ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 24 ต.ค. 2006 10.12 น. บทความนี้มีผู้ชม: 613399 ครั้ง

เคมีเกี่ยวข้องอย่างไรกับอาหารที่เรากินกันทุกวัน อยากรู้ต้องอ่าน"สารชีวโมเลกุล"


ความหมายของสารชีวโมเลกุล

สารชีวโมเลกุล ( biomolecules) เป็นสารอินทรีย์ที่เป็นองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิต มีธาตุคาร์บอนและไฮโดรเจนเป็นองค์ประกอบหลัก และธาตุอื่นๆ เช่น ออกซิเจน ไนโตรเจน กำมะถัน และฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบร่วมอยู่ด้วย สารชีวโมเลกุลมีขนาดโมเลกุลที่ใหญ่มาก(macromolecules) สารชีวโมเลกุลแต่ละชนิดจะมีโครงสร้าง สมบัติและปฏิกิริยาที่แตกต่างกัน เราจึงพบว่าสารชีวโมเลกุลมีหน้าที่และประโยชน์ต่อร่างกายแตกต่างกัน สารชีวโมเลกุลบางชนิดเป็นสารที่ให้พลังงาน เช่น คาร์โบไฮเดรต ไขมัน แต่บางชนิดไม่ให้พลังงาน เช่น วิตามิน เกลือแร่ และน้ำ เป็นต้น

สารชีวโมเลกุลจำแนกตามลักษณะโมเลกุลเชิงซ้อนออกได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ ๆ คือ
1. คาร์โบไฮเดรต (carbohydrates)
2. โปรตีน(proteins)
3. ไขมันและน้ำมัน หรือ ลิปิด (lipids)
4. กรดนิวคลีอิก (nucleic acids)


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที