ชนิตพล

ผู้เขียน : ชนิตพล

อัพเดท: 18 ม.ค. 2014 06.10 น. บทความนี้มีผู้ชม: 988742 ครั้ง

"ประสบการณ์ยิ่งมากยิ่งมีคุณค่าควรรู้และยิ่งมีค่ามากที่สุดเมื่อถูกถ่ายทอดออกมาจากใจ"


วันที่ 6 ศาสตร์ของการบริหารงาน "การประยุกต์ใช้ ISO (-4-)"

ตอนที่ 21

วันที่ 6

ศาสตร์ของการบริหารงาน (Science of Management)

"การประยุกต์ใช้ ISO" (-4-)

 

ในตอนนี้ขอกล่าวถึงโครงสร้างขั้นพื้นฐานของ  ISO9001:2000 และการเลือกหน่วยรับรองมาตรฐาน

1. ISO9001:2000  อยู่บนพื้นฐานของหลักการ 4 ข้อ

     1.1 ตามความต้องการของผู้ใช้ (Customer Requirement) :ขั้นหาความต้องการ/ข้อมูล/รายละเอียดของลูกค้า

มุ่งประเด็นที่ลูกค้าเป็นประการสำคัญ (Customer focus)…..ลูกค้าได้รับการบริการจากองค์กร/ใช้สินค้าที่เราผลิต…..เราต้องรู้ว่าลูกค้าต้องการอะไร….. เราต้องตอบสนองลูกค้าได้ตลอดชีวิตธุรกิจของเราได้อย่างไร?…..การสร้างสิ่งที่เหนือความคาดหวังของลูกค้าได้นั่นคือ……ความมั่นคงและยั่งยืนขององค์กรของเรา!                

     1.2 วางแผนใช้การจัดการที่ดี ( Management Planning) :ขั้นหาระบบการจัดการด้านแผนงานและเอกสารที่ดีมาใช้บริหารระบบ

ต้องเตรียมความพร้อมด้าน การวางแผนงานที่จะบริหารระบบ (Management System Planning)….โดยทำความเข้าใจ…ศึกษา…จัดเตรียมเอกสารที่ใช้ในการบริหารระบบ…พร้อมกับการนำไปใช้

     1.3  กระบวนจัดการขององค์กรเพื่อควบคุมการให้บริการ/การผลิต (Process Control System) :ขั้นปฏิบัติงานของกระบวนการภายในองค์กร                

การสร้างความเป็นหนึ่งเดียว (Build Up….The Unity)…..ขององค์กรที่ผู้บริหารมีความเป็นผู้นำ (Leadership)สูง….ทำให้ทุกส่วน/ทุกคนมีส่วนร่วมในการทำงาน/ทำโครงการ/สร้างสรรค์องค์กร                  ( Participant to participate and Involvement )…..ด้วยกระบวนการบริหารที่มีระบบและเป็นแบบแผน(Process Management System)…..มีความใกล้ชิดที่จะพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (approach to continuous improvement )

       1.4 สินค้า /การบริการ ถูกใจผู้ใช้ (Customer Contentment) :ขั้นวัดผล / ประสิทธิภาพของระบบ

 ประกอบกับการตัดสินใจในการสร้างความสำเร็จเพื่อประสานประโยชน์ขององค์กรกับลูกค้า……(Make decision and  mutually beneficial customer relationship)

       

2. ทบทวนองค์ประกอบของการใช้ ISO9001:2000

      มาตรฐานระบบการบริหารคุณภาพขององค์กรเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องมีองค์ประกอบดังต่อไปนี้

2.1   ผู้บริหารระดับสูงต้องมีความมุ่งมั่นและตั้งใจแน่วแน่ในการนำระบบมาใช้และให้การสนับสนุนอย่าง จริงจัง และต่อเนื่อง                                                                                                                                                          2.2   ทุกคนในองค์กรมีความเข้าใจ ให้ความสำคัญ มีส่วนร่วมและให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่                                       2.3  ได้รับการจัดสรรทรัพยากรอย่างเพียงพอที่จะดำเนินการตามแผน                                                                                                                     2.4   มีการติดตามและปรับปรุงระบบการจัดการด้านบริหารคุณภาพอย่างต่อเนื่อง

3. การเลือกหน่วยรับรองมาตรฐาน

3.1 จากความจำเป็นในการขอรับรองมาตรฐานขององค์กรเพื่อวัตถุประสงค์คือ…..แสดงความสำเร็จของการจัดทำระบบมาตรฐานขององค์กร……อยู่ภายใต้ข้อกำหนดของระเบียบและข้อกำหนดของกฎหมายการผลิต/การบริการ……ตามความต้องการของลูกค้า/ผู้รับบริการที่ต้องการมาตรฐาน

3.2 หน่วยรับรองระบบงาน (Accreditation Body) มีการรับรอง 2 ส่วน คือ……หน่วยรับรอง(Certification Body) และหน่วยตรวจสอบ/ห้องปฏิบัติการ(Laboratory/Inspection)…..ให้การรับรองแก่องค์กร/ผู้ประกอบการ(Organizations)……เพื่อให้ลูกค้า(Customers)ได้รับความพึงพอใจในสินค้า/รับการบริการ

การเลือกหน่วยรับรอง(CB)….พิจารณาจาก

1. ประเภทของมาตรฐาน ISIC (International Standard Industrial Classification)

2. พิจารณาจากคณะประเมิน ความเชื่อถือ ความสามารถ ความใส่ใจในหน้าที่ (Auditor Ability)

3. เวลาที่ให้บริการแก่องค์กรเพื่อตรวจสอบ/ตรวจวัด/ ให้คำปรึกษา (Auditor Time)

4. ตรงตามความต้องการของลูกค้า (Customer Requirement)

5. ข้อควรระวังในการเลือก…ราคาถูก…รวดเร็ว…ง่ายดาย

ค่าใช้จ่ายในการขอรับการรับรอง….มี 3 ส่วนคือ

               1. ค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอ

               2. ค่าธรรมเนียมในการตรวจประเมิน

               3. ค่าธรรมเนียมใบรับรอง

       ค่าธรรมเนียมต่างๆ ในการขอการรับรอง…เป็นไปตามข้อกำหนดและหลักเกณฑ์ของหน่วยรับรองนั้นๆ

 

/////////////////////////////////////////

7/6/2552

 

จากบทส่งท้ายของตอนที่ 18:  2. บิลล์ เกตส์  มีหลักบริหารงานต่างจากไอน์สไตน์  อย่างไร ?

หลักการทำงาน 5 ประการของบิล เกตส์ คือ

1.  หาตลาดที่มีการแข่งขันน้อย…คู่แข่งน้อย

2.  การตลาดต้องรวดเร็ว… ต้องทำให้ใหญ่

3.  สร้างสิทธิบัตรคุ้มครอง….และคุ้มครองสิทธิ์นั้นๆ
4.  สร้างความสำร็จ
…จากผลกำไรให้ได้มากที่สุด
5.  บริการที่ถูกใจลูกค้า
….ไม่ให้ลูกค้าปฏิเสธ

หลักการบริหาร  4  ประการของบิล เกตส์ คือ
1.  พนักงานที่ทำงานดี….ให้หุ้นส่วนบริษัทไมโครซอฟ
2.  มีการตัดสินใจตามลำดับขั้น
….ให้อำนาจในการตัดสินใจ
3.  การทำงานมีการประเมินเป็นระดับคะแนน
….คะแนน 1-4 ….คะแนนหนึ่งให้ออก…. สี่ดีเยี่ยม

4.  ให้ความเสมอภาค….โดยให้ทุกคนมีอีเมล์

อัลเบิร์ต ไอน์สไตน์  ใช้หลักบริหารสู่จุด…“ศูนย์กลาง”… คือใช้ธรรมะบริหาร…สู่ความสำเร็จที่ยั่งยืน…ลดอัตตา-สร้างสติ ด้วยวิปัสสนา และอิทธิบาท 4 หรือหนทางแห่งความสำเร็จที่ยิ่งใหญ่ 4 ประการอันได้แก่
1. ฉันทะ….ความพอใจและรักในงานที่ทำ
2. วิริยะ……ความพากเพียรต่องานที่ทำ
3. จิตตะ…...ความเอาใจใส่ฝักใฝ่ในงานที่ทำ
4. วิมังสา….ความสอดส่องดูแลในเหตุ และผลของการทำงาน

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที