ขนิษฐา

ผู้เขียน : ขนิษฐา

อัพเดท: 24 ต.ค. 2006 10.12 น. บทความนี้มีผู้ชม: 613141 ครั้ง

เคมีเกี่ยวข้องอย่างไรกับอาหารที่เรากินกันทุกวัน อยากรู้ต้องอ่าน"สารชีวโมเลกุล"


คาร์โบไฮเดรต

คาร์โบไฮเดรต(carbohydrates) หรือ แซ็กคาไรด์ (saccharide) เป็นสารอาหารที่พบในอาหารเกือบทุกชนิด โดยเฉพาะที่เป็นแป้งและน้ำตาล คาร์โบไฮเดรตมีความสำคัญต่อทั้งการทำงานและโครงสร้างของสิ่งมีชีวิต เป็นสารชีวโมเลกุลที่ให้พลังงานแก่ร่างกาย เป็นสารตัวกลางในระบบเมแทบอลิซึม และเป็นองค์ประกอบของเซลล์ คาร์โบไฮเดรตประกอบด้วยธาตุหลักคือ คาร์บอน ไฮโดรเจน และออกซิเจน โดยอะตอม ของ H : O = 2 :1 เช่น C3H6O3 , C6H12O6 และ (C6H10O5)n เป็นต้น

คาร์โบไฮเดรตเป็นสารอาหารให้พลังงาน โดยที่คาร์โบไฮเดรต 1 กรัม จะสลายให้พลังงาน 4 กิโลแคลอรี คาร์โบไฮเดรตมักพบอยู่ในธัญพืช หรือพืชพวกหัว เช่น ข้าวต่างๆ มัน เผือก น้ำตาล เป็นต้น


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที