ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 24 ต.ค. 2006 10.12 น. บทความนี้มีผู้ชม: 613142 ครั้ง

เคมีเกี่ยวข้องอย่างไรกับอาหารที่เรากินกันทุกวัน อยากรู้ต้องอ่าน"สารชีวโมเลกุล"


ประเภทของโปรตีน

ก. ประเภทโปรตีนแบ่งตามหน้าที่ ได้ดังนี้

1. โปรตีนที่ทำหน้าที่ขนส่ง (ransport protein) คือโปรตีนที่ทำหน้าที่ลำเลียงแก๊สออกซิเจนและคาร์บอนไดออกไซด์ เช่น ฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง

2. โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นเอนไซม์ (enzyme) คือ โปรตีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับปฏิกิริยาต่างๆในร่างกาย เช่น กระบวนการหายใจ กระบวนการสังเคราะห์โปรตีน กระบวนการย่อยอาหาร

3. โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นโครงสร้าง (structural protein) คือ โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นส่วนประกอบของโครงสร้างของร่างกาย เช่น คอลลาเจนของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน

4. โปรตีนที่ทำหน้าที่สะสม (storage protein) คือ โปรตีนที่สะสมเป็นอาหาร

5. โปรตีนที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับการเคลื่อนไหว (contractile protein) คือโปรตีนที่อยู่ในเซลล์ของกล้ามเนื้อ คือ ไมโอซิน และแอกติน

6. โปรตีนที่ทำหน้าที่ป้องกัน (protective protein) คือ โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นภูมิคุ้มกันโรคให้กับร่างกาย

7. โปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นสารพิษ (toxin) เช่น พิษงู พิษคอตีบ พิษอหิวา เป็นต้น

ข. โปรตีนแบ่งตามหลักชีวเคมี มี 2 ประเภท คือ

1. โปรตีนชนิดไม่ซับซ้อน (simple protein) คือ โปรตีนที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนอย่างเดียว ไม่มีสารอื่นเจือปนอยู่ด้วย เช่น

- Albumin เป็นโปรตีนในไข่ขาว

- Histones เป็นโปรตีนที่พบในต่อมไทมัสและตับอ่อน

- Glutelins เป็นโปรตีนที่พบในข้าวสาลี

- Protamines เป็นโปรตีนที่พบในสัตว์จำพวกปลา

2. โปรตีนที่ซับซ้อน (compound protein) คือ โปรตีนที่ประกอบไปด้วยกรดอะมิโนและสารอื่นปนอยู่ด้วย เช่น

ค. โปรตีนแบ่งตามหลักโภชนวิทยา มี 2 ประเภท คือ

    1. โปรตีนประเภทสมบูรณ์ (complete protein) คือ โปรตีนที่มีกรดอะมิโนชนิดที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกตัว ร่างกายสามารถนำมาใช้สร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอได้ดี เป็นโปรตีนที่ได้รับจากสัตว์ เช่น เนื้อสัตว์ต่างๆ ไข นม
    2. โปรตีนประเภทไม่สมบูรณ์ (incomplete Protein) คือ โปรตีนที่มีกรดอะมิโนชนิดจำเป็นไม่ครบทุกตัว คือมีไม่พอ เป็นโปรตีนที่ร่างกายนำมาใช้สร้างและซ่อมแซมส่วนที่สึกหรอไม่ดี เป็นโปรตีนที่ได้จากพืช เด็กที่ได้รับเฉพาะโปรตีนชนิดนี้อย่างเดียว จะทำให้การเจริญเติบโตไม่เต็มที่ และอาจเป็นโรคขาดโปรตีนก็ได้

ง. โปรตีนแบ่งตามลักษณะของการขดและเรียงตัวของโปรตีน มี 2 ประเภท คือ

    1. โปรตีนลักษณะเป็นเส้น (fibrous protein) โปรตีนประเภทนี้เรียงตัวกันเป็นกลุ่มตามความยาว มีความแข็งแรง เหนียว ยืดหยุ่นได้มาก เช่น โปรตีนในเส้นผม โปรตีนเส้นไหม โปรตีนเส้นเอ็น และโปรตีนในเขาสัตว์ เป็นต้น
    2. โปรตีนลักษณะเป็นก้อน (globular protein) โปรตีนประเภทนี้จะประกอบด้วยสายที่ขดตัวกัน โดยมีแรงดึงดูดระหว่างส่วนต่างๆ มีหลายชนิด เช่น โปรตีนพวกฮีโมโกลบิน โปรตีนพวกเอนไซม์ โปรตีนที่อยู่ในเซลล์ของกล้ามเนื้อ และโปรตีนที่ทำหน้าที่เป็นฮอร์โมน เป็นต้น

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที