มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 10 พ.ค. 2014 20.17 น. บทความนี้มีผู้ชม: 451257 ครั้ง

เป็นผู้ประกอบการธุรกิจเองเป็นสิ่งที่คนทุกคนภาคภูมิใจ แต่รู้ไว้ว่า มันยาก ถ้าเข้ามาทำแบบสุ่มสี่สุ่มห้า เพราะธุรกิจแต่ละประเภทแต่ละธุรกิจ มีวิธีทางสู่ความสำเร็จแตกต่างกันแต่มนง่ายถ้าอ่านเรื่องนี้ มีหลายตอนติดตามอ่านตลอด แล้วท่านจะรู้ว่าเถ้าแก่มืออาชีพเป็นง่ายนิดเดียว


5 ส เริ่มแรกของการทอนเงินอย่างมีประสิทธิภาพ

       สิ่งที่อยู่คู่กับเถ้าแก่คือ  เก๊ะตังค์และส่วนใหญ่  รกมาก  กล่าวคือ  วางเงินไม่ค่อยเป็นระเบียบเท่าไร  ทั้งพระเครื่อง  สิ่งศักดิ์สิทธิ์  ยันต์  หรือเครื่องราง  ที่เรียกเงินทั้งหมาย  วางผสมปนเปไปหมด  เวลารีบ          ทอนผิดทอนถูก  ลูกค้าซื้อของ 37  บาท  ให้ใบร้อยทอนไม่ถูก   ใบร้อยไม่ยอมวางเผลอจับไว้  เลยติดใบร้อยไปอีก  แทนที่จะทอน  63  บาท  กลับทอน163  บาทหรือบางรายเข้าใจผิดว่า  ลูกค้าให้ใบห้าร้อยดันหยิบใบร้อยเพิ่มอีกสามใบ  ยิ่งหนักกันไปใหญ่  มักพบร้านแบบแผงลอยเวลามีลูกค้าซื้อของมาก    หรือแผงผลไม้ 

         การหยิบ  แบ็ง  ผิดเป็นไปได้  ถ้าที่เก็บเงินเป็นกระป๋องแบบเก่า  หรือประเภทมีสายห้อยโยงขึ้นลงกันคนมือไว  การแก้ปัญหาแบบง่าย ๆ เพื่อคุณภาพในการทอนเงินเราสามารถใช้  กิจกรรม  5     มาช่วยในการแก้ปัญหา  เริ่มจากการแยกสิ่งศักดิ์สิทธิ์  หรือเครื่องรางออกจากแบ็ง  และสตางค์   หลังจากนั้นแยกสตางค์  ออกต่างหากจะต้องมีภาชนะเพื่อบรรจุ  สตางค์  ออกจากแบ็ง  เพื่อความสะดวกในการหยิบจับในการรับทอนเงิน จะต้องแยกเหรียญบาท  ออกจากเหรียญอื่น ๆ  แบ่งเป็น  ล๊อก ๆ  แบ็งเช่นกันแยกและพับเป็นพับเพื่อป้องกันการหยิบผิด    ขั้นตอนนี้เรียกว่า  สะสาง  เมื่อสะสางเสร็จ  เกิดความสะดวกในการหยิบจับ    ทำให้ดูสะอาดตา หรือปัดฝุ่นได้ง่าย  เผลอ ๆ  ของที่เคยหายอาจหาเจอ  เกิดสุขลักษณะ  ขอให้ทำแบบนี้ทุกวันหรือเวลาว่างจากการขายของอย่าปล่อยให้รกอีก  ว่างเมื่อไหร่เป็นสะสาง  อีก  จนกระทั่งติดเป็นนิสัย  เรียกว่าสร้างนิสัย    

               เมื่อเถ้าแก่ทำตามขั้นตอนที่ระบุมา  ปัญหาเหล่านี้จะหายไป

1.   การทอน  แบ็ง  ผิด  ทำให้เกิด  การขาดทุนในกรณีมีมูลค่ามากกว่าที่จะต้องจ่าย    หรือถูกลูกค้าต่อว่า  ในกรณี มีมูลค่าน้อยกว่าที่จะต้องจ่าย   หรือกรณีพิพาทเมื่อลูกค้ารู้ตัวว่าได้รับเงินทอนน้อยกว่าที่น่าจะเป็นจริง  ถ้าย้อนกลับมาที่ร้านทีหลัง  เพราะเราไม่รู้ว่าลูกค้าพูดจริงหรือเปล่า 

              แต่ในกรณีลูกค้าไม่กลับมาต่อว่าอย่าคิดนะครับว่า  เออ  แล้วไป  ไม่เป็นไร  ลูกค้าคือพระเจ้านะครับ   แล้วคิดหรือครับว่าเรื่องแค่นี้  ลูกค้ารายนี้จะไม่นำไปพูดต่อให้เสียชื่อเสียง  และในที่สุดเราจะเสียลูกค้ารายนี้ไปเลย (ถ้าไม่ใช่ลูกค้าประจำนะครับ)

2.  มีแบ็งที่ไม่พึงประสงค์มากหรือน้อยเกินไป  เช่น  หาแบ็งละ  100 บาทไม่เจอเพราะถูกทับ  จะต้องเอาแบ็ง  ยี่สิบห้าใบแทน  ทำให้การนับช้าและเสี่ยงต่อการนับผิด  และแบ็งยี่สิบตอนที่จะมาทอนปลีกย่อยกับลูกค้ารายอื่น  กลับหาไม่มี  มิหนำซ้ำวิ่งไปแลกร้านข้าง ๆ   ช้าลงไปอีก  เผลอ    ตอนวิ่งไปแลกไม่ได้ดูเก๊ะตังอีก     

              คุณภาพการจัดการร้านจะเกิดขึ้นทันที อย่างน้อยที่สุดกำไรจะมากขึ้น  เมื่อเถ้าแก่  ทอนถูก  ลูกค้าไม่กลับมาด่าตอนทอนผิด  ชื่อเสียงและสามารถรักษาลูกค้าเดิม  ได้    แน่ใจว่าการซื้อซ้ำจะมีอีกในอนาคต

สำหรับเทคนิคการคิดเงินทอนแบบง่าย ๆ  สำหรับเถ้าแก่พันธุ์ใหม่   จะเขียนในตอนต่อไป            

 

                               

      

                                                       


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที