั่วไป โดยปรกติ คิดว่าตัวเอง แข็งแรงอยู่เสมอ
จะไม่ค่อยเตรียมตัว และ มองอนาคตเพื่อเตรียมตัวกับการเปลี่ยนแปลง กระทันหัน เปรียบได้กับมาหาหมอเมื่ออาการ ของโรค ชัดเจนหรือโคม่าแล้ว
เช่นเดียวกับธุรกิจ คุณทราบหรือยังว่า คุณก้าวมาไกลขนาด ไหน และความเร็วของโลก หมุนเร็วขึ้น ขนาดไหน สภาพของธุรกิจจะ คงสภาพพร้อมเพื่อการแข่งขันได้นานขนาดไหน นวัตกรรม เปรียบเสมือน วิตามินเสริม หรือไม่ สำหรับธุรกิจ หรือคืออะไร
สาเหตุที่เขียน เพราะ กำลังศึกษา ปริญญาเอก ด้าน การจัดการธุรกิจเทคโนโลยีและนวัตกรรม จึงอยาก เอามาร่วมแบ่งปัน ความรู้สู่อุตสาหกรรม


ประเภทของนวัตกรรม และ ท่านคิดว่า โครงการแกล้งดิน เป็น นวัตกรรมประเภทใด

ในวงการนวัตกรรม  มีการแบ่งประเภทของนวัตกรรมออกมาเป็น 6 ประเภทใหญ่ๆ คือ

ประเภทของนวัตกรรม
(
Type of Innovations) (Oslo Manual, 2004)

1.       Product Innovation

2.       Service Innovation

3.       Idea Innovation

4.       Process Innovation

5.       Strategy Innovation

6.       Value Innovation

 

ก่อนที่เราจะ มาดู ความหมายของนวัตกรรมประเภทต่างๆ  เรากลับ มาเทิดทูน ในหลวงของเรา โดยศึกษางานของท่าน ว่า “แกล้งดิน” คืออะไร และจะจัดอยู่ในนวัตกรรม ประเภทใด  

 

ท่านคิดว่า โครงการแกล้งดิน เป็น นวัตกรรมประเภทใด


“หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ เสด็จฯ เยี่ยมราษฎรในเขตจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๒๔ ทรงพบว่า ดินในพื้นที่พรุที่มีการชักน้ำออก เพื่อจะนำที่ดินมาใช้ทำการเกษตรนั้น แปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด ทำให้เพาะปลูกไม่ได้ผล จึงมีพระราชดำริให้ส่วนราชการต่าง ๆ พิจารณาหาแนวทางในการปรับปรุงพื้นที่พรุที่มีน้ำแช่ขังตลอดปีให้เกิด ประโยชน์ในทางการเกษตรมากที่สุด และให้คำนึงถึงผลกระทบต่อระบบนิเวศน์ด้วย การแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัด เนื่องจากดินมีลักษณะเป็นเศษอินทรียวัตถุ หรือซากพืชเน่าเปื่อยอยู่ข้างบน และมีระดับความลึก ๑ - ๒ เมตร เป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงิน ซึ่งมีสารประกอบกำมะถัน ที่เรียกว่า สารประกอบไพไรท์ (Pyrite : FeS2) อยู่มาก

 

ดังนั้น เมื่อดินแห้ง สารไพไรท์จะทำปฏิกิริยากับอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินแปรสภาพเป็นดินกรดจัดหรือเปรี้ยวจัด ศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จึงได้ดำเนินการสนองพระราชดำริโครงการ " แกล้งดิน " เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดของดิน เริ่มจากวิธีการ " แกล้งดินให้เปรี้ยว " คือทำให้ดินแห้งและเปียกสลับกันไป เพื่อเร่งปฏิกิริยาทางเคมีของดิน ซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนในอากาศ ปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น " แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด " จนกระทั่งถึงจุดที่พืชไม่สามารถเจริญงอกงามได้ จากนั้นจึงหาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถปลูกพืชได้ วิธีการแก้ไขปัญหาดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ คือควบคุมระดับน้ำใต้ดิน เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถัน จึงต้องควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารไพไรท์อยู่ เพื่อมิให้สารไพไรท์ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์

 

การแก้ปัญหาดินเป็นกรดจัด โดยวิธีการแกล้งดิน

 

สาเหตุที่ดินในพื้นที่พรุแปรสภาพเป็นดินเปรี้ยวจัดสืบเนื่องมาจากดินในพื้นที่พรุมี

ลักษณะเป็นอินทรียวัตถุหรือซากพืชที่เน่าเปื่อยอยู่ข้างบนและช่วงระดับลึกประมาณ

1-2เมตรมีลักษณะเป็นดินเลนสีเทาปนน้ำเงินซึ่งมีสารประกอบกำมะถันที่เรียกว่า

สารประกอบไพไรท์อยู่มากดังนั้นเมื่อดินแห้งสารประกอบไพไรท์จะทำปฏิกริยากับ

อากาศปลดปล่อยกรดกำมะถันออกมาทำให้ดินดังกล่าวแปรสภาพเป็นกรดจัดหรือ

เปรี้ยวจัดผลของการเป็นกรดจัดของดินจะทำให้จุลินทรีย์ไม่ย่อยสลายแร่ธาตุที่เป็น

ประโยชน์ต่อต้นไม้และยังทำให้ธาตุบางชนิดที่อยู่ในดิน เช่นเหล็กอลูมินัมกลาย

เป็นพิษต่อต้นไม้ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริที่ทรงเรียกว่า  “แกล้งดิน”

หน่วยดำเนินการสนองพระราชดำริในการศึกษาการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรด

ของดินกำมะถันเริ่มจาก“แกล้งดินให้เปรี้ยว”ด้วยการทำให้ดินแห้งและเปียกสลับ

กันไปเพื่อเร่งปฏิกริยาทางเคมีของดินซึ่งจะไปกระตุ้นให้สารไพไรท์ทำปฏิกริยา

กับออกซิเจนในอากาศแล้วปล่อยกรดกำมะถันออกมา ทำให้ดินเป็นกรดจัดจนถึงขั้น “แกล้งดินให้เปรี้ยวสุดขีด”จนกระทั่งถึงจุดที่พืชเศรษฐกิจต่างๆไม่สามารถเจริญ

งอกงามให้ผลผลิตได้ หลังจากนั้นจึงให้หาวิธีการปรับปรุงดินดังกล่าวให้สามารถ

ปลูกพืชเศรษฐกิจได้ซึ่งวิธีการแก้ไขดินเปรี้ยวจัดตามแนวพระราชดำริ มีดังนี้

 

1.แก้ไขโดยวิธีควบคุมระดับน้ำใต้ดิน

เพื่อป้องกันการเกิดกรดกำมะถันจึงสมควรพยายามควบคุมน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้น

ดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์อยู่เพื่อมิให้สารประกอบไพไรท์ทำปฏิกิริยากับ

ออกซิเจนหรือถูกออกซิไดซ์ ซึ่งจำเป็นต้องวางระบบการระบายน้ำควบคู่ไปกับการ

จัดระบบชลประทานที่เหมาะสมกล่าวโดย 

ระบบการระบายน้ำ ช่วยให้

     -ป้องกันมิให้น้ำท่วม

     - ช่วยระบายน้ำออกจากพื้นที่

ระบบชลประทาน ช่วยให้

     - ส่งเสริมให้น้ำใช้ชะล้างความเป็นกรด

     - รักษาระดับน้ำใต้ดินให้อยู่ในภาวะที่ต้องการ

 

ตัวอย่างความสำเร็จของวิธีการควบคุมระดับน้ำใต้ดิน คือ โครงการพัฒนาลุ่มน้ำบางนราอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ที่ทำการก่อสร้างประตูระบายน้ำบางนรา 2 ประตู เพื่อบรรเทาปัญหาอุทกภัยบริเวณ 2 ฝั่งแม่น้ำและกักเก็บน้ำจืดไว้ในแม่น้ำเพื่อใช้ในการเกษตร อุปโภค บริโภค กับช่วยป้องกันมิให้น้ำเค็มไหลเข้าแม่น้ำส่วนใน ในประเด็นที่สำคัญคือ ช่วยควบคุมระดับน้ำใต้ดินในพื้นที่ราบลุ่มสองฝั่งน้ำไม่ให้ต่ำลง ซึ่งเป็นการป้องกันการเกิดกรดจากดินเปรี้ยวจัดที่พบอยู่ทั่วๆไปในบริเวณที่ราบลุ่มของจังหวัดนราธิวาสอีกด้วย

 

2.วิธีการปรับปรุงดิน

เลือกได้ 3 วิธี ตามแต่สภาพและความเหมาะสม

 

1)ใช้น้ำชะล้างกรด-เป็นวิธีการที่ง่ายแต่ต้องมีน้ำมากพอ

ใช้น้ำชะล้างดินเพื่อเพิ่มค่า pHโดยปล่อยให้น้ำท่วมขังแล้วระบายออกประมาณ 2-3 ครั้งโดยทิ้งช่วงครั้งละ 1-2 สัปดาห์ ควรเริ่มชะล้างในฤดูฝนเพื่อลดปริมาณการใช้น้ำชลประทานเพราะดินจะเปรี้ยวจัดช่วงดินแห้ง และต้องกระทำอย่างต่อเนื่องเพื่อหวังผลในระยะยาว

 

2)ใช้ปูนเคล้าหน้าดิน

เลือกใช้วัสดุปูนที่หาง่ายในท้องที่เช่น ภาคกลาง-ใช้ปูนมาร์ล(Marl),ภาคใต้-ใช้ปูนฝุ่น(Lime dust) หว่านให้ทั่ว 1-4 ตันต่อไร่แล้วไถแปรหรือพลิกดินกลบปริมาณปูนที่ใช้ขึ้นกับความรุนแรงของความเป็นกรดของดิน

 

3)ใช้ปูนควบคู่ไปกับการใช้น้ำชะล้างและควบคุมระดับน้ำใต้ดิน

เป็นวิธีที่สมบูรณ์ที่สุดและใช้ได้ผลมากในพื้นที่ซึ่งดินเป็นกรดจัดรุนแรงและถูกปล่อยร้างเป็นเวลานาน

เริ่มโดยใช้ปูนเป็นการกระตุ้นครั้งแรกให้น้ำทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ อัตราการใช้ปูนทั่วไป 1-2 ตันต่อไร่แล้วทำการไถกลบ จากนั้น ใช้น้ำชะล้างความเป็นกรดและควบคุมระดับน้ำใต้ดินให้อยู่เหนือชั้นดินเลนที่มีสารประกอบไพไรท์มาก กันการทำปฏิกิริยากับออกซิเจนปลดปล่อยกรดออกมา

 

3.การปรับสภาพพื้นที่

เนื่องจากพื้นที่ดินเปรี้ยวมีสภาพราบลุ่ม ดังนั้น การระบายน้ำออกจากพื้นที่จึงทำได้ลำบาก  การปรับสภาพพื้นที่จึงเป็นแนวทางหนึ่งที่จะใช้แก้ปัญหาได้ มีอยู่ 2 วิธี คือ

 

1)การปรับระดับผิวหน้าดิน

-ปรับระดับผิวหน้าดินให้มีความลาดเอียงพอที่จะให้น้ำไหลออกสู่คลองระบายน้ำได้

-จัดรูปตกแต่งแปลงนาและคันนาใหม่ เพื่อให้สามารถเก็บกักน้ำและระบายน้ำออกได้ตามต้องการ

 

2)การยกร่องปลูกพืช

เป็นวิธีการใช้สำหรับการปลูกพืชไร่ ผัก ผลไม้ หรือไม้ยืนต้นที่ให้ผลตอบแทนทางเศรษฐกิจสูง โดยวิธีการนี้จำเป็นต้องมีแหล่งน้ำชลประทานเพื่อใช้ขังในร่องและถ่ายเทน้ำได้เมื่อน้ำในร่องเป็นกรดจัด จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องคำนึงถึงการเกิดน้ำท่วมในพื้นที่นั้นๆ หากมีโอกาสเสี่ยงสูงก็ไม่ควรจะทำ หรืออาจยกร่องแบบเตี้ยๆเปลี่ยนเป็นปลูกพืชล้มลุกแทนโดยสามารถปลูกหมุนเวียนกับข้าวได้ กล่าวคือ ปล่อยให้น้ำท่วมร่องสวนในฤดูฝน แล้วปลูกข้าวบนสันร่องช่วยทุ่นค่าใช้จ่ายเพราะไม่ต้องสูบน้ำออก พอพ้นฤดูฝนก็ปลูกพืชผักหรือล้มลุกตามความต้องการของตลาดช่วยเพิ่มรายได้”

ข้อมูลทั้งหมด มาจาก http://www.land.arch.chula.ac.th/royal/trick.htm  and http://dit.dru.ac.th/ka/a33.php

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที