มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 16 ส.ค. 2010 20.30 น. บทความนี้มีผู้ชม: 640899 ครั้ง

จากตอนที่ 1 เมื่อหลักการถูกนำมาประยุกต์แล้ว สภาพจริงจะดำเนินการได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับ กลวิธี และสติปัญญาของผู้บริหาร


วิธีการนำไปใช้ร่วมกับสมศ.(1)

                      ในการทำประกันคุณภาพการศึกษาของแต่ละระดับ ชั้นตั้งแต่อนุบาลจนกระทั่งปริญญา  จะมีมาตรฐานและตัวบ่งชี้  ที่แตกต่างกันออกไป  ตามระดับชั้นหากสถาบันการศึกษาที่ได้รับการรับรองคุณภาพการบริหารจัดการ  ISO 9001 : 2000  หรือเวอร์ชั่นอื่น QMR  ในฐานะตัวแทนฝ่ายบริหารจะต้องปรับระบบข้อกำหนดของ  ISO  ให้เข้ากับ  มาตรฐานและตัวบ่งชี้ของสมศ. ของประเภทสถาบันการศึกษาเช่น  ระดับอุดมศึกษา โดยทั่วไปแล้วจะเหมือนกันบ้างบางข้อกำหนดเช่น  ข้อมูลป้อนกลับของลูกค้า  แต่เนื่องจากลูกค้าของสถาบันการศึกษาถือว่ามีทั้งลูกค้าโดยตรงและโดยอ้อมลูกค้าโดยตรงได้แก่ นักศึกษา  ผู้ปกครอง  ผู้ที่รับบัณฑิตที่จบการศึกษาเข้าไปทำงานในที่นี้คือองค์การที่บัณฑิตเข้าไปทำงานด้วย  ส่วนลูกค้าทางอ้อมได้แก่  ชุมชน  สังคม  ประเทศชาติ  เพราะบัณฑิตที่จบการศึกษาออกไปจะต้องเป็นบุคลากรของประเทศ  ทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต  เป็นทรัพยากรบุคคลที่ทำงานต่าง ๆ  ถ้าทำงานอย่างซื่อสัตย์สุจริต  จะส่งผลดีแต่ถ้าทำในทางตรงกันข้ามจะส่งผลเสีย  ดังนั้นขอยกตัวอย่าง  ความเหมือนกันของบางข้อกำหนดของ  ISO และมาตรฐาน  ตัวบ่งชี้ของสมศ.  กำหนด  มาว่าจะดำเนินการอย่างไรให้ง่ายต่อการปฏิบัติเพื่อรักษาระบบบริหารจัดการได้ทั้งสองระบบ   

ข้อกำหนดของ  ISO ข้อ 8.2.1 การวัดสมรรถนะของระบบ (Measurement of system performance)

·         องค์การต้องกำหนดและจัดทำกระบวนการสำหรับการวัดสมรรถนะของระบบบริหารคุณภาพ

·         ความพึงพอใจของลูกค้าต้องนำมาใช้เป็นเกณฑ์ชี้วัดเบื้องต้นสำหรับผลลัพธ์ของระบบและการตรวจ

                 กระบวนการต้องแสดงให้เห็นถึงระดับความเชื่อมั่นของลูกค้า
(Level of customer confidence) ในการได้รับผลิตภัณฑ์และ/หรือบริการที่เป็นไปตามโดยการส่งมอบขององค์การ  (ข้อมูลจากเอกสารการอบรม ISO  9001 : 2000ของโรงเรียนพณิชยการขอนแก่น ส.ค. ปี  2548)สำหรับการประกันคุณภาพการศึกษาในระดับอุดมศึกษา สมศ.  กำหนดในตัวบ่งชี้ที่ 5.3 และ 5.4  เป็นตัวบ่งชี้สำหรับ  การวัดความพึงพอใจของผู้รับบริการร้อยละของกิจกรรมหรือโครงการบริการทางวิชาการและวิชาชีพที่ตอบสนองความ

ต้องการพัฒนาและเสริมสร้างความเข้มแข็งของสังคม ชุมชน ประเทศชาติและนานาชาติต่ออาจารย์ประจำ  ในที่นี้สถาบันการศึกษาระดับอุดมศึกษาของเอกชนจะต้องมีโครงการหรือกิจกรรมที่มีวัตถุประสงค์ดังกล่าวเพื่อ  เป็นไปตามข้อกำหนดและตัวบ่งชี้     จะขอชี้ให้เห็นความเหมือนกันในบางจุดที่สามารถทำครั้งเดียวได้ทั้งISOและ สมศ.  เพียงแต่  ISO  จะต้องมีการบันทึกเพื่อเป็นร่องรอยหลักฐานและมีการปรับปรุงให้ดีขึ้น  แต่สมศ.จะมีเกณฑ์ในการวัดจำนวนผลงานที่เกิด  และคำนวณออกมาให้เห็นจริงโดยที่นำจำนวนกิจกรรมและโครงการที่มีการประเมินความพึงพอใจโดยผ่านแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง  ส่วนจะคิดอย่างไรนั้นจะแสดงในตอนถัดไป มีการบันทึกเพื่อเป็นร่องรอยหลักฐาน  เพื่อให้เห็นภาพจริงของการใช้ระบบทั้งสองและง่ายต่อการดำเนินการจึงขอยกตัวอย่างแบบฟอร์มในการจัดทำแผนการดำเนินการประจำปี    เพื่อป้องกันความยุ่งยากและตรวจสอบได้ชัดเจน 

 

                                         แผนดำเนินการประจำปีการศึกษา  25xx

ชื่อสถานศึกษา  ...........................................................................

 

ที่

แผน/ โครงการ/ กิจกรรม

ผู้รับผิดชอบ

งบประมาณ

(บาท)

ข้อกำหนด/ ตัวบ่งชี้

หมายเหตุ

ISO

สมศ.

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที