ประยูร

ผู้เขียน : ประยูร

อัพเดท: 24 ธ.ค. 2008 10.29 น. บทความนี้มีผู้ชม: 64737 ครั้ง

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสมอง ซึ่งเราสามารถนำไปใช้พัฒนาสติปัญญา


Keep Your Brain Alive (ตอนจบ)

5197_Keep_you_brain_alive.jpg





Keep Your Brain Alive (2)


อะไรทำให้การออกกำลังกายเป็น หรือไม่เป็น Neurobic ?
ตลอดทุกวัน ตลอดทั้งวัน สมองของคนเรา จะได้รับการกระตุ้น ผ่านประสาทสัมผัสทั้งห้า
อะไร เป็นความแตกต่าง ระหว่างเป็นหรือไม่เป็นกิจกรรม neurobic ?


ก่อนอื่น ต้องเข้าใจว่า สิ่งใหม่ๆที่ทำ ไม่จำเป็นต้อง กระตุ้นเซลล์ประสาทจนทำให้เกิดการสร้างเครือข่ายของเซลล์ประสาทใหม่ เสมอไป.
ยกตัวอย่างเช่น หากคุณเป็นคนที่ เขียนด้วยปากกา และ วันหนึ่ง คุณตัดสินใจ ที่จะเปลี่ยนมาเขียนด้วยดินสอ.
ณ จุดนี้ คุณได้เปลี่ยนพฤติกรรมของคุณ และ ทำบางสิ่ง ที่ใหม่และแตกต่างไป.
ในแง่หนึ่ง คุณได้เปลี่ยนรูปแบบของกิจกรรม ซึ่งทำให้มีการสัมผัสที่เปลี่ยนแปลงไป.
อย่างไรก็ตาม การเปลี่ยนแปลง ดังกล่าวถือว่าเล็กน้อย ไม่มีเพียงพอ ที่จะกระตุ้น ให้เกิดการจับตัวใหม่ของเครือข่ายเซลล์ประสาท.


ในทางกลับกัน หากวันหนึ่ง เราตัดสินใจที่จะใช้มือข้างที่ไม่ถนัดของเราในแปรงฟัน (หรือเขียนหนังสือ)� กรณีที่คุณแปรงฟันด้วยมือข้างขวา สมองด้านซ้ายจะทำหน้าที่ควบคุมการจับแปรงสีฟัน. แต่หากคุณเปลี่ยนมาแปรงฟันด้วยมือซ้าย สมองด้านขวา จะควบคุมการจับแปรงแทน.
ดังนั้น เมื่อคุณเปลี่ยนมาแปรงฟันด้วยมือซ้าย เครือข่ายของเซลล์ประสาท ที่จำเป็นในการควบคุมการแปรงฟันด้วยมือซ้าย ซึ่งไม่ค่อยมีการใช้งาน จะได้รับการกระตุ้น ทำให้มีการปรับตัว ของเครือข่ายสมองส่วนนี้�

5197_Sports_img053.jpg



ในหนังสือ Keep Your Brain Alive มีการกล่าวถึง ตัวอย่างสำหรับใช้เป็นการฝึกฝน เพื่อออกกำลังสมอง.
ลองเปลี่ยนพฤติกรรม การเปิดประตูบ้าน (หรือห้อง)ดู. เริ่มโดยการหลับตาของเรา เมื่อเรากลับถึงบ้าน (ในกรณีที่ไม่สะดวก อาจจะใช้กับ การเข้าห้องพักของเราก็ได้)

ลองล้วง เพื่อหยิบกุญแจ สำหรับไขประตูออกมาดู โดยปรกติ เรามักจะมีกุญแจอยู่หลายดอก (หากเรามีดอกเดียว ก็อาจจะใส่กุญแจคล้ายกันเพิ่มเข้าไป)
ลองพยายามคลำ เพื่อตรวจสอบดู ว่าเป็นกุญแจดอกไหน ที่ใช้ในการไขประตู เราอาจจะต้องใช้เวลาพอสมควร ในการคลำหาจนแน่ใจ
หากท่านเป็นสุภาพสตรี การทดสอบนี้ จะยิ่งสลับซับซ้อนขึ้น เพราะกระเป๋าของสุภาพสตรี จะมีสิ่งของอยู่มากมาย เช่น ลิปสติค กระดาษทิชชู ตลับแป้ง เป็นต้น
ดังนั้น การความหา ก็จะต้องไปพบ และ สัมผัส วัตถุ ซึ่งมีผิวต่างกัน ความแข็งอ่อนต่างกัน การควานหา จึงอาจจะต้องใช้เวลา และ ความอดทนมากขึ้น
การเปิดประตูเข้าห้องพัก ถือเป็นกิจกรรมที่มีความสำคัญ ดังนั้น สมองจึงต้องตื่นตัว และ ให้ความสนใจ กับการสัมผัส การควานหา อย่างจริงจัง ดังนั้น เซลล์ประสาท ส่วนที่ใช้ในการรับรู้การสัมผัส ซึ่งไม่ได้ใช้ไปเป็นเวลานาน (เนื่องจาก เราใช้สายตา ในการแยกแยะกุญแจ) ก็จะได้รับการกระตุ้นให้ตื่นตัว
พร้อมทั้ง สร้างความเชื่อมโยง ระหว่างความรู้สึกสัมผัสนั้น กับ ภาพของกุญแจที่เรามองเห็น

เราอาจจะต้องใช้ความพยายามอยู่หลายครั้ง กว่าจะไขกุญแจเข้าห้องได้
ในภาวะปรกติ การไขกุญแจนั้น เป็นการประสาน ระหว่าง เซลล์ประสาทในสมองที่ควบคุมการเคลื่อนไหว ประสานกับสายตาของเรา ที่มองดู ว่ากุญแจสอดเข้าไปในตัวกุญแจถูกต้องหรือไม่.
แต่ในกรณีที่เราหลับตา เราต้องพยายามสอดกุญแจเข้าไป โดยไม่เห็นการเคลื่อนที่ของกุญแจ แต่ต้องอาศัยประสาทสัมผัสเป็นสำคัญ.
การทำสิ่งซึ่งแตกต่างจากสภาวะปรกติเช่นนี้ จึงมีส่วนช่วย กระตุ้นการเกิดเครือข่ายใหม่ของเซลล์ประสาท พร้อมกับ กระตุ้นเครือข่ายเดิมที่มีอยู่ แต่ไม่ได้ใช้มาเป็นเวลานาน.

เราสามารถเรียนรู้ประสบการณ์ทำนองเดียวกัน โดยการปิดไฟอาบน้ำ หรือ หลับตา ขณะอาบน้ำ. ประสาทสัมผัสของเรา ต้องทำงานมากขึ้น และ กระตุ้นให้เกิดเครือข่ายของเซลล์ประสาทใหม่ๆ จากการที่ เราต้องค่อยคลำ เพื่อหาก๊อกน้ำฝักบัว ค่อยๆปรับระดับน้ำ และ อุณหภูมิน้ำ. หลังจากนั้น ควานหาสบู่เพื่อถูตัว..ฯลฯ

ลองทดสอบดูนะครับ แล้วเราจะรู้สึกได้ ถึงความตื่นตัว ของสมอง ความมีสติอยู่เสมอของเรา หากท่านผู้อ่าน มีประสบการณ์ดีอื่นๆ ก็อาจจะมาแลกเปลี่ยน เรียนรู้กันนะครับ

สวัสดีปีใหม่ ๒๕๕๒ นะครับ


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที