มานพ

ผู้เขียน : มานพ

อัพเดท: 16 ส.ค. 2010 20.30 น. บทความนี้มีผู้ชม: 640900 ครั้ง

จากตอนที่ 1 เมื่อหลักการถูกนำมาประยุกต์แล้ว สภาพจริงจะดำเนินการได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับ กลวิธี และสติปัญญาของผู้บริหาร


เมื่อจะต้องใช้ระบบร่วมกับ สมศ.

ระบบประกันคุณภาพการศึกษา  เป็นกระบวนการที่สถาบันการศึกษาทุกสถาบันตั้งแต่ระดับอนุบาลที่ถูกควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน  หรือ  สพฐ.  จนกระทั่งระดับอุดมศึกษาที่ถูกควบคุมโดยสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา  หรือ  สกอ. จะต้องตระหนักและใส่ใจมากเป็นพิเศษ  เพราะนั่นคือเป็นกระบวนการจัดการศึกษาที่ให้ความมั่นใจกับผู้ปกครอง  นักเรียน  นักศึกษา  ซึ่งถือว่าเป็นผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสียภายใน  หรือPrimary Stakeholder     และ  องค์การ  หน่วยงานที่รับผู้ที่สำเร็จการศึกษาเข้าไปทำงาน  หรือSecondary Stakeholder    มีความพึงพอใจกับคุณภาพของการทำงาน  ว่ามีคุณลักษณะอันพึงประสงค์  ตามที่     องค์การ หรือ หน่วยงานต้องการ 

               ดังนั้น  การดำเนินการการประกันคุณภาพการศึกษา  จึงมีความจำเป็นพอ ๆ กับการเรียนการสอน  เพราะอย่างน้อยที่สุด  ถ้าผู้เรียนไม่มีคุณภาพตรงกับความต้องการของ  องค์การหรือหน่วยงานที่รับผู้สำเร็จการศึกษาเข้าไปทำงาน  จะเกิดผลเสียในเรื่องของชื่อเสียงตามมา  ยิ่งถ้าเป็นสถานศึกษาเอกชนด้วยแล้ว  จะส่งผลเสียในส่วนของผลกำไรที่ได้จากการดำเนินการ   เพราะถ้าหาก  ผู้ที่เรียนจบมาจากสถานศึกษานี้แล้วไม่มีความรับผิดชอบในการทำงาน  ทำงานตามที่มอบหมายได้ไม่ตรงกับที่ องค์การ หรือ หน่วยงาน คาดหวัง  จะเกิดคำถามว่า  เรียนจบมาจากที่ไหน ในที่สุดจะส่งผลกับจำนวนผู้ที่สมัครเข้าเรียนในสถาบันการศึกษานี้   

                ตั้งแต่ พ.ศ.  2540    เป็นต้นมารัฐธรรมนูญฉบับนี้มาตราที่ 81  เกี่ยวกับการศึกษาแห่งชาติ  ได้ให้ความสำคัญกับการศึกษามากเพราะจะต้องให้มีอย่างทั่วถึงและมีคุณภาพเท่าเทียมกัน       

                นับตั้งแต่นั้น  จึงมีหน่วยงานที่เรียกว่า  สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา   หรือ  สมศ.ขึ้น  เพื่อเป็นหน่วยงานที่คอยตรวจติดตาม  ประเมินผล  สถาบันการศึกษาว่าจะต้องมีหลักการบริหารจัดการตามข้อกำหนด  และตัวบ่งชี้ที่เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ  ซึ่งแต่ละระดับการศึกษา  จะมีแตกต่างกันออกไป  ทั้งนี้เพื่อให้สถาบันการศึกษาทุกสถาบันมีการดำเนินตามที่กำหนดครบวงจร  ซึ่งจะต้องมีการวางแผน  การทำงาน  การตรวจสอบ  และการดำเนินการแก้ไขตามสิ่งที่พบเป็นวงจร  หรือกระบวนการ  P D C A ของดร. ชิวฮาร์ตซึ่ง   

ดร.เอดเวริ์ด  เดมมิ่ง  นำมาใช้อย่างแพร่หลาย  จนเรียกติดปากว่า  วงจรคุณภาพของเดมมิ่ง  นั่นเอง

              นับตั้งแต่มีการอนุญาตให้เอกชน  หรือคณะบุคคลสามารถจัดตั้งสถาบันการศึกษาขึ้นมาเองได้  จะเห็นว่ามีการรับสมัครผู้ที่สนใจจะเข้าเรียน  มาเรียนได้โดยไม่ต้องสอบคัดเลือก  และส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่ไม่สามารถผ่านการคัดเลือกจากสถาบันการศึกษาของรัฐ  เพราะมีพื้นความรู้ไม่ดีพอเมื่อเป็นเช่นนี้เป็นหน้าที่อันสำคัญของครู  อาจารย์ผู้สอนในสถาบันการศึกษาของเอกชน  จะต้องฝึกฝน  สร้างและคิดกระบวนการเรียนรู้เพื่อที่จะเสริมพื้นฐานความรู้ของผู้เรียนให้แน่น  และถ่ายทอดองค์ความรู้ที่เป็นประโยชน์แก่ผู้เรียน  ให้มากขึ้น  ตลอดจนดำเนินการตามมาตรฐานและตัวบ่งชี้ของสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา   หรือ  สมศ.กำหนดขึ้นอย่างเคร่งครัด  

          ฉะนั้น  การที่สถาบันการศึกษาใดที่มีรับรองมาตรฐานการบริหารจัดการ     ISO  9001  : 2000  ด้วยจะต้องปรับแผนการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกันเพื่อลดภาระการทำงานของบุคลากร  ดังนั้นจึงจะต้องมีการปรับกระบวนการทำงาน  ของ8 ข้อกำหนดของ  ISO 9001 :  2000 และมาตรฐานกับตัวบ่งชี้ของ  สมศ.                         

         แต่บุคลากรเองจะต้องเข้าใจและให้ความร่วมมือกันด้วยเป็นอย่างดี  ส่วนใหญ่จะพบบุคคลากรที่มีอายุการทำงานมากต่อต้านการเปลี่ยนแปลง  ไม่ทำงานตามกระบวนการหลีกเลี่ยง  ผลักภาระงาน  สุดท้ายผู้บริหารระดับสูงนั่นละจะต้องมีอำนาจให้คุณให้โทษ  อย่างเด็ดขาด  และลงมาบริหารจัดการเอง   เป็นดีที่สุด          


บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที