ศุภนิธิ เรืองทอง

ผู้เขียน : ศุภนิธิ เรืองทอง

อัพเดท: 29 พ.ค. 2009 09.41 น. บทความนี้มีผู้ชม: 8498 ครั้ง

วัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งที่อยู่ใน 5ส ก็คือ การจัดการองค์ความรู้ ด้วยการจัดให้มีระบบการสร้างต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จในกิจกรรม เป็นตัวอย่างเพื่อการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ มีการนำเสนอผลงาน มีการไปดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ แต่ที่สำคัญและขาดไม่ได้คือ จะต้องมีการนำองค์ความรู้ที่ได้รับทั้งหลายนั้นมาทำให้เป็นรูปธรรมโดยการสร้างระบบการจัดทำสื่อการฝึกอบรมและสร้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นวิทยากรภายในที่จะถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสู่บุคลากรอื่นๆเพื่อยกมาตรฐานความรู้ความสามารถของบุคลากรนั้นให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้นเพียงพอต่อการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ มีการนำวิธีปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จมาจัดทำเป็นคู่มือการอบรม การนำข้อมูลเกี่ยวกับทำงานมาแสดงบนบอร์ดเพื่อเป็นสื่อกลางทำให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ตรงกัน


จัดการองค์ความรู้ด้วย 5ส

5ส เป็นเครื่องมือพื้นฐานที่สามารถต่อเติมเสริมแต่งให้สามารถตอบสนองความต้องการบรรลุวัตถุประสงค์ต่างๆขององค์การได้อย่างหลากหลาย เพราะมีโครงสร้างเป็นพื้นฐานการจัดการคุณภาพ คือ การสร้างวินัยให้กับบุคลากร โดยการพัฒนาพฤติกรรมของบุคลากรอย่างเป็นรูปธรรมด้วยองค์ประกอบของแต่ละ ส ซึ่งสอดแทรกอยู่ในทุกกระบวนการทำงาน ไม่ว่าจะเป็น การจัดระบบวิธีการทำงานในทุกกระบวนการ (ส1 : สะสาง) ปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพอยู่เสมอ (ส2 : สะดวก) ตรวจสอบแก้ไขและป้องกันความผิดปกติเป็นประจำ (ส3 : สะอาด) จัดทำให้เป็นมาตรฐานทุกครั้งหลังการปรับปรุง (ส4 : สร้างมาตรฐาน) และฝึกอบรมให้บุคลากรมีความเข้าใจตรงกันและมีวินัยที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตลอดเวลา (ส5 : สร้างวินัย)

 

วัตถุประสงค์อีกอย่างหนึ่งที่อยู่ใน 5ส ก็คือ การจัดการองค์ความรู้ ด้วยการจัดให้มีระบบการสร้างต้นแบบที่ประสบผลสำเร็จในกิจกรรม เป็นตัวอย่างเพื่อการขยายผลไปยังพื้นที่อื่นๆ มีการนำเสนอผลงาน มีการไปดูงานแลกเปลี่ยนความรู้ แต่ที่สำคัญและขาดไม่ได้คือ จะต้องมีการนำองค์ความรู้ที่ได้รับทั้งหลายนั้นมาทำให้เป็นรูปธรรมโดยการสร้างระบบการจัดทำสื่อการฝึกอบรมและสร้างผู้เชี่ยวชาญเพื่อเป็นวิทยากรภายในที่จะถ่ายทอดความรู้เหล่านั้นสู่บุคลากรอื่นๆเพื่อยกมาตรฐานความรู้ความสามารถของบุคลากรนั้นให้มีศักยภาพเพิ่มสูงขึ้นเพียงพอต่อการทำงานให้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ต้องการ มีการนำวิธีปฏิบัติที่ประสบผลสำเร็จมาจัดทำเป็นคู่มือการอบรม การนำข้อมูลเกี่ยวกับทำงานมาแสดงบนบอร์ดเพื่อเป็นสื่อกลางทำให้บุคลากรมีความรู้ความเข้าใจในเรื่องที่เกี่ยวข้องได้ตรงกัน

 

การจัดทำระบบให้มีการบันทึกความรู้ที่ได้จากกิจกรรม 5ส การจัดอบรมถ่ายทอดความรู้ ความเข้าใจ และประสบการณ์อย่างเป็นรูปธรรม การพัฒนาศักยภาพบุคลากรให้เป็นวิทยากรเป็นผู้เชี่ยวชาญภายในองค์การ จึงเป็นการนำกิจกรรม 5ส มาต่อเติมเสริมแต่งให้สามารถใช้เป็นเครื่องมือในการจัดการองค์ความรู้เพื่อสร้างศักยภาพให้กับบุคลากรได้ในทุกระดับและทั่วถึงทุกคนในองค์การ โดยเฉพาะอย่างยิ่งบุคลากรในระดับปฏิบัติการซึ่งเป็นผู้ปฏิบัติงานที่ส่งผลต่อคุณภาพของผลิตภัณฑ์โดยตรงและต้องเกี่ยวข้องกับกระบวนการทำงาน การปรับปรุงเพิ่มประสิทธิภาพ การตรวจสอบค้นหาความผิดปกติและแก้ไข การกำหนดเป็นมาตรฐาน และการมีวินัยที่จะปฏิบัติตามมาตรฐาน

 

และนั่นคือจุดเริ่มต้นของ 5ส กับ การจัดการองค์ความรู้


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที