editor

ผู้เขียน : editor

อัพเดท: 18 ส.ค. 2008 15.24 น. บทความนี้มีผู้ชม: 654478 ครั้ง

บทความเรื่องหุ่นยนต์จาก อาจารย์ ดร.ชิต เหล่าวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม (FIBO)


สถานภาพการศึกษาวิทยาการหุ่นยนต์ของไทย

สถานภาพการศึกษาวิทยาการหุ่นยนต์ของไทย

การศึกษาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติโดยจำแนกตามระดับการศึกษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ระดับคือ ระดับอุดมศึกษาและระดับอาชีวศึกษา โดยการศึกษาระดับอุดมศึกษาจะอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) กระทรวงศึกษาธิการ ในขณะที่การอาชีวศึกษา (Vocational Education) จะอยู่ภายใต้การกำกับของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา (สอศ.) กระทรวงศึกษาธิการ การศึกษาสถานภาพปัจจุบันทางด้านการศึกษาทั้ง 2 ระดับดังกล่าว ในที่นี้แบ่งออกเป็น 3 ด้านคือ ด้านบุคลากร ด้านหลักสูตรการเรียนการสอน และด้านกิจกรรม โดยมีรายละเอียดดังนี้

ด้านบุคลากร

บุคลากรทางการศึกษาถือเป็นกลไกสำคัญในการพัฒนานักเรียน นักศึกษาให้มีทั้งความรู้และทักษะพร้อมที่จะทำงานในสถานประกอบการต่างๆ ในการพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัตินั้นจำเป็นต้องอาศัยบุคลากรทางการศึกษาที่มีความรู้ทางศาสตร์ต่างๆ ประกอบไปด้วยศาสตร์ทางด้านไฟฟ้า เครื่องกล คอมพิวเตอร์ อิเล็กทรอนิกส์ วัดคุมหรือเครื่องมือวัด เป็นต้น ทั้งนี้เพื่อเป็นการศึกษาความพร้อมของบุคลากรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จึงได้มีการสำรวจข้อมูลบุคลากรในศาสตร์ที่เกี่ยวข้องดังกล่าวโดยจำแนกตามระดับการศึกษาเป็น 2 ระดับดังต่อไปนี้

ระดับอุดมศึกษา

การศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะครอบคลุมระดับปริญญาตรีไปจนถึงระดับปริญญาเอกซึ่งมหาวิทยาลัยที่ทำการเปิดสอนมีทั้งมหาวิทยาลัยของรัฐและของเอกชน จากการศึกษาข้อมูลบุคลากรแยกตามสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล เมคคาทรอนิกส์ และเครื่องมือวัด ของมหาวิทยาลัยต่างๆ โดยมีรายละเอียดดังตารางที่ 1 แสดงให้เห็นว่าบุคลากรในสาขาเมคคาทรอนิกส์ และเครื่องมือวัดมีอยู่จำนวนน้อยเมื่อเทียบกับสาขาวิศวกรรมไฟฟ้าและวิศวกรรมเครื่องกล นอกจากนี้สาขาเมคคาทรอนิกส์ และเครื่องมือวัด มีการเปิดสอนอยู่เพียงบางมหาวิทยาลัยเท่านั้น

ตารางที่ 1 จำนวนบุคลากรคณะวิศวกรรมศาสตร์ของมหาวิทยาลัยต่างๆ แยกตามสาขา

ระดับอาชีวศึกษา

สำหรับจำนวนบุคลากรในระดับอาชีวศึกษาจะมีลักษณะที่คล้ายกับในระดับอุดมศึกษาคือ จะมีจำนวนบุคลากรส่วนใหญ่อยู่ในสาขาหลักคือเครื่องกลและไฟฟ้า ดังแสดงตารางที่ 2

ตารางที่ 2 จำนวนข้าราชการครูสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ในสาขาที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ปีการศึกษา 2549

สาขาวิชา

ต่ำกว่า ป.ตรี

ป.ตรี

ป.โท

ป.เอก

รวม

เครื่องกล

28

1064

320

1

1413

ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

1

245

90

1

337

ไฟฟ้ากำลัง

45

918

286

1,249

อิเล็กทรอนิกส์

44

510

184

2

740

เทคโนโลยีคอมพิวเตอร์

7

10

17

เมคคาทรอนิกส์

3

3

6

เครื่องมือวัดและควบคุม

12

4

16

ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

หลักสูตรการเรียนการสอน

การศึกษาทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์เป็นลักษณะการบูรณาการความรู้ทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์หลายสาขาเข้าด้วยกัน ในการจัดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์แบบดั้งเดิม ( Classical Robotics) โดยประกอบไปด้วย คณิตศาสตร์และจลนศาสตร์สำหรับการสร้างหุ่นยนต์ การกำหนดเส้นทางการเคลื่อนที่ (Path Planning) พลศาสตร์และการควบคุมหุ่นยนต์ รวมถึงการโปรแกรมหุ่นยนต์แขนกลสำหรับงานประกอบชิ้นงาน เป็นต้น ในการศึกษาระบบหุ่นยนต์ในปัจจุบันสามารถแบ่งองค์ประกอบเป็น การรับรู้ (Perception) การประมวลผล (Processing) และการกระทำ (Action) โดยในส่วนของการรับรู้นี้ครอบคลุมเทคโนโลยีเซ็นเซอร์ ระบบตรวจจับภาพและเสียงพูด (Vision and Speech Sensing) และการประมวลผลหมายรวมถึงการรู้จำ (Recognition) ขบวนการการตัดสินใจ (Decision-Making) ระบบอัจฉริยะ (Intelligent System) เป็นต้น สำหรับการกระทำนั้นจะอาศัยหลักการของระบบเครื่องกลไฟฟ้า (Electromechanical System) และระบบขับเคลื่อนทางกลต่างๆ เช่น ไฮดรอลิกส์และนิวเมติกส์ นอกจากนี้ยังครอบคลุมระบบควบคุมชนิดต่างๆด้วย

หลักสูตรการศึกษาที่มีลักษณะสหวิทยาการเช่นเดียวกับวิทยาการหุ่นยนต์คือหลักสูตรทางด้านเมคคาทรอนิกส์ซึ่งเป็นหลักสูตรสมัยใหม่ ที่มุ่งเน้นผลิตบุคลากรให้มีความรู้ความสามารถในการออกแบบ บำรุงรักษา เครื่องจักรกลสมัยใหม่ในระบบกระบวนการผลิตรวมถึงหุ่นยนต์และเครื่องจักรอัตโนมัติ รูปที่ 3-1 แสดงศาสตร์ต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเมคคาทรอนิกส์ ซึ่งมีลักษณะเช่นเดียวกับวิทยาการหุ่นยนต์คือ ระบบควบคุม (Control Systems) ระบบอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Systems) ระบบเครื่องกล (Mechanical Systems) และคอมพิวเตอร์ โดยเมคคาทรอนิกส์สามารถประยุกต์ใช้งานในหลากหลายเช่น อุตสาหกรรมรถยนต์ การแพทย์ การทหาร เป็นต้น

Aerial Venn diagram from RPI's website describes the various fields that make up Mechatronics

ที่มา : Mechatronics, Wikipedia

รูปที่ 1 Aerial Venn Diagram แสดงศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับเมคคาทรอนิกส์

ประเทศไทยมีหลักสูตรการเรียนการสอนที่เปิดสอนทั้งทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และเมคคาทรอนิกส์ โดยจำแนกเป็นระดับอุดมศึกษาและระดับอาชีวศึกษาดังนี้

ระดับอุดมศึกษา

จากข้อมูล สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา คณะวิศวกรรมศาสตร์ของสถาบันอุดมศึกษาที่ทำการเปิดสอนสาขาวิศวกรรมไฟฟ้า วิศวกรรมเครื่องกล วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ วิศวกรรมอิเล็กทรอนิกส์ วิศวกรรมเมคคาทรอนิกส์ วิศวกรรมวัดคุม และวิศวกรรมควบคุม สามารถผลิตบัณฑิตให้มีความรู้ความสามารถทางศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์ที่จบในปีการศึกษา 2548 มีจำนวน 25 มหาวิทยาลัย ดังนี้

เมื่อแยกตามระดับการศึกษาในระดับ ปริญญาตรี ปริญญาโท และปริญญาเอก และแยกตามสาขาที่ทำการเปิดสอน มหาวิทยาลัยเหล่านี้สามารถผลิตบัณฑิตสู่สถานประกอบการในปีการศึกษา 2548 มีจำนวนตามที่แสดงไว้ในรูปที่ 3-2 ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสาขาที่มีผู้จบการศึกษาในทุกระดับในปีการศึกษา 2548 มีเพียงสาขาไฟฟ้า เครื่องกลและคอมพิวเตอร์ ส่วนสาขาเมคคาทรอนิกส์มีผู้สำเร็จการศึกษาเฉพาะระดับปริญญาตรี

ที่มา : สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา

รูปที่ 1 จำนวนผู้สำเร็จการศึกษา ปีการศึกษา 2548 คณะวิศวกรรมศาสตร์ แยกตามสาขา

ในจำนวนมหาวิทยาลัยข้างต้น มีมหาวิทยาลัยที่ทำการเปิดสอนวิทยาการหุ่นยนต์หรือเมคคาทรอนิกส์ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกันหลายมหาวิทยาลัย เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาเป็นระดับปริญญาตรีกับระดับสูงกว่าปริญญาตรีหรือระดับบัณฑิตศึกษา จะมีหลักสูตรและสาขาดังต่อไปนี้

ระดับปริญญาตรี

ระดับบัณฑิตศึกษา

ระดับอาชีวศึกษา

หลักสูตรการศึกษาในระดับอาชีวศึกษาแบ่งออกเป็นระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ (ปวช.) ระดับประกาศนีบัตรวิชาชีพชั้นสูง (ปวส.) และประกาศนียบัตรเทคนิคชั้นสูง (ปทส.) โดยภาพรวมสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา มีสถานศึกษาในสังกัดทั่วประเทศ 412 แห่ง จำแนกตามประเภทของสถานศึกษาได้ดังนี้

โดยประเภทวิชาที่ทำการเปิดสอนประกอบด้วย 8 ประเภท คือ

สำหรับหลักสูตรที่มีลักษณะเช่นเดียวกันกับวิทยาการหุ่นยนต์นั้น สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาได้ทำการเปิดสอนในปัจจุบันโดยกำหนดไว้ในหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง พุทธศักราช 2546 ประเภทวิชาอุตสาหกรรม สาขาวิชาเมคคาทรอนิกส? ซึ่งได้ทำการเปิดสอนอยู่ทั้งหมด 15 วิทยาลัย ดังนี้

ดังนั้นเมื่อทำการเปรียบเทียบจำนวนนักเรียนนักศึกษาเข้าใหม่ในปีการศึกษา 2550 จึงพบว่านักเรียนในสาขาเมคคาทรอนิกส์มีจำนวนน้อยเมื่อเทียบกับสาขาเครื่องกลและไฟฟ้าดังแสดงในตารางที่ 3-3

ตารางที่ 1 การรับนักเรียนนักศึกษาเข้าใหม่ ปีการศึกษา 2550

สาขา

จำนวน

เครื่องกล

48755

ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

41083

เครื่องมือกลและซ่อมบำรุง

14607

ไฟฟ้ากำลัง

10463

อิเล็กทรอนิกส์

7651

เมคคาทรอนิกส์

465

เครื่องมือวัดและควบคุม

128

ที่มา : ศูนย์ปฏิบัติการสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

หลักสูตรการเรียนการสอนทางด้านระบบอัตโนมัติ

ในการเรียนการสอนระบบอัตโนมัติในเมืองไทยนั้น อาจจะแบ่งออกเป็น 3 แนวทาง ดังกล่าวต่อไปนี้

เนื่องด้วยระบบอัตโนมัติเป็นลักษณะของสหวิทยาการ ซึ่งกลุ่มเนื้อหาสาระวิชาที่จำเป็นต้องใช้จะประกอบด้วย

ด้านกิจกรรม

กิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ แบ่งออกเป็นการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ การจัดชมรม การอบรม และการร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยและภาคเอกชนในการจัดตั้งบริษัทที่ได้รับการบ่มเพาะจากสถานศึกษา โดยกิจกรรมต่างๆมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

การแข่งขันหุ่นยนต์

กิจกรรมทางด้านการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ในปัจจุบันจัดขึ้นโดยหลายหน่วยงาน ทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน โดยเฉพาะภาคการศึกษามีผู้ให้ความสนใจในหลายระดับ ทั้งในระดับมัธยม ระดับอาชีวศึกษา ระดับอุดมศึกษาดังแสดงในรูปที่ 3-3 ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจำนวนการจัดการแข่งขันที่เพิ่มขึ้นในระยะเวลาที่ผ่านมา รวมถึงจำนวนผู้ที่ให้ความสนใจเพิ่มขึ้นโดยดูจากจำนวนทีมผู้เข้าแข่งขันที่มีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นในหลายการแข่งขัน

รูปที่ 2 จำนวนทีมที่เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในปี พ.ศ. ต่างๆ

โดยการแข่งขัน ส.ส.ท. ชิงแชมป์ประเทศไทยและหุ่นยนต์อาชีวศึกษา เป็นการแข่งขันเพื่อพัฒนาหุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยคนและทำงานเองโดยอัตโนมัติเพื่อบรรลุภาระกิจที่กำหนดเช่นการหยิบวางเรียงกล่องเพื่อทำบิงโก แล้วจะมีการแข่งขันร่วมกันระหว่างอาชีวศึกษาและอุดมศึกษาเพื่อหาผู้ชนะเลิศเป็นตัวแทนประเทศไทย ไปแข่งขันระดับนานาชาติในการแข่งขัน ABU Robot Contest

ส่วนการแข่งขัน PLC Robot Competition เป็นการแข่งขันเพื่อสร้างระบบอัตโนมัติโดยใช้ PLC เป็นตัวควบคุมเช่น การแข่งขันตีกอล์ฟ หรือการปาลูกดอกโดยใช้ PLC เป็นต้น

ส่วนการแข่งขันหุ่นยนต์ยุวชนกรังปรีซ์และหุ่นยนต์ยุวชนอาชีวะ เป็นการแข่งขันระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีการอบรมการสร้างและเขียนโปรแกรมก่อนการแข่งขัน

การแข่งขัน Robocup เป็นการแข่งขันที่พัฒนาหุ่นยนต์เคลื่อนที่แบบใช้ล้อเพื่อเลี้ยงลูกบอลและทำประตูฝ่ายตรงข้าม การแข่งขันประเภทนี้ต้องอาศัยความรู้ในเรื่องของคอมพิวเตอร์วิชั่นในการหาตำแหน่งของตัวหุ่นยนต์และลูกบอล และใช้ปัญญาประดิษฐ์ (Artificial Intelligence) ในการวางแผนการบุกและรับ ผู้ชนะเลิศจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติ

การแข่งขัน Rescue Robot เป็นการแข่งขันการพัฒนาหุ่นยนต์ที่ควบคุมด้วยคนร่วมกับข้อมูลที่ได้จากเซ็นเซอร์ในการสำรวจตำแหน่ง อุณหภูมิ เสียงและการเคลื่อนไหวของหุ่นตัวแทนเหยื่อ ในสภาพแวดล้อมต่างๆ ผู้ชนะเลิศจะได้เป็นตัวแทนประเทศไทยไปแข่งขันระดับนานาชาติ

การแข่งขัน Intelligent Vehicle เป็นการแข่งขันพัฒนารถอัจฉริยะที่สามารถเคลื่อนที่จากจุดเริ่มต้นไปสู่จุดหมายปลายทางโดยไม่ต้องมีคนเข้าไปควบคุมหรือเกี่ยวข้อง

นอกจากกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับชาติแล้ว เด็กไทยยังได้เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์นานาชาติในหลายรายการแสดงในรูปที่ 4 ดังนี้

IMG_0391Image00014

P7141318

ที่มา : ชมรมนักประดิษฐ์วิศวกรรม, ทีมหุ่นยนต์ Independent คว้ารางวัลชนะเลิศอันดับ 1

รูปที่ 4 นักศึกษาที่เข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ในระดับนานาชาติ

ตารางที่ 4 แสดงให้เห็นว่าผู้ชนะการแข่งขันในระดับประเทศมีศักยภาพที่สามารถชนะเลิศการแข่งขันในระดับนานาชาติโดยมีจำนวนการได้รางวัล

ตารางที่ 2 รางวัลที่ได้รับในการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติในปี พ.ศ. ต่างๆ

หมายเหตุ : 1 คือ ชนะเลิศ และ 2 คือ รองชนะเลิศ

ชมรม

จากการเข้าร่วมการแข่งขันหุ่นยนต์ของนักเรียนนักศึกษาที่ผ่านมา ส่งผลให้มีการจัดกิจกรรมชมรมที่ชัดเจนขึ้น ซึ่งพบว่าชมรมที่จัดขึ้นมีวัตถุประสงค์เพื่อสนับสนุนการเข้าร่วมกิจกรรมการแข่งขันหุ่นยนต์ของประเทศไทยที่มาจากหลากหลายสถาบัน ทั้งโรงเรียนและมหาวิทยาลัยซึ่งแยกตามสถาบันต่างๆ ดังนี้

สมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยเป็นอีกองค์กรหนึ่งที่มีกิจกรรมทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์ โดยสมาคมวิชาการหุ่นยนต์ไทยเริ่มก่อตั้งในปี พ.ศ. 2543 โดยกลุ่มอาจารย์ นักวิจัย และบุคลากรจากภาคอุตสาหกรรมที่มีความสนใจในการพัฒนาเทคโนโลยีทางด้านหุ่นยนต์ ซึ่งทางสมาคมมีกิจกรรมการจัดการแข่งขันหุ่นยนต์ และกิจกรรมการประชุมทางวิชาการในทุกๆปี ปัจจุบัน ผศ.ดร.จักรกฤษณ์ ศุทธากรณ์เป็นนายกสมาคมฯ

การอบรม

กิจกรรมด้านการอบรมมีส่วนสำคัญต่อการเผยแพร่ความรู้ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ในปัจจุบันประเทศไทยมีหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนหลายหน่วยงานที่มีความพร้อมในการจัดกิจกรรมด้านการอบรมทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ซึ่งสรุปไว้ในตารางที่ 5 ดังนี้

ตารางที่ 3 หน่วยงานที่จัดอบรมทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ

ลำดับ

ชื่อสถาบัน

สาขาที่เปิดอบรม

Automation

Robotics

1

สถาบันไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์

/

2

มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี ( มจธ.)

/

/

3

สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ

/

ศูนย์วิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ( STRC)

/

/

ศูนย์นวัตกรรมเทคโนโลยีไทย-ฝรั่งเศษ ( TFIC)

/

/

สำนักพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อุตสาหกรรม ( ITDI)

/

/

4

ศูนย์ฝึกอบรมระบบอุตสาหกรรมอัตโนมัติ
(Industrial Automation Training Center) เกษตรศาสตร์

/

5

ศูนย์ฝึกอบรมเนคเทค (NECTEC)

/

6

สถาบันส่งเสริมเทคโนโลยี ( สสท.)

/

7

บริษัท HPC GROUP

/

8

OMRON

/

9

Scada Automation Co.,Ltd.

/

10

Siemens Training Center Bangkok

/

11

ศูนย์ฝึกอบรม เบรนนิคส์ เทคโนโลยี

/

12

EDA Instruments & Systems

/

13

สถาบันพัฒนาฝีมือแรงงานภาค 12 สงขลา

/

14

สถบันสอนสร้างหุ่นยนต์สำหรับเด็ก

/

15

ThinkWell Robotic and Computer Center

/

16

ศูนย์เทคโนโลยีไฮเทค จ.อยุธยา

/

บริษัทที่แยกตัวจากศูนย์บ่มเพาะ ( Spin-off Company)

บริษัทที่ตั้งขึ้นจากกลุ่มวิจัยหรือจากศูนย์บ่มเพาะวิสาหกิจของมหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นอีกกิจกรรมหนึ่งที่เป็นผลจากความร่วมมือระหว่างองค์กรของรัฐกับภาคเอกชนที่มีเป้าหมายในการพัฒนาองค์ความรู้และเทคโนโลยีต่างๆ ในปัจจุบันมีตัวอย่างการจัดตั้งบริษัทที่แยกตัวจากศูนย์บ่มเพาะจากสถานศึกษาอยู่หลายบริษัท ดังแสดงในตารางที่ 6

ตารางที่ 4 ตัวอย่างบริษัทที่ได้รับการบ่มเพาะจากสถานศึกษา

บริษัท

ผลิตภัณฑ์บริการ

หมวดหมู่

เวอธ อินโนเวชั่น จำกัด

ซ่อมบำรุงรักษาโปรเจคเตอร์ ให้กับระบบ Multimedia ในรถไฟฟ้าใต้ดิน

บริษัทภายใต้โครงการบ่มเพาะธุรกิจของ สกอ. ในสังกัด
ศูนย์พัฒนาถ่ายทอดเทคโนโลยีรัฐร่วมเอกชน
แห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ระบบบริการรับส่งสินค้า เอกสาร พัสดุต่างๆ

จอภาพ LED True Color Display

นะโม จำกัด

การส่งข้อมูลไร้สาย สามารถให้บริการ แก้ไขปัญหา
และออกแบบนวัตกรรมใหม่ๆ

ทำการวิจัยพัฒนาร่วมกับมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

มิกซ์เอ็น คอร์ปอเรชั่น จำกัด

วางระบบการทำงานอัตโนมัติ

พัฒนาและผลิตเครื่องมือ เครื่องจักร และอุปกรณ์ควบคุมอัตโนมัติ สำหรับภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรม

สมาร์ท เอ็มเบ็ดเด็ด เน็ตเวิร์ค ซิสเต็ม จำกัด

ระบบอิเล็กทรอนิกส์ทางการเกษตรและเกษตรกรรม
แบบแม่นยำ

ระบบสมองกลฝังตัว (Embedded System)

ระบบจักรกลอิเล็กทรอนิกส์ (Mechatronics)

ระบบควบคุมผ่านเครือข่าย (Network-based control)

เอ็กทรีมพลัส จำกัด

ระบบเซ็นเซอร์อัจฉริยะ (Intelligent Sensor) และ
เครือข่ายเซ็นเซอร์ไร้สาย

Interactive FogScreen

NetSync MultiScreen Display System

Optical Interactive Touch Screen

Dilad Transparent Projection

ที่มา : รายงานการศึกษาและจัดทำสถานภาพและแนวโน้มของระบบอัตโนมัติในประเทศไทย อาจารย์ปัญญา เหล่าอนันต์ธนา

บทสรุป

จากการศึกษาสภาพปัจจุบันด้านการศึกษาของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติด้านบุคลากร พบว่าในบุคลากรระดับอุดมศึกษาทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติจะกระจายอยู่ตามสาขาต่างๆเช่น วิศวกรรมไฟฟ้าหรือวิศวกรรมเครื่องกล และมีจำนวนบุคลากรน้อยกว่าสาขาหลักอย่างวิศวกรรมไฟฟ้าหรือวิศวกรรมเครื่องกล ซึ่งเป็นลักษณะเดียวกันกับบุคลากรระดับอาชีวศึกษา นอกจากนี้ผลงานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยจากฐานข้อมูล Science Citation Index ค.ศ. 1995-2004 ดังแสดงในรูปที่ 5 สอดคล้องกับจำนวนบุคลากรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติในระดับอุดมศึกษาที่มีจำนวนน้อย และมีข้อสังเกตว่าจำนวนบุคลากรและจำนวนผลงานตีพิมพ์สวนทางกับจำนวนหุ่นยนต์อุตสาหกรรมนำเข้าที่เพิ่มขึ้น ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่ต้องเร่งพัฒนาบุคลากรให้มีความรู้ด้านของวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติเพิ่มขึ้นให้ทันพร้อมกับการเปลี่ยนแปลง

ที่มา : ผลงานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีของไทยในฐานข้อมูล Science Citation Index ค.ศ. 1995-2004

รูปที่ 3 ผลงานตีพิมพ์ทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

สำหรับแนวโน้มทางด้านหลักสูตรการเรียนการสอน จากโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดประเด็นเชิงนโยบายอุดมศึกษา สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว ในประเด็นเรื่องการยกระดับคุณภาพศึกษาในระบบให้สอดคล้องกับความต้องการของสาขาเกษตร อุตสาหกรรม และบริการ ได้กำหนดแนวทางไว้โดยการศึกษาในระดับอุดมศึกษาควรเน้น สหกิจศึกษา ( Corporate Education) ให้มากที่สุดโดยอาศัยความร่วมมือกับผู้ประกอบการ ในประเด็นเรื่องพัฒนาหลักสูตรการศึกษาให้สอดคล้องกับทิศทางการพัฒนาอุตสาหกรรมโดยการศึกษาระดับมหาวิทยาลัยควรเพิ่มเนื้อหาภาคปฏิบัติจากสถานการณ์จริง (Practice School)

จากสภาพปัจจุบัน การสอนนักศึกษาไม่มีการแทรกปรัชญาหรือแนวคิดทางด้านธุรกิจ ส่วนมากนักศึกษาจะถูกอบรมและสั่งสอนมาเพื่อเป็นลูกจ้าง ดังนั้นภาครัฐควรมีการสนับสนุนนโยบายการศึกษา ให้มีหลักสูตรเพื่อการเป็นผู้ประกอบการผนวกกับการวิจัย นอกจากนี้ สถาบันการศึกษาและอาจารย์ทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ยังมีศักยภาพในการรับนักศึกษาได้มากกว่าที่เป็นอยู่ ดังจะเห็นได้จากทั้ง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย ยังมีนักศึกษาเข้ามาศึกษาในแต่ละแห่งได้ไม่เต็มศักยภาพตามที่แต่ละสถาบันการศึกษาสามารถรองรับได้อย่างเต็มที่ ซึ่งปัญหาคือจะต้องมีทุนการศึกษาที่เจาะจงมอบให้เพื่อการศึกษาในสาขาวิชานี้ ซึ่งถ้านักศึกษามีความสนใจในด้านนี้อยู่แล้ว เมื่อได้รับการกระตุ้นจะสิ่งเหล่านี้ก็จะทำให้มีผลต่อการตัดสินใจในการศึกษาต่อด้านนี้เป็นอย่างมาก

การอาชีวศึกษามีความสำคัญต่อการพัฒนาวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ ด้วยปัจจัยด้านความต้องการแรงงานที่ส่งผลต่อการพัฒนาประเทศ จากผลการประชุมเชิงปฏิบัติการเรื่องการวางแผนการจัดการศึกษาเพื่อผลิตกำลังคนตามความต้องการของประเทศ โดยสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ สป. ชี้ให้เห็นว่าความสามารถในการแข่งขันของอุตสาหกรรมหลักของประเทศ ขึ้นอยู่กับยุทธศาสตร์ในการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ ตามแนวทางการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ในช่วงแผนฯ 10 คือ “ เพิ่มจำนวนนักเรียนสายอาชีพให้ใกล้เคียงสายสามัญ เพิ่มกำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ระดับ ปวช. ปวส.” และจากผลการศึกษาความต้องการกำลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรม โดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา ยังแสดงให้เห็นว่า การผลิตและพัฒนากำลังคนตามความต้องการของกลุ่มอุตสาหกรรมที่เป็นยุทธศาสตร์การพัฒนาประเทศ สถานประกอบการที่ใช้กำลังแรงงานเป็นหลัก มีโครงสร้างอัตราส่วนการใช้กำลังคนใน ระดับสูง : ระดับกลาง : ระดับต่ำ เป็นอัตราส่วนประมาณ 10 : 20 : 70 ซึ่งส่งผลต่อปัญหาการขาดแคลนกำลังคนระดับกลางหรือระดับปฏิบัติการทั้งปวช. และปวส. นอกจากนี้จากการศึกษาใน แรงงานในปัจจุบันและคาดการณ์ไปในอนาคตดังแสดงในรูปที่ 6 พบว่า ช่างฝีมือระดับกลางมีแนวโน้มไม่พอต่อความต้องการของกําลังการผลิตในภาคอุตสาหกรรมและบริการ และสวนกระแสความต้องการแรงงานในอนาคตที่ต้องการแรงงานระดับกลางที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องดังแสดงในรูปที่ 7

ที่มา : อาชีวศึกษากับแนวทางพัฒนาฝีมือแรงงาน ประชากรและสังคม 2548, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

รูปที่ 4 ร้อยละของผู้เข้าเรียนในระดับมัธยมปลาย อาชีวศึกษา อนุปริญญาและปริญญาตรี

ที่มา : อาชีวศึกษากับแนวทางพัฒนาฝีมือแรงงาน ประชากรและสังคม 2548, สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

รูปที่ 5 จํานวนผู้ทํางานภาคอุตสาหกรรมและบริการ จําแนกตามระดับการศึกษา

นอกจากนี้ จากผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันประจำปี 2549 ของสถาบันนานาชาติเพื่อการจัดการ (Institute for Management Development: IMD) พบว่าประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี รวมถึงด้านการศึกษาโดยรวม ตามหลังประเทศส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียด้วยกัน ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า ประเทศไทยควรเร่งพัฒนาทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ให้มีความสามารถต่อการแข่งขันทัดเทียมนานาประเทศได้

จากข้อเสนอแนวทางการผลิตและพัฒนากำลังคนของกลุ่มอุตสาหกรรม ได้นำเสนอไว้หลายประการคือ ควรทบทวนหลักสูตรการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับสถานการณ์จริง ( Practice School) และความก้าวหน้าทางวิทยาการและเทคโนโลยี รวมทั้งให้สอดคล้องความต้องการของผู้ใช้กำลังคน (Demand Side) ส่งเสริมให้สถาบันเทคโนโลยีที่เปิดสอนในระดับอุดมศึกษาในภูมิภาคต่างๆ เปิด “ โรงเรียนสาธิตวิชาชีพ” เร่งรัดให้มีระบบมาตรฐานคุณวุฒิวิชาชีพ ( TVQ ) ซึ่งสอดคล้องกับการพัฒนาหลักสูตรให้สอดคล้องกับมาตรฐานวิชาชีพ ที่ได้มีการกำหนดหลักสูตรมาตรฐานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติระดับอาชีวศึกษา (Vocational Technical Education Framework Manufacturing, Engineering, and Technology Cluster Robotics and Automation Technology) เมื่อทำการเปรียบเทียบหลักสูตรมาตรฐานหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติระดับอาชีวศึกษาของมลรัฐแมซซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา กับหลักสูตรเมคาทรอนิกส์ สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึษา พ.ศ. 2546 พบว่ามีความใกล้เคียงกัน ยกเว้นยังขาดเนื้อหาของเทคโนโลยีที่ใช้ในปัจจุบันคือ การส่งข้อมูลทางท่อนำแสง (Fiber Optics) และเทคโนโลยีภาพ (Vision) ที่ใช้ในการวัดและตรวจสอบชิ้นงานในระบบอุตสาหกรรมอย่างกว้างขวาง

จากโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดประเด็นเชิงนโยบายอุดมศึกษา สำหรับการจัดทำแผนพัฒนาอุดมศึกษาระยะยาว ในประเด็นเรื่องการเพิ่มจำนวนและคุณภาพสายอาชีวศึกษาโดยเฉพาะสายวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดแนวทางไว้โดยให้เน้นภาคปฏิบัติจริง (ทวิภาคี) และพัฒนาระบบมาตรฐานวิชาชีพและมาตรฐานฝีมือแรงงาน ยกระดับมามาตรฐานวิชาชีพให้เป็นระดับสากล นอกจากนี้ ควรปรับปรุงและเพิ่มสาระการเรียนการสอนทักษะทางอาชีพที่ปฏิบัติได้จริง ( Competency-based)

แนวโน้มของกิจกรรมทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติมีสูงขึ้นโดยเฉพาะการแข่งขันหุ่นยนต์ระดับชาติมีกลุ่มผู้ให้ความสนใจเพิ่มขึ้น และเด็กไทยสามารถก้าวเข้าสู่การแข่งขันหุ่นยนต์ระดับนานาชาติได้ ซึ่งหากมีการส่งเสริมให้เด็กไทยที่ได้ชนะการแข่งขันให้สามารถพัฒนาต่อยอดความรู้และทักษะ ให้ตรงสาขาทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ จะเป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาบุคลากรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติ และของประเทศต่อไป

ด้านการอบรมบุคลากรทางด้านวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัตินั้น ประเทศไทยมีหน่วยงานที่รองรับกิจกรรมทางด้านการอบรมซึ่งกระจายตามหน่วยงานของรัฐและเอกชน แต่มีข้อสังเกตว่าจะรวมตัวอยู่ในกรุงเทพมหานคร ทำให้การเข้าถึงวิทยาการหุ่นยนต์และระบบอัตโนมัติตามภูมิภาคเป็นไปได้ยาก

drdjitt7070.jpg

รู้จักผู้เขียน
รศ.ดร. ชิต เหล่าวัฒนา
จบปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ (เกียรตินิยม) จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี ไดัรับทุนมอนบูโช รัฐบาลญี่ปุ่นไปศึกษาและทำวิจัยด้านหุ่นยนต์ที่มหาวิทยาลัยเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น เข้าศึกษาต่อระดับปริญญาเอกที่มหาวิทยาลัยคาร์เนกี้เมลลอน สหรัฐอเมริกา ด้วยทุนฟุลไบรท์ และจากบริษัท AT&T ได้รับประกาศนียบัตรด้านการจัดการเทคโนโลยีจากสถาบันเทคโนโลยีแห่งมลรัฐแมสซาชูเซสต์ (เอ็มไอที) สหรัฐอเมริกา

ภายหลังจบการศึกษา ดร. ชิต ได้กลับมาเป็นอาจารย์สอนที่มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี และเป็นผู้ก่อตั้งสถาบันวิทยาการหุ่นยนต์ภาคสนาม หรือที่คนทั่วไป รู้จักในนาม “ฟีโบ้ (FIBO)” เป็นหน่วยงานหนึ่งในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า ธนบุรี เพื่อทำงานวิจัยพื้นฐาน และประยุกต์ด้าน เทคโนโลยีหุ่นยนต์ ตลอดจนให้คำปรึกษาหน่วยงานรัฐบาล เอกชน และบริษัทข้ามชาติ (Multi-national companies) ในประเทศไทยด้านการ ลงทุนทางเทคโนโลยี การใช้งานเทคโนโลยีอัตโนมัติชั้นสูง และการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างมี ประสิทธิภาพ



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที