ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

ผู้เขียน : ชัชวาล อรวงศ์ศุภทัต

อัพเดท: 25 มี.ค. 2009 13.26 น. บทความนี้มีผู้ชม: 5494 ครั้ง

เกร็ดความรู้...เพื่อเป็นมนุษย์งานมือโปร
HR Contribution

ในสภาพการณ์ของสังคมที่ความรู้เป็นเรื่องที่เปลี่ยนแปลงไปตลอด และเป็นสิ่งจำเป็นของการเรียนรู้เพื่อสร้างความก้าวหน้าให้กับหน้าที่การงานและชีวิต ในฐานะที่ผู้เขียนทำงานในสายงานบริหารทรัพยากรบุคคล จึงขอฝากเกร็ดเล็กน้อยเกี่ยวกับการทำงานไว้ให้ได้เรียนรู้กัน ทั้งผู้เขียนและท่านผู้อ่าน ในลักษณะเรียนรู้ร่วมกัน สรรค์สร้าง HR เพื่อความเป็นมืออาชีพนะครับ....


ความตื่นตัวในภาวะวิกฤตของคนในองค์การ

หลายองค์การเร่มจะมีปัญหาที่บุคลากรไม่ค่อนจะเป็นทุกข์เป็นร้อนกับภาวะเศรษฐกิจที่ส่งผลกระทบต่อธุรกิจที่ทำการค้าขายอยู่ ซึ่งก็สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าให้กับผู้บริหารขององค์การอยู่ไม่น้อย เลยเกิดคำถามขึ้นมาว่า บุคลากรในองค์การเหล่านี้ ตื่นตัวและมองปัญหาวิกฤตที่มีต่อตัวเขาและองค์การหรือไม่ และทำอย่างไรที่เขาจะรู้และมาช่วยกันรับมือกับมัน

ว่าไปแล้ว การที่บุคลากรในองค์การจะอยู่เฉย ๆ ในภาวะที่องค์การยากลำบากมีปัญหานั้น เป็นเรื่องที่เราพบเห็นได้ทั่วไป ไม่แปลกประหลาดเลยล่ะครับ ที่เขาเฉย ๆ นั้น ลองตรองดูเถิดหนา มันน่ามีเหตุหลายอย่างครับ เช่น เขามองไม่ออกว่าสภาพการณ์แบบที่ว่านี้ มันมีหน้าตาเป็นอย่างไร ส่งผลกระทบแบบไหน คนที่มองไม่ออกนี้ ส่วนใหญ่ก็จะเป็นเด็กจบใหม่ที่ไม่มีประสบการณ์หรืออาจจะไม่เคยได้รับรู้วิกฤตต้มยำกุ้งเมื่อปี พ.ศ.2540 เลย เขาก็ไม่สามารถประติดประต่อเรื่อง ไม่ aware และเตรียมความพร้อมที่จะรับมือมันเลย

ในหลายกรณีพบว่า กล่มคนที่วางเฉยกับปัญหานั้น อาจจะเป็นเพราะเขาเชื่อมั่นตัวเองมากเกินไป เชื่อมั่นว่าเขาสามารถรับมือกับมันได้ กระทั่งขาดการเตรียมความพร้อมเพื่อรองรับปัญหา ซึ่งว่าไปแล้วก็คือ ความเสี่ยงที่องค์การจะต้องพบเจอ พอมันเกิดปัญหาประดังประเดเข้ามา ก็ทำอะไรไม่ค่อยจะถูกหรือไม่ค่อยจะครบถ้วน

อย่างไรก็ดี

แต่ก็มีคนอีกกลุ่มหนึ่ง (ไม่ว่าจะอยู่ในระดับบริหารหรือระดับปฏิบัติการก็ตาม) ที่นอกจากจะไม่เตรียมตัวรับมือแล้ว ยังเป็นตัวสร้างปัญหาใหม่ ๆ ขึ้นมา และทำให้ปัญหาซับซ้อนซ่อนเงื่อนหนักเข้าไปอีก โดยมากเราจะพบว่า คนกลุ่มนี้ไม่แยแสว่าองค์การจะเป็นอย่างไร เพราะเขาไม่คิดว่าเขาจะเดือดร้อน ต่อเมื่อเขาพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นส่งผลกระทบต่อเขา เขามักจะพยายามขัดขวางหรือทำอะไรที่ไม่ให้ปัญหามันส่งผลมาที่เขา แม้ว่าคนกล่มอื่นในองค์การมองว่าส่งที่เขาทำนั้น ไม่ได้ส่งผลดีก็ตาม 

และเมื่อมีอะไรขึ้นมาก็จะขอให้องค์การว่าไปตามสิทธิที่เขาพึงได้ตามกฎหมาย คนกลุ่มนี้หล่ะครับ องค์การจะต้องแยกให้ชัดว่า องค์การจะยังต้องการอยู่หรือไม่

องค์การก็ต้องยอมรับนะครับว่า ทรัพยากรมนุษย์ซึ่งก็คือ คนทำงานนั้นมีคุณค่าต่อองค์การ แต่ไม่ใช่ทุกคนหรอกครับที่มีคุณค่าและเป็นที่ต้องการขององค์การ   

ผมกำลังบอกทุกท่านว่า ความร่วมแรงร่วมใจกันเตรียมความพร้อมและฟันฝ่าวิกฤตที่เกิดขึ้นนี้ เป็นเรื่องสำคัญที่จะต้องสื่อสาร สื่อสาร และสื่อสารอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ตระหนักและรับรู้ในหมู่บุคลากรใหญ่น้อยในองค์การ รับรู้และตระหนักในสภาพการณ์ที่เกิดขึ้นหรือาจจะเกิดขึ้น ปัญหาและความเสี่ยงที่อาจจะส่งผลกระทบต่อธุรกิจ เพื่อสร้างส่งที่ผมขอเรียกว่า "ความเดือนร้อนร่วมกัน" ขึ้นมาให้ได้

พึงเข้าใจว่า ไม่มีใครในองค์การที่จะรอดพ้นจากเงื้อมมือของผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากวิกฤตครั้งนี้ได้เลย ไม่ว่าจะทางตรงหรือทางอ้อม ไม่ว่าจะมากหรือจะน้อย ไม่ว่าเราจะมีกลไกการเตรียมความระแวดระวังไม่ดีเพียงใดก็ตาม  การเตรียมความพร้อมรับมือจึงเป็นเพียงการสร้างมาตรการหรือแนวทางที่จะลดผลกระทบทางลบที่จะเกิดขึ้นเท่านั้นเอง

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที