คงเดช

ผู้เขียน : คงเดช

อัพเดท: 11 ธ.ค. 2008 22.56 น. บทความนี้มีผู้ชม: 25173 ครั้ง

อาจเป็นด้วยเหตุว่าเมืองไทยเราอยู่ในเขตร้อน คนไทยเราก็เลยมักจะใจร้อน และชอบให้อะไรต่อมิอะไรเสร็จเร็วๆ ไม่เว้นแม้แต่ในเรื่องการพัฒนาองค์การ องค์การไทยเรามักจะนิยมใช้เครื่องมือสำเร็จรูป หรือวิธียอดนิยม เป็นทางลัดในการบรรลุเป้าหมายเสมอๆ แต่นั่นคือคำตอบที่ถูกที่สุดแล้วหรือ?


รู้จักกับองค์การกันก่อน (ภาคจบ)

จากตอนที่แล้วจะเห็นได้ว่า องค์การมีลักษณะเหมือนกับเป็นระบบที่รับเอาพลังงานเข้ามา (Input) แล้วนำมาผ่านกระบวนการ (Transformation) กลายเป็นพลังงานขาออก (Output) ซึ่งบางครั้ง พลังงานขาออกนั้นก็กลับมาเป็นพลังงานขาเข้าอีกครั้ง ลักษณะขององค์การเช่นนี้ เป็นการอ้างอิงรูปแบบขององค์การในแบบเปิด (Open System Model) ซึ่งเป็นการอธิบายลักษณะขององค์การที่นิยมกันอย่างมาก แต่ก็แสดงให้เห็นว่า การที่เราจะให้คำจำกัดความกับคำว่า "องค์การ" นั้น ก็เป็นอะไรที่ยากเอาการอยู่ ทั้งนี้เพราะว่า องค์การมีลักษณะของขอบเขตที่ไม่ชัดเจน (Loose Boundary) นั่นเอง บรรดาผู้เชี่ยวชาญด้านการพัฒนาองค์การ (จากนี้ไปจะขอเรียกการพัฒนาองค์การ หรือ Organizational Development แบบสั้นๆ ว่า OD นะครับ) ก็ได้เสนอโมเดลขององค์การโดยมีพื้นฐานจากแนวคิด Open System มาหลายแบบ ซึ่งจะขอแนะนำคร่าวๆ ในตอนต่อๆ ไปครับ

บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที