ประยูร

ผู้เขียน : ประยูร

อัพเดท: 27 ธ.ค. 2008 22.29 น. บทความนี้มีผู้ชม: 63523 ครั้ง

บันไดไปสู่การเป็นหัวหน้าที่ดี


ผู้นำ กับ การตัดสินใจ (1)

5197_decision-making.jpg





หัวหน้าต้องกล้าตัดสินใจ� (1)

ก่อนตัดสินใจ จงสอบถามตรวจสอบให้ถ้วนทั่ว
เมื่อตัดสินใจไปแล้ว จงยึดมั่นดำเนินการอย่างแน่วแน่
Kawamata Katsuji
President of Nissan Motor Co. Ltd.,


ผู้นำคือผู้ที่ต้องเดินนำหน้า ชี้ทิศ และ นำทาง.
ด้วยเหตุนี้ บทบาทสำคัญที่สุดประการหนึ่งของผู้นำ จึงเป็นการตัดสินใจ.
หากผู้นำ ซึ่งเดินอยู่ข้างหน้า ไม่ตัดสินใจ ไม่บอกว่า จะเดินไปทางไหน ลูกน้องก็ไม่รู้จะทำตัวอย่างไร.
เมื่อผู้นำทำตัวเช่นนี้บ่อยๆเข้า ลูกน้องก็จะหมดความเชื่อมั่น อาการหนักเข้า ลูกน้องดีๆ ก็ลาจาก.


บางคนเปรียบเทียบผู้นำ ว่าคล้ายกับคนขับรถ
ผู้ที่นั่งอยู่ในตำแหน่งคนขับ ถือบังเหียนบังคับรถนั้น
เขาต้องตัดสินใจ ว่าจะเลี้ยวซ้าย หรือขวา
จะเร่งเพื่อแซงรถคันอื่น(ของคู่แข่ง) หรือ ต้องชะลอลง เพื่อไม่ให้เกิดอุบัติเหตุ
หากผู้นำ หรือ คนขับรถ ไม่ตัดสินใจ หรือ ตัดสินใจช้า
ผู้ที่นั่งมาด้วยกันในรถ อาจจะถึงเป้าหมายช้า
หรือ อาจจะประสบอุบัติเหตุระหว่างทาง กระทั่งไม่ถึงเป้าหมาย

ในกระบวนการตัดสินใจ มีองค์ประกอบสำคัญอยู่สามตัว ที่พึงให้ความสำคัญ
ประการแรก เราต้องรู้ว่า กำลังตัดสินใจเรื่องอะไร ? กล่าวคือ เราต้องรู้ และ เข้าใจ “โจทย์” ที่เราต้องตัดสินใจ อย่างถูกต้อง.
การตั้งโจทย์ที่ถูกต้อง หมายถึง การทำความเข้าใจ อย่างถูกต้องชัดเจน ว่าเรากำลังจะตัดสินใจ “เรื่องอะไร”.
ปัญหาสำคัญส่วนหนึ่งของการตัดสินใจ ก็คือ ความไม่เข้าใจ หรือ เข้าใจผิด หรือ เข้าใจไม่ชัดเจนเพียงพอ เกี่ยวกับโจทย์ที่จะตัดสินใจ.
Peter Drucker� ปรมาจารย์ด้านการบริหารของโลก เคยกล่าวไว้ว่า
MBO works.. if you know the objectives. 90% of the time you don’t.
(MBO: Management by objectives)
ดรักเกอร์ ต้องการจะชี้ให้เราเห็นว่า เหตุที่ MBO ไม่ประสบความสำเร็จ ไม่ใช่เพราะ หลักคิดของ MBO ไม่ถูกต้อง หากเป็นเพราะว่า ในการบริหารโดยใช้หลักคิดนี้ เราไม่ได้ทำให้ เป้าประสงค์ (objectives) ชัดเจนเพียงพอ.
ในกรณีการตัดสินใจ ปัญหาก็จะมีลักษณะคล้ายคลึงกัน กล่าวคือ ต้องทำให้เรื่องที่เราต้องการตัดสินใจ มีความชัดเจน.

ยกตัวอย่างเช่น การตัดสินใจในการดำเนินการ เพื่อเพิ่มลูกค้า ย่อม มีความแตกต่าง กับ การพยายามรักษาลูกค้า
หรือ การดำเนินการ เพื่อเพิ่มยอดขาย ย่อมไม่เหมือนกับ การดำเนินการเพื่อเพิ่มอัตรากำไร เป็นต้น.
ในทีสุดแล้ว คงต้องยกถ้อยคำของปรมาจารย์ท่านเดิม เพื่อมาย้ำ ให้เห็น ถึงความแตกต่าง ของ การ doing things right� กับ doing right things ว่า
"Management is doing things right; leadership is doing the right things." - Peter Drucker
ต้องไม่ลืมว่า การทำสิ่งต่างๆให้ถูกต้อง (doing things right) เป็นหน้าที่ของการบริหารปรกติ ภายใต้สมมติฐานที่ว่า กลยุทธ์ ได้ถูกกำหนดไว้อย่างถูกต้องแล้ว. ขณะที่ ผู้นำ จะต้องเป็นผู้พิจารณา กำหนด และ ตัดสิน ทิศทางกลยุทธ์ที่ถูกต้องเหล่านั้น (doing the right things)



บทความนี้เกิดจากการเขียนและส่งขึ้นมาสู่ระบบแบบอัตโนมัติ สมาคมฯไม่รับผิดชอบต่อบทความหรือข้อความใดๆ ทั้งสิ้น เพราะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นความจริงหรือไม่ ผู้อ่านจึงควรใช้วิจารณญาณในการกลั่นกรอง และหากท่านพบเห็นข้อความใดที่ขัดต่อกฎหมายและศีลธรรม หรือทำให้เกิดความเสียหาย หรือละเมิดสิทธิใดๆ กรุณาแจ้งมาที่ ht.ro.apt@ecivres-bew เพื่อทีมงานจะได้ดำเนินการลบออกจากระบบในทันที