ประยูร

ผู้เขียน : ประยูร

อัพเดท: 24 ธ.ค. 2008 10.29 น. บทความนี้มีผู้ชม: 64831 ครั้ง

เกร็ดความรู้เกี่ยวกับสมอง ซึ่งเราสามารถนำไปใช้พัฒนาสติปัญญา


Keep Your Brain Alive (1)

 

5197_Flower.jpg



Use it or lose it

ใช้มัน หรือ ไม่ก็สูญเสียมัน (Use it or lose it) เป็นสภาวะของอวัยวะสำคัญเช่นสมอง.  เมื่อเราเข้าสู่วัยชรา (หรือ แม้ยังหนุ่มสาว ก็ตาม) เรามีความจำเป็นต้องออกกำลังสมอง เพื่อให้มีความตื่นตัวของอวัยวะส่วนนี้ อยู่เสมอ. ทั้งนี้ เช่นเดียว กับที่เราต้องมีการออกกำลังกายทางกายภาพ เพื่อให้ร่างกายของเรา ฟิตและ แข็งแรง.



ศาสตราจารย์ด้านประสาทวิทยา  Lawrence C. Katz  ให้คำอธิบายว่า การออกกำลังกายสมอง (neurobics exercise) เป็นการทำให้สมองของเรา พบ หรือ มีประสบการณ์ กับสิ่งที่ไม่ซ้ำซาก หรือ ประสบการณ์ที่ไม่คาดฝัน ด้วยการใช้ องค์ประกอบหลายๆส่วน ของประสาทสัมผัส เช่น การมองเห็น การดมกลิ่น การสัมผัส การลิ้มรส และ การฟัง ทั้งนี้ รวมไปถึงการรับรู้ด้านอารมณ์ด้วย. 


ศาสตราจารย์ Katz ย้ำว่าบทบาทของ Neurobics ไม่มีจุดประสงค์ที่จะนำไปสู่ สภาพสมองของอัจฉริยะ ที่สามารถจดจำทุกสิ่งทุกอย่างได้.  หากแต่ การออกกำลังสมอง หรือ การบริหารสมองนี้ มุ่งที่จะสร้างความยืดหยุ่น มีความฉับไว หรือ ความสามารถที่จะ โปรเซส ข้อมูลข่าวสารต่างๆ โดยใช้ช่องทางอื่น ที่แตกต่างออกไป. ยกตัวอย่างเช่น ปัญหาการจำชื่อของผู้คน. ในสภาวะปรกติ เรามักใช้ประสาทตา (การมองเห็น) ในการเชื่อมโยงผู้คน กับชื่อของเขา. อย่างไรก็ตาม เราอาจสามารถใช้ ประสาทสัมผัสอื่น ในการสร้างความเชื่อมโยงกับชื่อ เช่น ความรู้สึกสัมผัสของมือผู้นั้น กลิ่นสัมผัสของผู้นั้น น้ำเสียงของผู้นั้น เป็นต้น. โดยการพัฒนาการทางสมองเช่นนี้ เราสามารถจำชื่อของผู้คน โดยให้มีความเชื่อมโยงกับ สัมผัสถึงสี่ด้าน. ดังนั้น หากเราไม่สามารถรำลึกชื่อของบุคคลนั้น เนื่องจากขาดความเชื่อมโยงบางประการ เรายังสามารถใช้ความเชื่อมโยงอื่นที่เหลือ เพื่อนึกชื่อของเขาออกมาได้.  โดยศาสตราจารย์ผู้นี้ อธิบายเพิ่มเติมว่า หากเราสามารถสร้างความเชื่อมโยง กับสัมผัสต่างๆ อย่างสลับซับซ้อน เป็นเครือข่าย การที่เราไม่สามารถรำลึกผ่าน ความเชื่อมโยงบางประการ เป็นครั้งคราว ย่อมไม่เป็นอุปสรรค ในการนึกออกมา โดยผ่านความเชื่อมโยงอิ่น.


สมองของมนุษย์ สัมผัสกับโลกภายนอกโดยผ่านประสาททั้งห้า. การมอง และ การฟัง ดูจะเป็นช่องทางแรกๆที่มนุษย์ใช้ ทั้งนี้ เป็นเพราะ ประสาทสัมผัสทั้งสองดังกล่าว สามารถให้ข้อมูลข่าวสารมากมาย ในเวลาที่รวดเร็ว. อย่างไรก็ตาม ประสาทสัมผัสอื่น ซึ่งมีความสำคัญเช่นเดียวกัน อันได้แก่ การดมกลิ่น การสัมผัส และ รสชาติ กลับไม่ค่อยมีการใช้มากนัก. การดมกลิ่น จะมีบทบาทสำคัญอย่างมาก ในการเชื่อมโยงความจำ. ศาสตราจารย์ Katz พบว่า ความเชื่อมโยงด้านความจำ กับกลิ่น หรือ อโรมา เกิดขึ้นได้รวดเร็ว และ คงอยู่เป็นเวลานาน ซึงแตกต่างจาก ความเชื่อมโยง โดยผ่านประสาทสัมผัสอื่น.

5197_Keep_you_brain_alive.jpg




ในหนังสือของ ศาสตราจารย์ Katz เรื่อง  Keep Your Brain Alive (1999),เขาได้กล่าวถึง การออกกำลังสมอง 83 วิธี เพื่อลดการสูญเสียความทรงจำ และ เสริมสร้างความกระฉับกระเฉงของสมอง. ทั้งนี้ ส่วนหนึ่ง ได้แก่


• การใช้มือข้างที่ไม่ถนัดของคุณ ในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เช่น การแปรงฝัน การเปิดฝา และ บีบยาสีฟัน หวีผม โกนหนวด แต่งหน้า กลัดกระดุมเสื้อ กลัดกระดุมข้อมือเสื้อ กินอาหารหรือ ควบคุมรีโมตคอนโทรล เป็นต้น.
• อ่านหนังสือออกเสียงดังๆ ให้เพื่อนฟัง ต่อจากนั้น สลับหน้าที่กันกับเพื่อน
• เดินทางกลับบ้าน โดยใช้เส้นทางอื่นที่ต่างไป
• ลองแลกรถยนต์ใช้กับเพื่อน โดยเฉพาะ เพื่อนที่มีรถซึ่งแตกต่างออกไปมาก   
• เปิดหน้าต่างรถยนต์ เพื่อชื่นชมกับทิวทัศน์ เสียง และ กลิ่น บนสองข้างทาง ที่ขับผ่าน.
• เรียนรู้ภาษาเบรลล์ หรือ ภาษามือ
• เปลี่ยนสถานที่กินอาหารของคุณ แทนที่จะเป็น โต๊ะอาหารตามปรกติ ไปใช้ห้องอื่น นอกบ้าน นอกชาน หรือ บนพื้น เป็นต้น
• ลองทายอาหารที่อยู่บนจาน เพียงใช้การดมกลิ่น ลองชิม และ สัมผัส
• เดินทางไปที่ใหม่ๆ เพื่อพบปะผู้คนที่ต่างออกไป
• เล่นกีฬาที่ต่างออกจากเดิม ซึ่งปรกติไม่เคยเล่น
• ทำสวน
• เอาเหรียญหลายๆชนิด ใส่ไว้ในโถ แล้วใช้มือสัมผัส เพื่อที่จะทายว่า เป็นเหรียญชนิดไหน (เหรียญบาท ห้าบาท สิบบาท ฯลฯ)


 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที